ปัญหาของทารกคลอดก่อนกำหนดที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทำการฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์เรียบร้อยแล้ว การเข้ารับการตรวจตามนัดหมาย หรือรีบปรึกษาแพทย์เมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติกับครรภ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลครรภ์และการเตรียมความพร้อมของคุณพ่อคุณแม่ยังหมายรวมถึง การมีความรู้เพื่อรับมือในกรณีเด็กการคลอดก่อนกำหนด การที่ได้รู้ก่อนว่า "ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง" ทำให้สามารถรับมือได้ดี และหากทารกอยู่ในการดูแลของแพทย์ตั้งแต่แรกคลอดก็จะช่วยให้ทารกได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วและดีที่สุด
ทารกเกิดก่อนกำหนดหมายถึงอะไร?
ทารกเกิดก่อนกำหนด หมายถึง ทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ทารกกลุ่มนี้แม้จะมีอวัยวะต่างๆ ครบถ้วน แต่เนื่องจากพัฒนาการของอวัยวะเหล่านั้นยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดปัญหาหรือมีภาวะเจ็บป่วยภายหลังการคลอด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย ซึ่งย่อมต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และมักต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิด และปัญหาหรือภาวะเจ็บป่วยที่พบ
ปัญหาและภาวะเจ็บป่วยที่มักพบในทารกเกิดก่อนกำหนด
ทารกเกิดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดยิ่งน้อยยิ่งพบปัญหาได้มาก และอาการอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ปัญหาและภาวะเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยมีดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
การขาดสารลดแรงตึงผิว
สารลดแรงตึงผิวจะเคลือบอยู่ในถุงลมของปอด ช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี ทารกที่เกิดก่อนกำหนดยังไม่สามารถสร้างสารนี้ได้เพียงพอ ทำให้ถุงลมแฟบ ทารกจะหายใจหอบและอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในทารกที่มีภาวะหายใจล้มเหลว แพทย์อาจพิจารณาให้สารลดแรงตึงผิวทดแทนโดยใส่ผ่านท่อช่วยหายใจ ซึ่งจะช่วยให้ปอดขยายตัวดีขึ้น
การหยุดหายใจ
การทำงานของศูนย์ควบคุมการหายใจของทารกแรกเกิดก่อนกำหนดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้การทำงานยังไม่ดีพอ ทารกจะมีการหยุดหายใจเป็นระยะๆ หากเป็นบ่อยอาจต้องได้รับยากระตุ้นการหายใจ หรืออาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
โรคปอดเรื้อรัง
เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของปอด ทำให้ทารกเกิดก่อนกำหนดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือออกซิเจนเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ ร่วมทั้งมีการอักเสบ มีการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ทารกมีโอกาสเป็นโรคปอดเรื้อรังตามมา ซึ่งจะทำให้ทารกต้องเครื่องช่วยหายใจนานขึ้นอีก
ปัญหาด้านโรคหัวใจ
ปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ (PDA)
ในทารกที่คลอดเมื่อครบกำหนด เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจเพื่อไปเลี้ยงร่างกายกับเส้นเลือดที่ไปสู่ปอดจะหดตัวและตีบตันไป แต่ในทารกเกิดก่อนกำหนดเส้นเลือดที่เชื่อมนี้จะไม่หดตัว ทำให้มีเลือดจากหัวใจไปสู่ปอดมาก เป็นผลให้ทารกหายใจหอบและมีภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องรักษาด้วยยาเพื่อให้เส้นเลือดหดตัว แต่บางรายจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ปัญหาทางเดินอาหาร
ลำไส้อักเสบ / ลำไส้เน่า
การย่อยและการดูดซึมของลำไส้ยังไม่สมบูรณ์ดี ทำให้ทารกต้องได้รับนมทีละน้อย กว่าจะรับนมได้เต็มที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยระหว่างนี้ ทารกจะได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำควบคู่กันไป ทารกบางรายจำเป็นต้องใส่สายเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่เพื่อให้อาหาร
หูรูดของรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะของทารกเกิดก่อนกำหนดยังทำงานไม่สมบูรณ์ หูรูดมักหลวมทำให้มีโอกาสเกิดภาวะนมและกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทารกอาจมีอาการหยุดหายใจ เขียวคล้ำเป็นระยะๆ ซึ่งมักต้องได้รับยารักษา บางรายที่เป็นรุนแรงต้องรักษาโดยการผ่าตัด
ปัญหาทางไต
ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง อาจได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะเป็นเวลานาน ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการสะสมของแคลเซียม และเป็นนิ่วในไตได้ ซึ่งต้องได้รับยารักษาในระยะยาว
ปัญหาทางด้านสมอง
ทารกเกิดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองได้ เนื่องจากเส้นเลือดเปราะแตกง่าย ทารกที่มีอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดยิ่งน้อยยิ่งมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นทารกเหล่านี้จะได้รับการตรวจโดยวิธีอัลตร้าซาวด์สมองด้วย
การติดเชื้อ
ทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีระบบภูมิคุ้มกันของโรคที่ไม่สมบูรณ์ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรง ทารกเหล่านี้จึงมักต้องได้รับยาต้านจุลชีพร่วมด้วย
ภาวะตัวเหลือง
การทำงานของตับในการขับสารเหลืองยังไม่สมบูรณ์ และมีภาวะเจ็บป่วยหลายอย่าง ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองได้ง่ายในสัปดาห์แรกหลังเกิด และต้องรักษาด้วยการส่องไฟ
ภาวะซีด
ระบบการสร้างเม็ดเลือดแดงยังไม่ดีพอ ร่วมกับทารกที่ป่วยต้องได้รับการตรวจเลือดบ่อย ทำให้เกิดภาวะซีดได้ง่าย บางรายจำเป็นต้องได้รับการให้เลือด
ปัญหาทางตา / การมองเห็น
จอประสาทตาของทารกเกิดก่อนกำหนดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หลังเกิดอาจมีการพัฒนาของเส้นเลือดที่จอประสาทตาผิดปกติ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรง จะมีผลต่อการมองเห็นของทารกหรือตาบอดได้ ดังนั้นทารกเกิดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์จะได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังภาวะนี้ และอาจต้องให้การรักษาโดยวิธียิงเลเซอร์
เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนด จะมีน้ำหนักน้อยตั้งแต่แรกเกิด ประกอบกับมีภาวะเจ็บป่วยหลายอย่าง ทำให้ทารกเหล่านี้อาจมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กปกติ ดังนั้นหลังจากทารกกลับบ้านแล้ว ยังคงต้องติดตามการเจริญเติบโต การมองเห็น การได้ยิน และพัฒนาการในทุกๆ ด้านของทารกในระยะยาวด้วย
การดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนด
เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีปัญหาและภาวะเจ็บป่วยหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU - Neonatal Intensive Care Unit) โดยแพทย์และพยาบาลซึ่งมีความชำนาญในการดูแลทารกกลุ่มนี้ โดยเฉพาะทารกที่อาการหนักต้องใช้เครื่องมือหลายชนิด เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ความอบอุ่น / ตู้อบ เครื่องตรวจสัญญาณชีพและระดับออกชิเจน เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ทารกอาจต้องใส่สายเข้าสู่หลอดเลือดดำทางสายสะดือ เพื่อให้น้ำเกลือ ยา และสารอาหารอื่นๆ รวมทั้งเพื่อความสะดวกในการส่งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการโดยที่ไม่ต้องรบกวนอวัยวะอื่นๆ หรือต้องเจ็บตัวบ่อย ๆ
ปกติแล้วทารกจะได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามปัญหา หรือภาวะเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดตามที่ได้กล่าวข้างต้นจนกระทั่งทารกพ้นระยะวิกฤต และโตพอที่จะควบคุมอุณหภูมิได้เอง จึงสามารถออกจากตู้อบได้
ทารกจะกลับบ้านได้เมื่อไร?
การที่ทารกจะกลับบ้านได้ ต้องมีน้ำหนักอย่างน้อย 2,000 กรัม มีอุณหภูมิร่างกายปกติภายนอกตู้อบ ไม่มีหยุดหายใจ ดูดนมได้ดี น้ำหนักเพิ่มขึ้นดี และผู้เลี้ยงดูสามารถดูแลทารกได้ หลังออกจากรพ. ทารกต้องมาตรวจเป็นระยะตามนัด เพื่อติดตามดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ของทารกต่อไป
ทารกเกิดก่อนกำหนดหมายถึงอะไร?
ทารกเกิดก่อนกำหนด หมายถึง ทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ทารกกลุ่มนี้แม้จะมีอวัยวะต่างๆ ครบถ้วน แต่เนื่องจากพัฒนาการของอวัยวะเหล่านั้นยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดปัญหาหรือมีภาวะเจ็บป่วยภายหลังการคลอด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย ซึ่งย่อมต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และมักต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิด และปัญหาหรือภาวะเจ็บป่วยที่พบ
ปัญหาและภาวะเจ็บป่วยที่มักพบในทารกเกิดก่อนกำหนด
ทารกเกิดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดยิ่งน้อยยิ่งพบปัญหาได้มาก และอาการอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ปัญหาและภาวะเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยมีดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
การขาดสารลดแรงตึงผิว
สารลดแรงตึงผิวจะเคลือบอยู่ในถุงลมของปอด ช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี ทารกที่เกิดก่อนกำหนดยังไม่สามารถสร้างสารนี้ได้เพียงพอ ทำให้ถุงลมแฟบ ทารกจะหายใจหอบและอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในทารกที่มีภาวะหายใจล้มเหลว แพทย์อาจพิจารณาให้สารลดแรงตึงผิวทดแทนโดยใส่ผ่านท่อช่วยหายใจ ซึ่งจะช่วยให้ปอดขยายตัวดีขึ้น
การหยุดหายใจ
การทำงานของศูนย์ควบคุมการหายใจของทารกแรกเกิดก่อนกำหนดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้การทำงานยังไม่ดีพอ ทารกจะมีการหยุดหายใจเป็นระยะๆ หากเป็นบ่อยอาจต้องได้รับยากระตุ้นการหายใจ หรืออาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
โรคปอดเรื้อรัง
เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของปอด ทำให้ทารกเกิดก่อนกำหนดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือออกซิเจนเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ ร่วมทั้งมีการอักเสบ มีการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ทารกมีโอกาสเป็นโรคปอดเรื้อรังตามมา ซึ่งจะทำให้ทารกต้องเครื่องช่วยหายใจนานขึ้นอีก
ปัญหาด้านโรคหัวใจ
ปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ (PDA)
ในทารกที่คลอดเมื่อครบกำหนด เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจเพื่อไปเลี้ยงร่างกายกับเส้นเลือดที่ไปสู่ปอดจะหดตัวและตีบตันไป แต่ในทารกเกิดก่อนกำหนดเส้นเลือดที่เชื่อมนี้จะไม่หดตัว ทำให้มีเลือดจากหัวใจไปสู่ปอดมาก เป็นผลให้ทารกหายใจหอบและมีภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องรักษาด้วยยาเพื่อให้เส้นเลือดหดตัว แต่บางรายจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ปัญหาทางเดินอาหาร
ลำไส้อักเสบ / ลำไส้เน่า
การย่อยและการดูดซึมของลำไส้ยังไม่สมบูรณ์ดี ทำให้ทารกต้องได้รับนมทีละน้อย กว่าจะรับนมได้เต็มที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยระหว่างนี้ ทารกจะได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำควบคู่กันไป ทารกบางรายจำเป็นต้องใส่สายเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่เพื่อให้อาหาร
การติดเชื้อในลำไส้อย่างรุนแรงจนทำให้ลำไส้เน่าเป็นปัญหาที่พบได้ในทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งต้องรักษาโดยการงดนม ให้ยาต้านจุลชีพ บางรายต้องรับการรักษาโดยการ ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของโรค
ภาวะนมและกรดไหลย้อน (GERD)หูรูดของรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะของทารกเกิดก่อนกำหนดยังทำงานไม่สมบูรณ์ หูรูดมักหลวมทำให้มีโอกาสเกิดภาวะนมและกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทารกอาจมีอาการหยุดหายใจ เขียวคล้ำเป็นระยะๆ ซึ่งมักต้องได้รับยารักษา บางรายที่เป็นรุนแรงต้องรักษาโดยการผ่าตัด
ปัญหาทางไต
ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง อาจได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะเป็นเวลานาน ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการสะสมของแคลเซียม และเป็นนิ่วในไตได้ ซึ่งต้องได้รับยารักษาในระยะยาว
ปัญหาทางด้านสมอง
ทารกเกิดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองได้ เนื่องจากเส้นเลือดเปราะแตกง่าย ทารกที่มีอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดยิ่งน้อยยิ่งมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นทารกเหล่านี้จะได้รับการตรวจโดยวิธีอัลตร้าซาวด์สมองด้วย
การติดเชื้อ
ทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีระบบภูมิคุ้มกันของโรคที่ไม่สมบูรณ์ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรง ทารกเหล่านี้จึงมักต้องได้รับยาต้านจุลชีพร่วมด้วย
ภาวะตัวเหลือง
การทำงานของตับในการขับสารเหลืองยังไม่สมบูรณ์ และมีภาวะเจ็บป่วยหลายอย่าง ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองได้ง่ายในสัปดาห์แรกหลังเกิด และต้องรักษาด้วยการส่องไฟ
ภาวะซีด
ระบบการสร้างเม็ดเลือดแดงยังไม่ดีพอ ร่วมกับทารกที่ป่วยต้องได้รับการตรวจเลือดบ่อย ทำให้เกิดภาวะซีดได้ง่าย บางรายจำเป็นต้องได้รับการให้เลือด
ปัญหาทางตา / การมองเห็น
จอประสาทตาของทารกเกิดก่อนกำหนดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หลังเกิดอาจมีการพัฒนาของเส้นเลือดที่จอประสาทตาผิดปกติ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรง จะมีผลต่อการมองเห็นของทารกหรือตาบอดได้ ดังนั้นทารกเกิดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์จะได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังภาวะนี้ และอาจต้องให้การรักษาโดยวิธียิงเลเซอร์
ปัญหาทางการได้ยิน
ทารกเกิดก่อนกำหนดมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องของการได้ยิน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหาหลายอย่าง อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของประสาทหูได้ ดังนั้นทารกจะได้รับการตรวจการได้ยินก่อนกลับบ้าน
เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนด จะมีน้ำหนักน้อยตั้งแต่แรกเกิด ประกอบกับมีภาวะเจ็บป่วยหลายอย่าง ทำให้ทารกเหล่านี้อาจมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กปกติ ดังนั้นหลังจากทารกกลับบ้านแล้ว ยังคงต้องติดตามการเจริญเติบโต การมองเห็น การได้ยิน และพัฒนาการในทุกๆ ด้านของทารกในระยะยาวด้วย
การดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนด
เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีปัญหาและภาวะเจ็บป่วยหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU - Neonatal Intensive Care Unit) โดยแพทย์และพยาบาลซึ่งมีความชำนาญในการดูแลทารกกลุ่มนี้ โดยเฉพาะทารกที่อาการหนักต้องใช้เครื่องมือหลายชนิด เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ความอบอุ่น / ตู้อบ เครื่องตรวจสัญญาณชีพและระดับออกชิเจน เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ทารกอาจต้องใส่สายเข้าสู่หลอดเลือดดำทางสายสะดือ เพื่อให้น้ำเกลือ ยา และสารอาหารอื่นๆ รวมทั้งเพื่อความสะดวกในการส่งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการโดยที่ไม่ต้องรบกวนอวัยวะอื่นๆ หรือต้องเจ็บตัวบ่อย ๆ
ปกติแล้วทารกจะได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามปัญหา หรือภาวะเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดตามที่ได้กล่าวข้างต้นจนกระทั่งทารกพ้นระยะวิกฤต และโตพอที่จะควบคุมอุณหภูมิได้เอง จึงสามารถออกจากตู้อบได้
ทารกจะกลับบ้านได้เมื่อไร?
การที่ทารกจะกลับบ้านได้ ต้องมีน้ำหนักอย่างน้อย 2,000 กรัม มีอุณหภูมิร่างกายปกติภายนอกตู้อบ ไม่มีหยุดหายใจ ดูดนมได้ดี น้ำหนักเพิ่มขึ้นดี และผู้เลี้ยงดูสามารถดูแลทารกได้ หลังออกจากรพ. ทารกต้องมาตรวจเป็นระยะตามนัด เพื่อติดตามดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ของทารกต่อไป
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น