ภาวะซีดในเด็ก…พ่อแม่ป้องกันได้

ภาวะซีดในเด็ก…พ่อแม่ป้องกันได้


เลือดในร่างกายของเราประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย สำหรับเด็กที่มีภาวะซีดมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณของเม็ดเลือดแดงที่ลดลงมากกว่าปกติ และหากเด็กๆ มีภาวะซีดนานเรื้อรังจะส่งผลถึงพัฒนาการทางสมอง มีสมาธิสั้น เรียนไม่ทันเพื่อน สติปัญญาไม่ดี ไม่กระฉับกระเฉง การเจริญเติบโตไม่สมวัย ตัวเล็ก โตไม่ทันเพื่อน และไม่สามารถเข้าวัยรุ่นวัยหนุ่มสาวได้อย่างปกติ

สังเกตว่าลูกมีภาวะซีดได้อย่างไรนะ
เราสามารถสังเกตภาวะซีดโดยดูจากการมีสีผิวซีด ตัวเหลือง ไม่มีเลือดฝาดเหมือนผิวเด็กทั่วไป ในรายที่มีภาวะซีดรุนแรง เด็กจะมีผิวขาวซีด อ่อนเพลีย กินอาหารน้อยลง เหนื่อยง่าย ไม่ร่าเริง ทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง ในเด็กที่มีภาวะซีดจากโรคธาลัสซีเมียจะมีอาการท้องโต ตับม้ามโต หน้าเปลี่ยนและตัวเหลืองร่วมด้วย ซึ่งหากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวควรพาไปตรวจหาสาเหตุเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

หลากหลายวิธีตรวจวินิจฉัยภาวะซีดในเด็ก
ในเด็กขวบปีแรกที่กินนมแม่มักจะได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่อาจจะได้รับธาตุเหล็กค่อนข้างน้อยจนทำให้เด็กมีภาวะขาดธาตุเหล็กได้ หากสงสัย แพทย์จะทำการตรวจภาวะความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และหาภาวะการขาดธาตุเหล็กในร่างกายของเด็ก ในเด็กบางรายที่มีภาวะซีด แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเด็กอยู่ในภาวะซีดแบบใด เช่น ซีดเรื้อรัง หรือซีดแบบฉับพลัน โดยจะใช้วิธีตรวจที่แตกต่างกันตามโรค ภาวะซีดเรื้อรัง เช่น โรคธาลัสซีเมีย และภาวะซีดแบบฉันพลัน เช่น ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี ซึ่งเด็กจะมาพบแพทย์ด้วยอาการมีไข้ ผิวซีดฉับพลัน ปัสสาวะสีเข็ม เป็นต้น

ภาวะซีดในเด็ก...รักษาได้
ในเด็กเล็กที่มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก แพทย์จะรักษาด้วยการให้รับประทานธาตุเหล็ก ซึ่งหลังจากรับประทานธาตุเหล็กแล้ว 1-2 วัน เด็กมักจะมีความสดใสร่าเริง ความอยากทานอาหารจะเริ่มกลับมาเป็นปกติ และเมื่อทานธาตุเหล็กไปเรื่อยๆ ความเข้มข้มของเลือดจะกลับมาดีขึ้นภายใน 1 เดือน แต่อาจจะต้องรับประทานธาตุเหล็กต่อเนื่องไปอีก 2-3 เดือน เพื่อให้ร่างกายมีธาตุเหล็กที่เพียงพอ โดยแพทย์จะนัดให้มาติดตามการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะซีดของเด็กแต่ละคน

ป้องกันเด็กจากภาวะซีดได้อย่างไร
1.เด็กที่คลอดก่อนกำหนด แพทย์จะแนะนำให้รับประทานธาตุเหล็กเสริม

2.เด็กที่คลอดครบกำหนดและทานนมแม่ ในช่วงอายุ 6 เดือนที่เด็กเริ่มทานอาหารได้ อาหารตามวัย ควรจัดให้มีอาหารที่มีธาตุเหล็กประกอบ เช่น ผักใบเขียว เครื่องใน ไข่แดง เนื้อสัตว์ที่มีเนื้อแดง โดยรับประทาน 1-2 มื้อต่อวัน เพื่อให้มีปริมาณธาตุเหล็กเพียงพอต่อร่างกาย

3.พาเด็กมาคัดกรองภาวะซีด เพื่อตรวจหาธาตุเหล็กในร่างกาย และพิจารณาว่าอาหารที่เด็กทานตามวัยนั้นมีปริมาณธาตุเหล็กที่เพียงพอหรือไม่ โดยแนะนำให้พาเด็กมาคัดกรองเมื่ออายุ 9 เดือน-1 ปี

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์