ทำอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้กลั้น

ทำอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้กลั้น


เด็กทารกบางคนหรือเด็กเล็กช่วงวัย 1 - 4 ปี บางคนเวลาร้องไห้ดูน่ากลัวจนพ่อแม่อดกังวลไม่ได้ นั่นเป็นเพราะหนูน้อย ร้องไห้กลั้น ทำให้มีอาการตัวเขียวคล้ำ อาการร้องไห้กลั้นถือเป็นพัฒนาการทางอารมณ์ที่กำลังแสดงออกของหนูน้อยว่าไม่พอใจมาก ๆ แล้วนะแม่

สาเหตุของการร้องไห้กลั้น

1.เป็นขั้นตอนที่ลูกน้อยกำลังเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

2.พ่อแม่อาจเลี้ยงดูแลปกป้อง ตามใจลูกมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงวัย 1-4 ปีนั้นจะพึงพอใจกับการถูกตามใจ หากเมื่อใดก็ตามลูกรู้สึกว่าถูกขัดใจ จนเกิดความโกรธหรือโมโหอย่างรุนแรง ยิ่งถ้าพ่อแม่ต้องการตัดปัญหาด้วยการตามใจ ซึ่งไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะ ลูกจะยิ่งได้ใจและจะแสดงอาการมากขึ้นเมื่อถูกขัดใจอีก

ผลของการร้องไห้กลั้นที่ส่งผลต่อลูก

1.ผลจากการตามใจเมื่อถูกขัดใจจะนำไปสู่อารมณ์เครียด เก็บกดในใจ เด็กบางคนเสดงอาการออกมาด้วยความรุนแรง เช่น กรีดร้อง และตามมาด้วยการกลั้นหายใจ

2.เมื่อลูกกลั้นลมหายใจ ร่างกายจะขาดออกซิเจนชั่วขณะ ส่งผลให้ลำตัวและริมฝีปากเขียวคล้ำ หากกลั้นหายใจนานเกินไป หนูน้อยอาจสลบไปเองเป็นอัตโนมัติ เมื่อคลายลมหายใจแล้วการทำงานของร่างกายจะกลับมาปกติดังเดิม

3.การกร้องไห้กลั้นแบบปกติ ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของสมองและไม่ทำให้เด็กเกิดอันตรายในด้านร่างกาย แต่ส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ ซึ่งจำเป็นต้องปรับวิธีการเลี้ยงที่ไม่ควรตามใจลูกจนเกินไป

4.การร้องไห้กลั้นแบบผิดปกติของขั้วหัวใจหรือระบบไหลเวียนโลหิต คนละประเด็นกันนะคะ เพราะการร้องไห้กลั้นเช่นนี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ วิธีสังเกตการณ์ร้องไห้กลั้นกรณีมีความผิดปกติทางร่างกาย คือ

ขณะที่ร้องไห้กลั้น ลูกจะมีอาการตัวเขียวคล้ำ

เวลาปกติหากมีกิจกรรมที่ต้องใช้แรง ลูกมักจะเหนื่อยง่ายผิดปกติ
เวลาที่เกิดอาการไม่สบายหรือเจ็บป่วย ลูกอาจจะมีอาการตัวเขียวคล้ำไม่เฉพาะเวลาที่ร้องไห้เท่านั้น
ลูกจะมีพัฒนาการทางร่างกายที่ไม่สมวัย ในด้านน้ำหนัก ส่วนสูง มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต หรือร่างกายไม่แข็งแรง

เด็กที่มีประวัติโรคลมชัก เวลาร้องไห้มักจะร้องไห้กลั้น ซึ่งเป็นคนละแบบกับการร้องไห้กลั้นปกติ หากเด็กร้องไห้แล้วสลบไปแต่ยังมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ แบบนี้ไว้ใจไม่ได้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนค่ะ

ทำอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้กลั้น
1.พ่อแม่ช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ลูกร้องไห้กลั้นได้ด้วยการปฏิบัติกับลูกอย่างอ่อนโยน เช่น อุ้มกอดไว้กับตัว พูดจาปลอบโยนให้ลูกคลายความกังวลหงุดหงิดใจ เบี่ยงเบนความสนใจ เช่น อุ้มออกไปนอกบ้านเดินเล่นสักพักชมนกชมไม้ให้ลูกเพลิดเพลิน สบายใจ

2.ห้ามดุ หรือต่อว่าลูกเด็ดขาดขณะที่ลูกร้องไห้กลั้น เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ลูกร้องไห้มากยิ่งขึ้นและจะกลั้นหายใจมากขึ้น

3.อย่าใช้วิธีตามใจตามที่ลูกเรียกร้องเพราะลูกจะเรียนรู้ว่า วิธีการร้องไห้กลั้นทำให้ลูกได้ในสิ่งที่ต้องการ เป็นการฝึกนิสัยเอาแต่ใจตนเองต่อไป

4.ในเวลาปกติ สอนลูกให้รู้จักการอดทนรอคอย ค่อย ๆ ฝึกไปทีละน้อย ด้วยความอดทน เช่น พ่อแม่อย่าเพิ่งรีบร้อนตอบสนองสิ่งที่ลูกต้องการในทันทีทันใด รอเวลาสัก 1 - 2 นาที หากลูกรอได้ ค่อย ๆ แอบเพิ่มเวลาเป็น 3 หรือ 4 หรือ 5 นาทีต่อไป เพื่อฝึกการรอคอยให้นานขึ้นจนเด็กสามารถปรับตัวได้

5.การเลี้ยงดูลูกและสอนให้รู้จักอดทน รอคอยได้นั้นพ่อแม่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชิน และพ่อแม่เองก็ต้องใช้ความอดทน อดกลั้นให้มาก เพราะช่วงแรก เรียกว่าช่วงวัดใจ พ่อแม่ต้องข่มและกลั้นความรู้สึกโกรธหรือโมโหให้ได้นะคะ และทำความเข้าใจว่า การร้องไห้กลั้นแบบปกตินั้นเป็นเรื่องของอารมณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาการเช่นนี้จะหายไปเมื่อลูกเติบโตขึ้นค่ะ

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี ดาราเดลี่


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์