หัดในเด็ก โรคอันตราย ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม


หัดในเด็ก โรคอันตราย ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม


โรคหัดในเด็ก คืออะไร?

โรคหัดในเด็กคือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเด็กจะมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง และมีไข้ร่วมด้วย โดยโรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม พารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) สามารถแพร่เชื้อ และติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสของเหลว น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยโดยตรง เมื่อได้รับเชื้อแล้ว ก็จะกระจายทั่วร่างกาย โรคหัดติดต่อจากคนสู่คน แต่ไม่แพร่เชื้อในสัตว์ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ โรคหัดยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กอีกด้วย โดยเฉพาะในเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน

โรคหัดมีสาเหตุมาจากอะไร

โรคหัด โรคในเด็ก หรือไข้ออกหัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Measles ซึ่งเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคหัดเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสของเหลวของผู้ป่วยอย่างเช่น ละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือทานอาหารร่วมกับผู้ที่ป่วยโรคดังกล่าว สามารถติดต่อจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โรคหัดจึงเป็นโรคที่ไม่ควรชะล่าใจ ถึงแม้จะไม่อันตรายมากแต่หากเกิดกับเด็กที่มีโรคประจำตัวอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรมองข้าม ควรพาลูกหลานไปรับการฉีดวัคซีน ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องฉีดให้เด็กทุกคน โดยเข็มแรกจะฉีดตอนช่วงอายุ 9-12 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2 ปี

อาการของโรคหัด สังเกตสิลูกเป็นโรคนี้หรือเปล่า

หากลูกได้รับเชื้อไวรัสโรคหัด จะยังไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะแรก เชื้อไวรัสจะใช้เวลาในการฟักตัวอยู่ประมาณ 9 - 14 วัน ช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่จึงไม่สามารถสังเกตอาการใดๆ ได้เลย จนกระทั่งเชื้อฟักตัวเต็มที่ เด็กที่ได้รับเชื้อหัด ก็จะมีอาการดังนี้

*อาการเป็นไข้ตัวร้อน โรคหัดในเด็ก เริ่มแรกจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด มักจะมีอาการปวดหัว ตัวร้อน มีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งอาการนี้จะเริ่มเป็นเมื่อได้รับเชื้อประมาณ 10 - 12 วัน นอกจากนี้เด็กก็จะมีอาการ ไอบ่อย เจ็บคอ ตาแดงเยิ้ม มีน้ำมูก และตุ่มคอพลิค หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็กๆ ตรงกลางขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้ม

*อาการผื่นขึ้นตามร่างกาย ระยะที่ผื่นออก เด็กจะมีผื่นสีแดงขนาดเล็กออกบริเวณผิวหนัง โดยจะมีลักษณะราบเรียบ หรือเด็กบางคนอาจจะขึ้นติดต่อกันจนเป็นปื้นขนาดใหญ่และจะมีอาการคันร่วมด้วย โดยบริเวณที่ผื่นมักจะขึ้นก็จะเป็นตรงชิดขอบหู ลำคอ ลำตัว แขน ขา และใบหน้า และเด็กก็จะมีอาการไข้ตัวร้อนอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 - 41 องศาจากนั้นผื่นก็จะค่อยๆ จางหายไปใช้เวลา 7 - 10 วัน

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

เด็กที่ป่วยเป็น โรคในเด็ก โรคหัด เสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนโรคอื่นๆ ตามมาฉับพลันได้เช่นกัน แต่จะพบไม่บ่อย ในเด็กหนึ่งพันคน อาจจะพบใน 1 คน และจะพบอัตราการเสียชีวิตได้ 1 - 2 คนจากภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจและระบบประสาท เพราะฉะนั้นโรคหัดในเด็ก คุณแม่จึงไม่ควรชะล่าใจไม่ควรมองข้าม โดยโรคภาวะแทรกซ้อนที่พบในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัดก็คือ ภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบติดเชื้อ หูติดเชื้อ ซึ่งเป็นอาการภาวะแทรกซ้อนที่พบในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัด พบได้บ่อยคือหูติดเชื้อแบคทีเรีย โรคลำไส้อักเสบ โรคท้องร่วง โรคขาดสารอาหาร ซึ่งจะพบในระยะหลังของการเกิดโรค ซึ่งไข้จะเริ่มทุเลาลงแล้ว

ดูแลรักษาอย่างไร เมื่อลูกเป็นหัด

โรคหัดในเด็ก ที่ถึงแม้จะไม่อันตรายร้ายแรงมาก แต่ก็สามารถที่จะติดต่อสู่คนอื่นได้ การรักษาโรคหัดจึงเน้นรักษาตามอาการคือเมื่อเด็กมีไข้ก็ให้ทานยาลดไข้ เช็ดตัวระบายความร้อน หรือหากมีอาการไอเสมหะก็ให้ทานยาแก้ไอลดเสมหะ เนื่องจากโรคหัดในเด็ก เป็นโรคที่ไม่มียารักษาจึงต้องคอยดูแลรักษาตามอาการ ให้เด็กนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ แต่หากพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น คือมีอาการไข้ไม่ลด ไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว หายใจติดขัดหายใจหอบเหนื่อย คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ด่วนเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

หัด ป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีน

การป้องกัน โรคหัดในเด็ก คุณแม่สามารถทำได้ด้วยการพาลูกไปฉีดวัคซีน สำหรับเด็กโดยทั่วไปจะได้รับวัคซีน 2 เข็ม เป็นวัคซีนรวมโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม โดยเข็มแรกจะฉีดเมื่อลูกอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่สองจะฉีดเมื่อลูกอายุ 2 ขวบ - 2 ขวบครึ่ง รู้อย่างนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมพาลูกไปรับวัคซีน ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องฉีดให้เด็กทุกคนด้วย

โรคหัดในเด็ก ถึงแม้จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม หากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติอย่างเช่น มีไข้ขึ้นสูง เป็นหวัด น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ปากแดง อย่านิ่งนอนใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะเด็กอาจจะเป็นโรคหัด และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

เครดิตแหล่งข้อมูล :maerakluke


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์