นมแม่เก็บได้กี่วัน ถ้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา


นมแม่เก็บได้กี่วัน ถ้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา


   นมแม่เป็นเหมือนอาหารวิเศษสำหรับลูกน้อย คุณแม่ส่วนใหญ่จึงพยายามที่จะให้ลูกกินนมแม่ให้มากและนานที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีเวลา หรือจะต้องออกไปทำงานนอกบ้านแต่ก็พยายามที่จะปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกได้กิน นมแม่มีประโยชน์มากมายนอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายยังทำให้ร่างกายลูกน้อยแข็งแรงอีกด้วย เพราะเด็กที่กินนมแม่จะแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ได้ดี แต่การจัดเก็บนมแม่นั้นคุณแม่หลายท่านอาจจะยังสงสัยว่า นมแม่เก็บได้กี่วัน ต้องแช่ช่องฟรีซไหม และเก็บในอุณหภูมิตู้เย็นธรรมดาได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้เรามีคำตอบให้

นมแม่เก็บได้กี่วัน ถ้าแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา

นมแม่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก คุณแม่หลายท่านอาจจะรู้วิธีปั๊มนมมาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าหลายท่านอาจจะยังคงสงสัยเกี่ยวกับการจัดเก็บน้ำนมแม่ นมแม่เก็บได้กี่วัน เพื่อที่จะได้คงคุณค่าของน้ำนมไว้ได้นานที่สุด จะเก็บในช่องฟรีซของตู้เย็น หรือจะเก็บในอุณหภูมิตู้เย็นปกติดี ต้องบอกเลยว่าคำถามเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เป็นมือใหม่แทบจะทุกท่านเลย โดยปกติแล้วนมแม่สามารถจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิตู้เย็นช่องแช่ธรรมดา 0 - 4 องศาได้ประมาณ 8 วัน โดยเป็นตู้เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่ แต่ถ้าเป็นตู้เย็นช่องธรรมดาที่มีการเปิดปิดใช้งานอยู่เป็นประจำ จะอยู่ได้ประมาณ 1 - 3 วันเท่านั้น หลังจากนั้นนมก็จะเสื่อมสภาพและมีแบคทีเรียก่อตัวเป็นจำนวนมาก เมื่อนำไปให้ลูกน้อยกินก็อาจเสี่ยงที่จะทำให้ปวดท้องหรือท้องเสียได้

ข้อดีของการแช่ช่องธรรมดา

ใน การเก็บน้ำนม นั้นสำคัญมาก หากคุณแม่ไม่แน่ใจในการจัดเก็บแต่ละครั้งควรใช้การจดบันทึกข้างถุงนมโดยเขียนระบุวันและเวลาจัดเก็บเพื่อป้องกันการหยิบนมเก่าที่เลยวันจัดเก็บมาใช้ จะได้รู้ว่าจะต้องกินถุงหรือขวดไหนก่อน โดยข้อดีในการจัดเก็บนมแม่ ในช่องแช่ธรรมดานั้น คือสะดวกในการนำนมมาให้ลูกกิน เพราะไม่ต้องรอเวลาให้น้ำแข็งละลาย ลูกหิวเมื่อไหร่ก็มีนมให้ลูกได้กินได้เลย สะดวกสบายไม่ต้องเสียเวลา

ข้อเสียของการแช่ช่องธรรมดา

ถึงแม้ว่าการเก็บนมแม่ในช่องธรรมดานั้นจะสะดวกสบายและสามารถหยิบมาให้ลูกน้อยดื่มกินได้ตลอดเวลา แต่ข้อเสียก็คือจัดเก็บได้ไม่นาน เสี่ยงที่นมจะเสียเร็ว และยิ่งจัดเก็บไม่ดี จัดเก็บในตู้เย็นที่มีการเปิดใช้งานเป็นประจำนมที่จัดเก็บนั้นอาจจะเสื่อมคุณภาพลงได้ และอาจทำให้แบคทีเรียก่อตัวเร็วขึ้น หากนำมาให้ลูกกินก็เสี่ยงที่ลูกจะปวดท้อง ท้องเสียได้เช่นกัน นมแม่เก็บได้กี่วัน หากแช่ช่องธรรมดาก็ยากที่จะคาดเดาได้ว่านมแม่ที่เก็บนั้นยังอยู่ในสภาพที่พร้อมดื่มดีอยู่หรือไม่ นั่นเอง

รู้ไหมสามารถเก็บนมได้กี่วิธี อะไรบ้าง

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านอาจจะยังสงสัยใน การเก็บน้ำนม เก็บได้กี่วัน จัดเก็บด้วยวิธีไหนบ้าง ต้องบอกเลยว่านมแม่สามารถที่จะจัดเก็บได้หลากหลายวิธี แต่ละวิธีนั้นก็จะรักษาคุณค่าของนมได้แตกต่างกัน คุณแม่สะดวกที่จะจัดเก็บน้ำนมด้วยวิธีไหนก็สามารถเลือกไปใช้ได้ โดยวิธีจัดเก็บนมแม่ที่เราได้นำมาแนะนำในวันนี้ก็จะมีดังนี้

1.เก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ

นมแม่เก็บได้กี่วัน การเก็บนมในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำหรือติดลบ 19 องศา จะเก็บได้ยาวนานหลายๆ เดือนโดยที่นมแม่ยังคงคุณค่าเหมือนเดิม ซึ่งการจัดเก็บวิธีนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่อยากให้ลูกน้อยทานนมแม่ให้ได้นานที่สุด แต่หากอยากนำนมแม่มาใช้ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเพียงแค่นำออกมาไว้ในช่องแช่เย็นปกติเพียงแค่ 1 คืนนมก็จะละลายสามารถนำมาให้ลูกน้อยดื่มได้ปกติ

2.เพิ่มนมใหม่ลงในที่จัดเก็บเดิม

ในกรณีที่คุณแม่อยากจัดเก็บนมโดยการใส่นมใหม่ลงในนมที่จัดเก็บเดิมแช่ไว้อยู่แล้ว นมแม่เก็บได้กี่วัน คุณแม่จะต้องแช่นมใหม่ไว้ในอุณหภูมิความเย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้วค่อยนำไปเพิ่มในถุงเก่าที่จัดเก็บไว้ได้และน้ำนมใหม่ก็ต้องมีปริมาณไม่มากกว่าน้ำนมเก่า

3.จัดเก็บนมทันทีหลังปั๊ม

ในกรณีที่คุณแม่อยากที่จะจัดเก็บน้ำนมให้ลูกน้อยนานๆ หลายเดือน นมแม่เก็บได้กี่วัน หลังปั๊มเสร็จควรจัดเก็บแช่ทันที และไม่ควรใส่น้ำนมจนเต็มถุงจัดเก็บนม เพราะเมื่อนมแข็งตัวแล้วอาจทำให้ถุงแตกรั่วได้ ควรใส่ในปริมาณที่พอดี เผื่อเหลือพื้นที่ให้นมแข็งตัวเพราะนมจะขยายเมื่อถูกแช่แข็ง

4.จัดเก็บนมในถังน้ำแข็ง

ใน การเก็บน้ำนม ในถังน้ำแข็งนั้นเป็นการจัดเก็บในระยะสั้น สามารถจัดเก็บได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็ไม่ควรนำมาแช่เย็นหรือให้ลูกน้อยดื่มอีกเพราะจะมีแบคทีเรียจำนวนมาก หากเหลือควรทิ้งทันทีไม่ควรจัดเก็บอีกไม่ว่าแช่แข็งหรือแช่ช่องธรรมดา

และนี่คือวิธีจัดเก็บนมแม่ที่เราได้นำมาแนะนำในวันนี้ การจัดเก็บนมแม่นั้นสำคัญมาก เพราะคุณค่าของน้ำนมแม่จะอยู่ที่การจัดเก็บ นมแม่จะจัดเก็บได้มากน้อยนานแค่ไหนก็ขึ้นกับวิธีจัดเก็บ นมแม่เก็บได้กี่วัน คุณแม่ก็คงจะได้ทราบแล้ว นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องใส่ใจในการจัดเก็บน้ำนมให้ดีเพื่อคงคุณค่าให้ลูกน้อยได้ดื่มอย่างปลอดภัยมากที่สุดนั่นเอง


เครดิตแหล่งข้อมูล : maerakluke


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์