รู้เท่าทันเพื่อป้องกันการติดเชื้ออะดีโนไวรัส (Adenovirus) ในเด็ก
อาการของไวรัสอะดีโนในเด็ก
ไวรัสอะดีโนสามารถทำให้เกิดอาการหลายรูปแบบในเด็ก ได้แก่ :
อาการตาแดง มีน้ำตาไหล เจ็บตา
อาการหวัด ไอแห้งๆ หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย นอนกรน รวมถึงอาการเช่น ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ทางเดินหายใจ และอาการเหนื่อยล้า
เจ็บคอหรือภาวะอักเสบในลำคอ ทำให้เจ็บคอ มีไข้ และอาจมีปัญหาในการกลืน
บางรายจะมีอาการท้องเสีย อาเจียน และไข้
การติดต่อและการแพร่กระจาย
ไวรัสอะดีโนสามารถแพร่กระจายได้หลายช่องทาง รวมถึง :
การสัมผัสโดยตรง:กับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น การจับมือ
การแพร่ผ่านทางอากาศ : เช่น จากการไอหรือจาม
การสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อน : เช่น ของเล่น หรือ สิ่งของใช้ส่วนตัว
การป้องกัน
การป้องกันไวรัสอะดีโนในเด็กควรเน้นไปที่การลดการสัมผัสกับเชื้อและการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี:
การล้างมืออย่างถูกวิธี : ป็นวิธีหลักในการป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังจากไปห้องน้ำ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด : กับผู้ที่มีอาการของการติดเชื้อ
การใช้ผ้าปิดปากและจมูก : เมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย
การทำความสะอาด : พื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยครั้งด้วยสารฆ่าเชื้อ
การตรวจวินิจฉัยอาการ
ตรวจวินิจฉัยโรคโดยส่ง PCR for adenovirus และส่ง nasal swab หา antigen จากทางเดินหายใจ
การรักษา
สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสอะดีโนในเด็ก รักษาตามอาการ ไม่มียาต้านไวรัส
การให้น้ำและของเหลว : เพื่อป้องกันการขาดน้ำจากอาการท้องเสียหรืออาเจียน
การใช้ยาลดไข้ : เช่น พาราเซตามอล สำหรับบรรเทาอาการไข้และความไม่สบาย
การพักผ่อน : การพักผ่อนเพียงพอสามารถช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น