ระวัง! 4 ความเชื่อ เลี้ยงลูกแบบผิดๆอาจส่งผลเสียต่อเด็กได้
1.ความเชื่อที่ว่า ‘ทารกตัวเหลืองเพราะไม่ได้กินน้ำ' จริงหรือ?
ไม่จริงค่ะ เด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ไม่ต้องดื่มน้ำเปล่า ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะปกติที่พบได้ในทารกแรกเกิด 2-3 วันหลังคลอดค่ะ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมักหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ โดยไม่มีอันตราย
สาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลือง เป็นเพราะมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า "บิลิรูบิน" ในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งจะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางตับ แต่ตับของทารกแรกเกิดยังทำงานไม่เต็มที่ ทำให้ต้องใช้วิธีขับสารเหลืองออกจากร่างกายผ่านการอุจจาระ (อ่านเรื่องภาวะตัวเหลืองเพิ่มเติม > ภาวะทารกตาและตัวเหลือง อันตรายที่พ่อแม่ควรรู้)
นอกจากนี้ การป้อนน้ำให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดอันตรายได้เช่นกัน (อ่านเรื่องอันตรายจากการป้อนน้ำเด็กเล็กเพิ่มเติม > ไขข้อสงสัย! ทำไมห้ามป้อนน้ำเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน)
ไม่จริงค่ะ เพราะการดัดขาให้ลูกอาจจะส่งผลเสียได้ เช่น ทำแรงไปจนฝืนสรีระที่ปกติของเด็ก อาจเกิดกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อนหลุดได้ แต่ถ้าขาลูกโก่งผิดปกติจริง ๆ อาจเกิดจากเนื้อกระดูกผิดปกติ ซึ่งมักพบในเด็กที่เป็นโรคกระดูกอ่อน ข้อเข่าเสื่อม หรือเกิดจากความผิดปกติของข้อสะโพก เวลายืนหรือเดินเด็กจะหมุนขาเข้าใน หรือหลังอายุ 3 ปี ไปแล้ว ขาลูกยังมีลักษณะโก่ง มีอาการเท้าปุก แนะนำให้คุณแม่พาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
ลักษณะกระดูกขาเด็กแรกคลอดจะโค้งงออยู่แล้ว ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีจะพบว่ามีอาการขาโก่ง คือบริเวณเข่างอโค้งออก ขาจะทำมุมชี้ออกด้านนอก แต่เด็กจะเดินไม่กะเผลก เมื่อโตขึ้น รูปร่างของกระดูกขาจะเปลี่ยนไปค่อย ๆ ตรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในช่วงอายุ 3-4 ปี เด็กบางคนอาจจะมีภาวะขาฉิ่งหรือขาเป็ด หลังจากนั้นขาและเข่าของเด็กจะตรงเป็นปกติในที่สุด ส่วนใหญ่มักไม่เกิน 7 ปี
ไม่จริงค่ะ เดิมคนโบราณเชื่อกันว่า น้ำปัสสาวะด็กสะอาดไม่น่าจะมีเชื้อโรค แต่ในปัจจุบันเราทราบกันดีว่า ปัสสาวะอาจมีเชื้อโรคได้ อีกทั้งเรามีน้ำสะอาด คือน้ำต้มสุก ดังนั้น ควรใช้น้ำสะอาดเช็ดลิ้นลูกจะดีที่สุด โดยวิธีการคือ คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะเช็ดลิ้นให้ลูก ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว พอหมาด ๆ เช็ดเบา ๆ ให้ทั่วทั้งปากตั้งแต่โคนลิ้นไปจนถึงปลายลิ้น ทั้งด้านบนและด้านล่าง รวมไปถึงกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก
ทารกแรกเกิดกินนมเป็นหลักจึงทำให้มีฝ้าขาวที่ลิ้นเป็นปกติค่ะ ถ้าคุณแม่ไม่เช็ดออกอาจจะจับตัวหนาขึ้นได้ และถ้าฝ้าหนามากจนทำให้เด็กไม่ดูดนม เจ็บลิ้น ต้องระวังว่าอาจเป็น "เชื้อรา" ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์
ไม่จริงค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วการนอนคว่ำมีผลการศึกษาพบว่า การนอนคว่ำในเด็กอายุ 1-4 เดือน มีโอกาสเกิดภาวะ "SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) โดยสันนิษฐานว่า การนอนคว่ำทำให้เกิดการกดทับบริเวณหน้าอกของเด็ก เด็กจะหายใจลำบากขึ้น โดยเฉพาะเด็กทารกที่นอนบนเตียงนิ่ม ๆ หรือมีเครื่องนอน เช่น ตุ๊กตา หรือหมอนอยู่ใกล้ ๆ ใบหน้า หรือบางครั้งเมื่อลูกดูดนมเสร็จ แม่ไปจับนอนคว่ำ อาจทำให้สำลักนมออกมา โดยเราไม่ทันสังเกตก็เกิดอันตรายกับเด็กได้
ดังนั้น การนอนที่ปลอดภัยในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน-1 ปี ควรเป็นการนอนตะแคงหรือนอนหงาย อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า เราจับลูกนอนคว่ำไม่ได้นะคะ ในเวลากลางวัน เราสามารถให้ลูกนอนคว่ำเล่นได้ โดยที่เราดูแลใกล้ชิด เพื่อฝึกพัฒนากล้ามเนื้อคอและหลังของเด็ก ซึ่งข้อควรระวัง คือ ควรทำห่างจากมื้อนม 1-2 ชั่วโมง (ป้องกันเด็กอาเจียนหรือสำลัก) และเบาะสำหรับเด็กต้องเป็นเบาะที่มีความแข็งกำลังดี ฟูกหรือหมอน ต้องไม่หนานุ่มหรือมีขนาดใหญ่
พญ.สินดี จำเริญนุสิต
กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม