โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร วิธีสังเกตว่าลูกสมาธิสั้นหรือไม่
หน้าแรกTeeNee แม่จ๋าและลูกน้อย เมื่อลูกป่วย โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร วิธีสังเกตว่าลูกสมาธิสั้นหรือไม่
พัฒนาการของลูกบางครั้งก็สามารถบอกถึงความผิดปกติได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกอย่าปล่อยผ่านเลยไป เพราะโรคบางโรคหากรู้เร็วก็จะสามารถหาวิธีรักษาให้หายเป็นปกติได้ เช่นเดียวกับ โรคสมาธิสั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติของลูก เช่น ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบวอกแวก ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน นั่นอาจจะเข้าข่ายการเป็นสมาธิสั้นในเด็กได้ ลองสังเกตดู เพราะหากรู้เท่าทันก็จะสามารถรักษาได้เร็วขึ้น ลูกจะได้เจริญเติบโตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป
สาเหตุของ โรคสมาธิสั้น
ใช้การสื่อสารกับลูกที่สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา เวลาออกคำสั่งควรให้ลูกหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่และมองหน้าสบตาพ่อแม่ ให้เด็กทวนคำสั่งเพื่อเช็คดูว่าลูกเข้าใจคำสั่งถูกต้องหรือไม่
ทำตารางสิ่งที่ลูกจะต้องทำทุกวันอย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกดูได้ด้วยตัวเองไม่ต้องให้พ่อแม่คอยสั่งซ้ำทุกวัน เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักวางแผน แบ่งเวลาเป็น
ควรหากิจกรรมให้ลูกทำในแต่ละวัน เนื่องจากเด็กที่เป็น โรคสมาธิสั้น จะมีพลังงานเยอะ เพื่อให้ลูกได้ใช้พลังงานในทางที่สร้างสรรค์และเหมาะสม
จำกัดให้ลูกอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์วันละไม่เกิน 1 ชม. กำหนดเวลาเล่นที่ชัดเจน และคุณพ่อคุณแม่ควรอยู่กับลูกขณะที่เล่นเพื่อดูความเหมาะสมด้วย
2.การรักษาโดยการใช้ยายากลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น ที่ให้ผลในการรักษาดีที่สุด ออกฤทธิ์ครั้งละ 4 ชั่วโมง ในแต่ละวันจะมีการกินยาประมาณ 2 - 3 ครั้งเพื่อให้ออกฤทธิ์ยาว 12 ชั่วโมง
ยากลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ใช้รักษา เด็กสมาธิสั้น ในกรณีที่เด็กไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทได้
ยาต้านโรคซึมเศร้า ใช้ในเด็กที่มีสมาธิสั้น มีปัญหาสภาวะอารมณ์ร่วมด้วย อย่างเช่น กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน
โรคสมาธิสั้นป้องกันได้หรือไม่
โรคสมาธิสั้น ในเด็กสามารถป้องกันได้ หากเด็กไม่ได้ป่วยมาจากทางพันธุกรรม ซึ่งสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกป่วยเป็นสมาธิสั้นได้ก็คือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความรัก ความอบอุ่น มีเวลาให้ สร้างสายสัมพันธ์ที่ดีทางครอบครัว ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น ไอแพด โทรศัพท์มือถือ และโทรทัศน์มากเกินไป ควรมีการควบคุม จัดระเบียบ และให้ลูกดูเป็นเวลา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถป้องกันโรคสมาธิสั้นในเด็กได้แล้ว
ปัจจุบันมีเด็กป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยจากการเลี้ยงดูสภาพแวดล้อม และการที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป จนทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้า หากสังเกตเห็นพฤติกรรมของลูกเข้าข่ายสมาธิสั้นคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะหากรู้เร็วโอกาสรักษาให้หายเป็นปกติก็มีมากขึ้นนั่นเอง
เครดิตแหล่งข้อมูล : maerakluke
สาเหตุของ โรคสมาธิสั้น
ในปัจจุบันมีเด็กป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น เพิ่มขึ้นทั่วโลกจนน่าตกใจ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้นนั้นเกิดจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมที่ถูกถ่ายทอดจากคนในครอบครัว และปัจจัยจากการเลี้ยงดูสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เด็กป่วยเป็นโรคดังกล่าว โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เด็กป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นนั้นก็จะมีดังนี้
1.ปัจจัยทางพันธุกรรมครอบครัว
ปัจจัยหลักทำให้เด็กป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น นั่นคือปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดจากคนในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 75% ส่งผลทำให้เด็กมีระบบประสาทสมองส่วนหน้าทำงานผิดปกติ โดยสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด การวางแผน การควบคุมตนเอง การจัดลำดับสิ่งต่างๆ รวมถึงมีสารในสมองที่สำคัญบางตัวน้อยกว่าคนปกติทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่าระหว่างคุณแม่ตั้งครรภ์ หากมีการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการทำให้เด็กป่วยเป็นสมาธิสั้นได้เช่นกัน
2.ปัจจัยการเลี้ยงดูสภาพแวดล้อม
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ เด็กสมาธิสั้น นั่นก็คือสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูจากครอบครัวอย่างเช่น การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย ไม่มีกฎระเบียบอะไร เด็กถูกตามใจ โดยเฉพาะการให้เด็กอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไปเช่น ไอแพด โทรศัพท์มือถือ รวมถึงสื่อโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ ขาดการควบคุมจากผู้ปกครอง ซึ่งพ่อแม่มักจะเห็นว่าลูกอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ได้นาน และนิ่งขึ้น ไม่มารบกวน จึงปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่อเหล่านี้ตลอดทั้งวัน จนกลายเป็นว่าเด็กมีพัฒนาการที่ช้า โดยเฉพาะในเรื่องของการสื่อสาร เด็กจะขาดทักษะทางสังคม ใจร้อน รอคอยอะไรนานๆ ไม่ได้ ยุกยิกอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย หรือบางครั้งก็อาจจะมีพฤติกรรมชอบใช้ความรุนแรงด้วย
รู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น
อยากรู้ว่าลูกป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น หรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวนี้จะมีวิธีสังเกตง่ายๆ ดังนี้
-เด็กจะไม่ค่อยมีสมาธิ จะวอกแวก เหม่อลอย จดจ่อกับอะไรนานๆ ไม่ได้ เบื่อง่าย ขี้หลงขี้ลืม ทำงานตามที่สั่งไว้ไม่สำเร็จ ไม่ชอบทำอะไรที่ต้องอาศัยสมาธิจดจ่อ
-เด็กจะมีพฤติกรรมซุกซนไม่ชอบอยู่นิ่ง จะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ต้องหาอะไรทำ มีความกระตือรือร้นอยู่ตลอด พูดเก่ง พูดเสียงดัง เล่นกับเพื่อนแรงๆ เข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้
-ขาดความยับยั้งชั่งใจ ใจร้อน หุนหันพลันแล่น วู่วาม ขาดการระมัดระวังในการทำสิ่งต่างๆ ชอบพูดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน รอคอยไม่เป็น
วิธีการดูแลรักษา
คุณพ่อคุณแม่หากสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติเข้าข่ายเป็น เด็กสมาธิสั้น ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อการวินิจฉัยทำการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยการรักษาโรคดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยการปรับพฤติกรรมและการใช้ยารักษา ดังนี้
1.ปัจจัยทางพันธุกรรมครอบครัว
ปัจจัยหลักทำให้เด็กป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น นั่นคือปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดจากคนในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 75% ส่งผลทำให้เด็กมีระบบประสาทสมองส่วนหน้าทำงานผิดปกติ โดยสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด การวางแผน การควบคุมตนเอง การจัดลำดับสิ่งต่างๆ รวมถึงมีสารในสมองที่สำคัญบางตัวน้อยกว่าคนปกติทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่าระหว่างคุณแม่ตั้งครรภ์ หากมีการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการทำให้เด็กป่วยเป็นสมาธิสั้นได้เช่นกัน
2.ปัจจัยการเลี้ยงดูสภาพแวดล้อม
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ เด็กสมาธิสั้น นั่นก็คือสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูจากครอบครัวอย่างเช่น การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย ไม่มีกฎระเบียบอะไร เด็กถูกตามใจ โดยเฉพาะการให้เด็กอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไปเช่น ไอแพด โทรศัพท์มือถือ รวมถึงสื่อโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ ขาดการควบคุมจากผู้ปกครอง ซึ่งพ่อแม่มักจะเห็นว่าลูกอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ได้นาน และนิ่งขึ้น ไม่มารบกวน จึงปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่อเหล่านี้ตลอดทั้งวัน จนกลายเป็นว่าเด็กมีพัฒนาการที่ช้า โดยเฉพาะในเรื่องของการสื่อสาร เด็กจะขาดทักษะทางสังคม ใจร้อน รอคอยอะไรนานๆ ไม่ได้ ยุกยิกอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย หรือบางครั้งก็อาจจะมีพฤติกรรมชอบใช้ความรุนแรงด้วย
รู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น
อยากรู้ว่าลูกป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น หรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวนี้จะมีวิธีสังเกตง่ายๆ ดังนี้
-เด็กจะไม่ค่อยมีสมาธิ จะวอกแวก เหม่อลอย จดจ่อกับอะไรนานๆ ไม่ได้ เบื่อง่าย ขี้หลงขี้ลืม ทำงานตามที่สั่งไว้ไม่สำเร็จ ไม่ชอบทำอะไรที่ต้องอาศัยสมาธิจดจ่อ
-เด็กจะมีพฤติกรรมซุกซนไม่ชอบอยู่นิ่ง จะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ต้องหาอะไรทำ มีความกระตือรือร้นอยู่ตลอด พูดเก่ง พูดเสียงดัง เล่นกับเพื่อนแรงๆ เข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้
-ขาดความยับยั้งชั่งใจ ใจร้อน หุนหันพลันแล่น วู่วาม ขาดการระมัดระวังในการทำสิ่งต่างๆ ชอบพูดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน รอคอยไม่เป็น
วิธีการดูแลรักษา
คุณพ่อคุณแม่หากสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติเข้าข่ายเป็น เด็กสมาธิสั้น ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อการวินิจฉัยทำการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยการรักษาโรคดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยการปรับพฤติกรรมและการใช้ยารักษา ดังนี้
1.การปรับพฤติกรรมเด็ก
การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมนั้นคุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องให้ความร่วมมือ มีความตั้งใจจริงที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้ลูกอยู่ในกฎระเบียบมากขึ้นใช้การสื่อสารกับลูกที่สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา เวลาออกคำสั่งควรให้ลูกหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่และมองหน้าสบตาพ่อแม่ ให้เด็กทวนคำสั่งเพื่อเช็คดูว่าลูกเข้าใจคำสั่งถูกต้องหรือไม่
ทำตารางสิ่งที่ลูกจะต้องทำทุกวันอย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกดูได้ด้วยตัวเองไม่ต้องให้พ่อแม่คอยสั่งซ้ำทุกวัน เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักวางแผน แบ่งเวลาเป็น
ควรหากิจกรรมให้ลูกทำในแต่ละวัน เนื่องจากเด็กที่เป็น โรคสมาธิสั้น จะมีพลังงานเยอะ เพื่อให้ลูกได้ใช้พลังงานในทางที่สร้างสรรค์และเหมาะสม
จำกัดให้ลูกอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์วันละไม่เกิน 1 ชม. กำหนดเวลาเล่นที่ชัดเจน และคุณพ่อคุณแม่ควรอยู่กับลูกขณะที่เล่นเพื่อดูความเหมาะสมด้วย
2.การรักษาโดยการใช้ยายากลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น ที่ให้ผลในการรักษาดีที่สุด ออกฤทธิ์ครั้งละ 4 ชั่วโมง ในแต่ละวันจะมีการกินยาประมาณ 2 - 3 ครั้งเพื่อให้ออกฤทธิ์ยาว 12 ชั่วโมง
ยากลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ใช้รักษา เด็กสมาธิสั้น ในกรณีที่เด็กไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทได้
ยาต้านโรคซึมเศร้า ใช้ในเด็กที่มีสมาธิสั้น มีปัญหาสภาวะอารมณ์ร่วมด้วย อย่างเช่น กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน
โรคสมาธิสั้นป้องกันได้หรือไม่
โรคสมาธิสั้น ในเด็กสามารถป้องกันได้ หากเด็กไม่ได้ป่วยมาจากทางพันธุกรรม ซึ่งสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกป่วยเป็นสมาธิสั้นได้ก็คือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความรัก ความอบอุ่น มีเวลาให้ สร้างสายสัมพันธ์ที่ดีทางครอบครัว ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น ไอแพด โทรศัพท์มือถือ และโทรทัศน์มากเกินไป ควรมีการควบคุม จัดระเบียบ และให้ลูกดูเป็นเวลา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถป้องกันโรคสมาธิสั้นในเด็กได้แล้ว
ปัจจุบันมีเด็กป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยจากการเลี้ยงดูสภาพแวดล้อม และการที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป จนทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้า หากสังเกตเห็นพฤติกรรมของลูกเข้าข่ายสมาธิสั้นคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะหากรู้เร็วโอกาสรักษาให้หายเป็นปกติก็มีมากขึ้นนั่นเอง
เครดิตแหล่งข้อมูล : maerakluke
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น