ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด


แม่ท้องต้องรู้ก่อนผ่าคลอด ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียไหม และวิธีการดูแลแผลผ่าคลอด ต้องทำยังไง ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง
ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน มีวิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ ฟังคำตอบจากคุณหมอ

ผ่าคลอดแนวยาว กับผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

สำหรับการผ่าท้องคลอด การเปิดแผลหน้าท้องตามแนวขวาง หรือที่คุณแม่ชอบเรียกกันว่าแผลแนวบิกินี่ เป็นวิธีที่สูติแพทย์ส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิบัติ เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างเมื่อเทียบกับการเปิดแผลหน้าท้องตามแนวยาว เช่น อาการปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ความแข็งแรงและความสวยงามของแผลมากกว่า

แต่การเปิดแผลหน้าท้องตามแนวขวางก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ใช้ระยะเวลาในการเปิดแผลนานกว่า มีการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดและเส้นประสาทมากกว่า และไม่สามารถขยายแผลเพื่อเพิ่มบริเวณผ่าตัดได้ ดังนั้นในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ต้องให้ทารกคลอดโดยเร็ว การเปิดแผลหน้าท้องตามแนวยาวจึงอาจเหมาะสมกว่า

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด

สำหรับการดูแลแผลผ่าท้องคลอดนั้น มีวิธีการดังนี้

  1. หลังผ่าตัดได้ 1 วัน คุณหมอจะเริ่มให้คุณแม่เริ่มลุกนั่งและเดินได้ เพิ่อลดการเกิดพังพืดในช่องท้อง และลดอาการท้องอืด ในวันแรกคุณแม่จะยังเจ็บแผลอยู่ แต่ก็จะต้องพยายามขยับตัวและเดินบ่อยๆ
  2. อาการปวดแผล คุณแม่สามารถทานยาแก้ปวดตามที่คุณหมอส่งได้ และการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด จะช่วยลดอาการปวดแผลลงได้ด้วย
  3. ทานอาหารตามปกติในปริมาณที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องงดไข่ งดนม เพราะโปรตีนเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาแผลให้หายเป็นปกติ
  4. คุณหมอจะทำความสะอาดแผล และปิดแผลด้วยที่ปิดแผลกันน้ำ คุณแม่ไม่ต้องทำความสะอาดแผล ให้มาพบคุณหมออีกครั้งตามนัด แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในแผลหรือที่ปิดแผล ถ้าพบว่ามีน้ำซึมให้มาพบคุณหมอทันที
  5. ถ้ามีเลือด หรือน้ำเหลืองซึมมาที่ปิดแผลมากกว่า 1/3 ของแผ่น หรือปวดแผลมาก ให้มาพบคุณหมอทันที
  6. หลังแผลแห้งดีแล้ว คุณแม่สามารถใช้ยาทาหรือแผลเจลกันแผลเป็นได้
  7. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังกายที่ต้องเกร็งหน้าท้อง และอาจต้องระวังในการขับรถ เนื่องจากระหว่างขับรถคุณแม่อาจปวดแผลมาก และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
  8. หลังผ่าตัด 3-6 เดือน แผลผ่าตัดจะเริ่มแข็งแรงมาก คุณแม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  9. คุณแม่สามารถอยู่ไฟหลังผ่าท้องคลอดได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการประคบร้อนที่บริเวณแผลผ่าตัด โดยเฉพาะในช่วง 30 วันแรกหลังผ่าตัด

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์