นมแม่ ใน 1 หยดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ
หลายๆ คนคงเคยได้ยินว่า "นมแม่" คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกวัยแรกเกิด จนถึง 6 เดือนแรก แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า ในนมแม่ จะมีประโยชน์แค่ไหน มีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกหรือไม่ อาหารที่แม่ทานไปจะส่งผลไปที่น้ำนมบ้างไหม วันนี้ Phyathai Explain มีคำตอบ
คำตอบคือ "ไม่จริง" มีข้อมูลทางการแพทย์พบว่าในน้ำนมแม่นั้น ไม่ได้มีส่วนประกอบของเลือดแต่อย่างใด น้ำนมแม่ไม่ได้ถูกกลั่นออกมาจากเลือด แต่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมน้ำนมซึ่งมีลักษณะคล้ายต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ ที่เกาะกลุ่มกัน เชื่อมโยงกัน ภายในเต้านม และมีการดึงเอาสารอาหาร โปรตีน น้ำตาลจากเลือดมาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิต พูดง่ายๆ ชัดๆ ก็คือนมแม่จึงไม่ได้ผลิตจากเลือด แต่เลือดมีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตน้ำนมนั่นเอง
นมแม่แต่ละ ml. มีองค์ประกอบอะไรบ้างนะ
ภูมิคุ้มกัน: โดยเฉพาะน้ำนมช่วงแรกหลังคลอดที่เรียกกว่า "น้ำนมเหลือง" หรือ Colostrums น้ำนมในระยะนี้จะมีปริมาณสารภูมิคุ้มกันสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อของทารกแรกเกิดได้ มีเม็ดเลือดขาวเป็นส่วนประกอบ 2,000-3,000 เซลล์/มิลลิลิตร มีปริมาณไลโซไซม์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย สูงกว่านมอื่นๆ ถึง 5,000 เท่า จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ได้รับการเปรียบเปรยว่านมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนแรกของลูก
โปรตีน: ในน้ำนมแม่มีโปรตีนมากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งกว่า 60% เป็นโปรตีนชนิดที่เรียกกันว่า "เวย์โปรตีน" ที่มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันการติดเชื้อได้ดี
น้ำตาล: ในน้ำนมแม่มีน้ำตาลเชิงซ้อนกว่า 200 ชนิดที่เรียกว่าโอลิโกแซ็กคาไรด์ 6 ซึ่งทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ในลำไส้ของลูก และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและลดความเสี่ยงของการอักเสบของสมองได้อีกด้วย
ไขมัน: นมแม่จะมีปริมาณไขมันอยู่ที่ 4กรัมต่อน้ำนม 100 มิลลิลิตร เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของลูก และกรดไขมันส่วนใหญ่ในน้ำนมแม่จะเป็นกรดไขมันสายยาวและไม่อิ่มตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง และยังช่วยในการดูดซึมวิตามิน กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานอย่างสมบูรณ์วิตามินและแร่ธาตุ: ทั้งวิตามินบี ซี เอ อี ล้วนสามารถพบได้ในน้ำนมแม่ แต่ปริมาณวิตามินจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินที่แม่ได้รับ ดังนั้นแม่ที่ให้นมบุตรจึงควรทานอาหารอย่างหลากหลาย ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีธาตุเหล็ก และแคลเซียม เพียงพอกับลูกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ถึงแม้อาจจะมีปริมาณที่ไม่มากแต่ก็สามารถดูดซึมได้ดีกว่า
ขนาดเต้านมไม่สำคัญ นมจะมากหรือน้อยนั้น มีที่มา...
ปริมาณน้ำนมที่ออกมาจะมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของเต้านมแต่อย่างใด แต่สิ่งที่มีผลต่อปริมาณน้ำนมนั่นก็คือ ฮอร์โมน "โปรแลคติน" และ "ออกซิโทซิน" ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมามากในขณะที่ลูกดูดนม โดยเจ้าฮอร์โมนเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างน้ำนมในต่อมน้ำนมของคุณแม่ และกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของเซลล์กล้ามเนื้อบริเวณต่อมน้ำนม เพื่อให้น้ำนมพุ่งออกมาได้นั่นเอง ซึ่งฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ จะสัมพันธ์อย่างยิ่งกับประสาทสัมผัสและอารมณ์ของแม่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเวลาที่แม่เครียด ไม่สบาย เจ็บปวด วิตกกังวล ปริมาณน้ำนมจะลดน้อยลงนั่นเอง
ข้อมูลจากมูลนิธิศูนย์นมแม่ ยืนยันว่า แม่ให้นมบุตรควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอ หลากหลาย และครบ 5 หมู่ แม้การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอจะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกมากนัก เพราะไม่ว่าอย่างไร ร่างกายของแม่ก็จะคัดสรรสารอาหารที่ดีที่สุดส่งผ่านนมแม่ไปให้ลูกเสมอ แต่ในทางกลับกันร่างกายของคุณแม่นี่แหล่ะ ที่จะได้รับผลกระทบ ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการคุมน้ำหนัก ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์แทนการอดอาหาร
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai