
เด็กมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางรายอาจเสียชีวิตก่อนเกิด บางรายเริ่มมีอาการ หรือตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด บางรายตรวจพบเมื่อออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด หรือมีอาการหลังอายุ 1-2 เดือน หรือหลังจากนั้น ในกรณีที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจในเด็ก โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถเกิดอาการได้ทุกอายุ แต่ที่พบมากมักอยู่ใน 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี และช่วงหลังคือหลังจากอายุ 5 ปีขึ้นไป
อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
– ชนิดที่เขียว จะมีลักษณะเขียวคล้ำและคุณพ่อ คุณแม่สามารถเห็นได้ง่าย และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเด็กร้องไห้ มักมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย เมื่อเด็กโตขึ้นจะพบลักษณะของนิ้วปุ่ม โป่งพองบริเวณปลายนิ้วมือและเท้า คล้ายกระบอง
– ชนิดที่ไม่เขียว มักจะมีอาการหอบเหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติ โดยเฉพาะเวลาดูดนมหรือวิ่งเล่นต้องหยุดหายใจแรงเป็นพัก ๆ หัวใจเต้นเร็ว การดื่มนมก็จะดื่มได้น้อย น้ำหนักขึ้นช้า ส่งผลให้เด็กตัวเล็ก เป็นหวัดบ่อยและเมื่อเป็นหวัดแล้วมักไม่ค่อยหาย มีโรคแทรกซ้อนทางปอดบ่อย ๆ
2.โรคหัวใจที่เกิดภายหลังการคลอด ชนิดที่ทำให้เกิดอาการตั้งแต่วัยเด็กและพบบ่อย คือ “โรคหัวใจรูห์มาติค” เป็นโรคลิ้นหัวใจพิการที่เกิดจากการอักเสบ มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่หัวใจ โดยเฉพาะตำแหน่งของลิ้นหัวใจ โรคนี้มักพบภายหลังการอักเสบของ คอ และต่อมทอนซิล ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวกสเตร็ปโตคอคคัส เมื่อเชื้อโรคนี้ทำอันตรายต่อร่างกายแล้ว กลับทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของตนเอง ทำให้เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และหากได้รับการรักษาในระยะแรกไม่ดีพอ ต่อมาอาจกลายเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ เหล่านี้เป็นสาเหตุใหญ่ของการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจภายหลังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
การรักษาโรคหัวใจในเด็ก