‎เมื่อถึงวันที่ลูกต้องเสียน้ำตา‬

‎เมื่อถึงวันที่ลูกต้องเสียน้ำตา‬

ใครบ้างไม่เคยร้องไห้ ไม่เคยเสียใจ คงไม่มี แต่ด้วยความรักลูก เมื่อพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้ มักจะทนไม่ค่อยได้ หลายๆครั้งเวลาที่เด็กร้องไห้ ก็มักจะมีคำพูดที่พ่อแม่พูดกับลูก ด้วยความหวังดี

"หนูเป็นคนเก่ง หนูต้องไม่ร้องไห้"
"ลูกผู้ชายต้องเข้มแข็ง ไม่มีน้ำตา"
"แม่ไม่เคยร้องไห้ให้คนอื่นเห็น ถ้าหนูเป็นลูกสาวแม่ก็ไม่อ่อนแอต้องเหมือนกัน"

แต่ความหวังดีที่อยากให้ลูกเข้มแข็งในลักษณะนี้ในความเป็นจริงอาจมีผลทำให้เด็กรู้สึกว่า พ่อแม่ไม่เข้าใจความรู้สึกของเขาความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกทางบวก เช่น ดีใจ สนุก ตลก เบิกบาน หรือความรู้สึกทางลบ เช่น เศร้า เสียใจ โกรธ ไม่พ่อใจ น้อยใจ จริง ๆแล้ว ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนต้องมี ผู้ใหญ่ควรจะสอนให้เด็กเข้าใจว่าความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาและยอมรับได้ การที่คนเรายอมรับตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นด้านดี ไม่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เพราะแม้ว่าจะเป็นเรื่องไม่ดี เราต้องยอมรับได้ก่อนที่จะแก้ไขและปรับปรุง

เด็กจะเรียนรู้จากตัวอย่าง ดังนั้นอย่างตัวของพ่อแม่ เมื่อมีความรู้สึกเศร้า เสียใจ ดีใจ มีความสุข ก่อนอื่น ผู้ใหญ่ต้องกล้าที่จะยอมรับความรู้สึกนั้น เช่น การบอกความรู้สึกตัวเองเป็นคำพูดง่าย ๆ เช่น "แม่เหนื่อยจังที่งานเยอะมากๆวันนี้" "พ่อเสียใจที่มารับลูกไม่ทันเวลาเลิกเรียน" ไม่ผิดที่ผู้ใหญ่จะแสดงความรู้สึกอย่างจริงใจให้ลูกรับรู้


‎เมื่อถึงวันที่ลูกต้องเสียน้ำตา‬

สำคัญมาก ๆ ต้องทำให้เด็กเห็นตัวอย่างของการจัดการความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม เช่น โกรธได้ ก็ไม่ทำร้ายของ ไม่ทำรุนแรง หรือ เสียใจ อาจจะเศร้าได้ เสียน้ำตาบ้าง แต่ก็ไม่ทำร้ายตัวเอง เป็นต้น

ถ้าเด็กมีความรู้สึกบางอย่าง ผู้ใหญ่ต้องยอมรับความรู้สึกของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกดี หรือไม่ดี ให้เป็นเรื่องธรรมดา ที่จะดีใจ หรือบางครั้งอาจเศร้า เสียใจ อย่าใช้คำพูดบอกเด็กว่า "อย่าเสียใจ" หรือ "อย่าร้องไห้" เพราะจะเหมือนไม่ยอมรับ ถ้าเด็กเสียใจ ก็ปลอบใจ และ ให้กำลังใจเมื่อต้องการ

ผู้ใหญ่อาจจะสะท้อนความรู้สึกเด็กเป็นคำพูด เช่น "ลูกคงจะผิดหวังมากที่สอบไม่ได้คะแนนดี จนทำให้ร้องไห้" เด็กก็จะเข้าใจความรู้สึกตัวเองที่เป็นอยู่ ว่า ใช่แล้ว ตอนนี้เรากำลัง ผิดหวัง และเสียใจ และ เขาก็จะรู้สึกว่า มันช่างดีเหลือเกิน ที่มีคนที่ไว้ใจอย่างพ่อหรือแม่ เข้าใจในความรู้สึกที่เขาเป็นอยู่

เมื่อเด็กได้รับความเข้าใจจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเขาจะสามารถเข้าใจความรู้สึกตัวเอง กล้าที่จะยอมรับมัน เมื่อยอมรับและรู้ตัวสิ่งต่อมาที่สำคัญมากกว่าก็คือ การจัดการความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการจัดการที่เหมาะสมขึ้น

         โกรธได้ แต่รู้จักจัดการความโกรธ ไม่อาละวาด ไม่รุนแรง

         เสียใจได้ ร้องไห้ได้ แต่รู้จักจัดการกับน้ำตาที่เสียไป ไม่ฟูมฟาย ไม่โวยวาย จนเกินไปนัก

#‎หมอมินบานเย็น‬


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์