สาเหตุที่ลูกน้อย แพ้โปรตีนในนม
จากกรรมพันธุ์ พ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้รวมทั้ง แพ้โปรตีนในนมวัว ได้มากถึง 50-60% การได้รับการกระตุ้นจากการกินนม หรือโปรตีนกลุ่มเสี่ยงในช่วงตั้งครรภ์มากเกินไป สำหรับคุณแม่กลุ่มเสี่ยงที่เป็นภูมิแพ้ หรือคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้
ลักษณะอาการของเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัว
โรคแพ้โปรตีนนมวัว ถือเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากมาก บางรายพอได้รับนมวัวปุ๊บก็มีอาการทันที เช่น มีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหน้า แขน ขา ลำตัว ปากเจ่อบวม ขณะที่บางรายช่วงแรกที่ดื่มนมวัวจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่พอดื่มไปสักพัก 2-3 เดือน ก็จะมีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายมีเลือดปน หายใจขัด คัดจมูก หลับไม่สนิท ผื่นแพ้ ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นโรคธรรมดาในเด็ก ก็เลยยิ่งทำให้เด็กเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น และไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง ที่สำคัญคือ การแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้นได้
โดยเมื่อลูกแพ้โปรตีนในนมวัว มักจะแพ้โปรตีนในอาหารบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารอื่น ๆ ด้วย ซึ่งอาหารที่ลูกมีโอกาสจะแพ้ได้สูง คือ ถั่ว ไข่ อาหารทะเล และแป้งสาลี จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มเสี่ยงด้วยเมื่อลูกเริ่มทานอาหารเสริมได้ โดยหลักการเลี่ยงนั้น ควรรอจนลูกอายุ 2 ขวบ จึงค่อยลองให้ลูกรับประทานอาหารเหล่านี้ทีละอย่าง
วิธีบรรเทาการแพ้โปรตีนในนม
ในนมแม่มีภูมิคุ้มกัน ช่วยจับกับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารเหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การให้ลูกน้อยทานนมแม่จะช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้ และพบว่าถ้าลูกมีการติดเชื้อ หรือลำไส้อักเสบ จะทำให้รับสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น แม่จึงไม่ควรดื่มนมวัว มาก ทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะให้นมลูก การดื่มนมวัวมากไปจะเพิ่มโอกาสให้โปรตีนนมวัวผ่านแม่ไปกระตุ้นให้ลูกเกิดปัญหาการแพ้ได้
ทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กแพ้นมวัว
สำหรับการหลีกเลี่ยงอาการแพ้นมวัวของลูกน้อย คือการให้ลูกทานนมแม่ เพราะนมแม่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าคุณแม่ประสบปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอ นมแพะก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยนมแพะจะมีปริมาณโปรตีนก่อแพ้หรือเบต้าแลคโตกลอบบูลินน้อยกว่านมวัวถึง 3 เท่า นมแพะจึงมีโอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมวัว ซึ่งเบต้าแลคโตกลอบบูลิน คือโปรตีนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการ แพ้นมวัวร่างกายย่อยได้ยาก จึงเหลือตกค้างอยู่ในลำไส้เล็ก กลายเป็นสารก่อแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมาในลักษณะต่างๆ นมวัวมีเบต้าแลคโตกลอบบูลินนี้มากกว่า 3 เท่า จึงมีโอกาสแพ้นมวัวได้มากกว่า
นอกจากนี้ในนมแพะ ยังมีโปรตีน CPP (Casein phosphopeptides) หรือโปรตีนนุ่ม ซึ่งลักษณะอ่อนนุ่มนี้ เพราะนมแพะมีแอลฟาเอสวันต่ำ และมีเบต้าเคซีนสูง ซึ่งสัดส่วนเคซีนที่ใกล้เคียงกับนมแม่นี้ ทำให้นมแพะย่อยและดูดซึมได้ง่าย นอกจากนี้เคซีนยังจับกับแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม ที่อยู่ในนม และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ง่าย นอกจากนี้ นมแพะยังมีนิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ (Natural Nucleotide) 5 ชนิดที่เพิ่มภูมิคุ้มกัน มีโพลีเอมีนส์ ช่วยลดปฎิกิริยาของการแพ้อาหาร มีโกรทแฟคเตอร์ ชนิดไอจีเอฟวัน และทีจีเอฟ เบต้า ช่วยให้เกิดการพัฒนาของระบบลำไส้ และการย่อยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ครบถ้วนย่อยง่ายกว่า
อย่างไรก็ตาม โรคแพ้โปรตีนในนมวัว รวมทั้งการแพ้อาหารต่าง ๆ ของลูกนั้น เป็นโรคพิเศษที่เกิดขึ้นแก่ลูกก่อนอายุ 1 ขวบ และลูกจะหายจากการแพ้โปรตีนในอาหารที่กล่าวมาข้างต้นได้เกือบหมด เมื่อลูกมีอายุ 2 ขวบ มีเด็กบางคนเท่านั้นที่อาจจะหายช้ากว่าคนอื่น จึงควรให้แพทย์เป็นผู้ประเมินว่า ลูกหายขาดจากการแพ้นมวัวหรือแพ้อาหารแล้วหรือยัง ถ้ายังแพ้อยู่ก็ไม่ควรให้รับประทานอาหารนั้น ๆ เพราะถ้าฝืนให้ต่อไป จะทำให้ลูกเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรังและมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมได้