ความดันโลหิตสูงในคนท้อง เกิดจากอะไร ? พร้อมวิธีดูแลตนเอง


ความดันโลหิตสูงในคนท้อง เกิดจากอะไร ?  พร้อมวิธีดูแลตนเอง


ความดันโลหิตสูงในคนท้อง เกิดจากอะไร ? พร้อมวิธีดูแลตนเอง

ภาวะความดันโลหิตสูงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุครรภ์มากขึ้น จะมีความเสี่ยงของภาวะความดันสูงมากขึ้นด้วย ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ทางการแพทย์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

1.จากการหดรัดตัวของหลอดเลือดแดง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการหดตัวของหลอดเลือดแดง อาจจะเป็นทำให้เกิดมีความดันโลหิตสูงตามมาได้ ในบางรายที่มีความรุนแรงมากขึ้น อาจมีผลทำลายเนื้อเยื่อที่สำคัญที่ตับ, ไต,และ สมองได้ ซึ่งมีผลเสียทำให้เลือดที่ผ่านรกไปยังลูกน้อยลดน้อยลง ส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพออีกด้วย

2.กรรมพันธุ์

คุณแม่ที่เกิดจากครอบครัวที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ตั้งแต่การตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก หรือในรายที่มีประวัติว่าตัวคุณแม่ พี่สาวหรือน้องสาวที่เคยมีภาวะความดันสูงขณะตั้งครรภ์ ก็อาจทำให้เกิดขึ้นได้

3.การตั้งครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานก็มีความเสี่ยงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง รวมถึงในคุณแม่บางรายที่เคยเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเคยเป็นความดันสูงในระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งก่อน นอกจากนี้จะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้วก็ได้

4.ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย

คุณแม่ที่ขาดการออกกำลังกาย และกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ รวมถึงผู้ที่กำลังรักษาโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตัวเอง ก็ล้วนแต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

รู้ได้อย่างไรว่าความดันโลหิตสูง
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการความดันโลหิตสูงจะมีอาการที่แสดงออกมาให้เห็นดังนี้

มีอาการปวดศีรษะ
สายตาพร่ามัวหรือเห็นแสงแวบๆ
จุก แน่นบริเวณลิ้นปี่
มีการบวมเกิดขึ้นตามร่างกาย
วิธีการดูแลรักษา

วิธีการดูแลรักษาสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดีที่สุด เมื่อมีภาวะแทรกซ้อน คือ

1.คุณแม่ควรได้นอนพักผ่อนให้มากขึ้น

โดยเฉพาะการนอนพักช่วงกลางวัน หลังกินอาหารเที่ยงอิ่มแล้ว ควรได้งีบหลับสัก 2 ชั่วโมง ก็จะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนได้มาก ส่วนตอนกลางคืนก็ควรนอนหลับให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อคืน

2.ควรทำงานให้น้อยลง งดทำงานหนัก

คุณแม่ควรทำงานให้น้อยลง และหลีกเลี่ยงการทำงานหนักทุกชนิด

3.กินอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่ครบห้าหมู่มีความจำเป็นต่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อย โดยเฉพาะผักและผลไม้ควรกินอย่างสม่ำเสมอ

4.กินยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

หากคุณแม่มียาลดความดันโลหิตเดิมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ควรนำมาให้แพทย์ดูตอนตรวจครรภ์ว่าจะกินต่อไปได้หรือไม่ เนื่องจากยาบางชนิดไม่ควรกินในระหว่างตั้งครรภ์

5.มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

เมื่อฝากครรภ์ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จะทำให้ได้รับการตรวจร่างกาย เจาะเลือด ตรวจการทำงานของไต การทำงานของหัวใจ และตรวจตาอย่างเหมาะสม และสามารถติดตามอาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้

6.ตรวจติดตามวัดความดันโลหิตของตนเองเป็นระยะที่บ้าน

ขณะอยู่บ้าน ควรตรวจวัดความดันโลหิตและจดบันทึกประมาณ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ จดบันทึกเพื่อนำมาให้แพทย์ช่วยประเมินอีกครั้ง

การป้องกันไม่ให้ความดันสูง
วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถทำได้อย่างไรบ้าง โดยทั่วไปอาการของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์จะหายไปหลังการคลอดบุตร 4-6 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของภาวะโลหิตสูงอยู่ต่อไปอีก หรืออาจมีอาการเกิดขึ้นได้อีกหลังการคลอด ซึ่งเป็นอาจเป็นอันตรายและควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด สิ่งที่ควรทำคือพบแพทย์เพื่อทำการตรวจครรภ์ ระดับความดันโลหิต รวมถึงการตรวจปัสสาวะเพื่อวัดระดับโปรตีนไข่ขาวอย่างสม่ำเสมอ

รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ โดยการจำกัดปริมาณในการกินอาหารที่มีโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม

ออกกำลังกายเป็นประจำ และควรทำกิจกรรมตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อความปลอดภัย

กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่ใช้ยาเสพติด

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
คุณแม่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อเป็นแล้วหากไม่ได้รับการรักษา อาจให้เกิดความเสียหายต่อระบบไหลเวียนโลหิตจนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ คุณแม่ควรตระหนักถึงความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคความดันสูงขณะตั้งครรภ์ จะได้มีความเข้าใจและปฏิบัติตัวในการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัย จากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้


เครดิตแหล่งข้อมูล : maerakluke


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์