แม่ท้องนอนไม่ค่อยหลับ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
แม่ท้องนอนไม่ค่อยหลับ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
แม่ท้องนอนไม่ค่อยหลับ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ไม่เคยรู้มาก่อนว่าการนอนหลับของคุณแม่จะส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดของลูกเลย
โรคนอนไม่หลับและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2007 ถึงปี 2012 จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ซานฟรานซิสโกและซานดิเอโก โดยเก็บข้อมูลจากแม่ท้อง 2,265 คน ที่ถูกวินิจฉัยว่ามีการนอนหลับที่ผิดปกติ เทียบกับแม่ท้องไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่ามีปัญหาด้านการนอนหลับ แต่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ มีความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติในการคลอดลูกก่อนกำหนด โดยพบว่าแม่ที่เป็นโรคนอนไม่หลับและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น อาจเสี่ยงคลอดลูกก่อนกำหนดได้
คุณแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด (ก่อน 37 สัปดาห์) ถึง 14.6% ส่วนคุณแม่ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนไม่หลับนั้น เสี่ยงน้อยกว่าเท่ากับ 10.9% แต่สำหรับกลุ่มคุณแม่ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น จะเสี่ยงสูงขึ้นอีกเกือบสองเท่าของคุณแม่ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ และอาจจะคลอดก่อน 34 สัปดาห์เลยนะคะ
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ที่นอนไม่หลับเป็นครั้งคราวจะเจอกับความเสี่ยงนี้ไปด้วยค่ะ
แม่ท้องส่วนใหญ่นอนหลับไม่สนิท
งานผลงานวิจัยพบว่า แม่ท้องถึง 75% ที่นอนหลับไม่สนิท เพราะต้องเจอกับอาการกรดไหลย้อน เป็นตะคริวที่ขา หรือปวดหลัง แม้กระทั่งต้องลุกขึ้นกลางดึกเพราะปวดปัสสาวะ กลับกันแม่ท้องที่มีการนอนผิดปกติคิดเป็น 14-50% ของแม่ตั้งครรภ์ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการวัดความผิดปกติของการนอนหลับ แต่กระนั้นยังมีแม่ท้องอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีปัญหาในการนอนหลับที่รุนแรง
คุณแม่มีปัญหาในการนอนหลับหรือไม่
>>>นอนหลับยากและนอนไม่ค่อยหลับมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
>>>ตื่นเร็วกว่าที่ตั้งใจหรือที่ต้องการมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
>>>รู้สึกหงุดหงิดและรำคาญจากอาการที่เกิดขึ้น
>>>ทำทั้งงานบ้านและงานนอกไม่สำเร็จ
>>>มีปัญหาด้านความสัมพันธ์
>>>ฉุนเฉียว
>>>เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้การนอนหลับส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดนั้นยังไม่แน่ชัด มีการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวินิจัยต่อไป แต่อาจจะเกิดขึ้นตัวชี้วัดจากการอักเสบก็เป็นได้ค่ะ
ควรรีบหาทางรักษา
หากคุณแม่มีความเสี่ยงดังกล่าว ควรรีบหาทางรักษา เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดของทารกนั้น สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของสุขภาพเจ้าตัวเล็ก นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอื่นที่บอกว่า ปัญหาการนอนหลับของคุณแม่นั้น อาจทำให้เกิดผลด้านลบอื่นๆ รวมทั้งการเจ็บปวดมากขึ้นในระหว่างที่คลอดลูก การเป็นภาวะซึมเศร้า การผ่าคลอด และน้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยเกินไปได้ค่ะ
>>>>>สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอน เช่น นอนในที่เย็นและมืด และทำจิตใจให้โล่งไม่คิดมากหรือวิตกกังวล
>>>>ผ่อนคลาย โดยการฟังเพลง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือเล่นโยคะสำหรับคนท้อง
รักษาภาวะกรดไหลย้อน โดยไม่กินอาหารก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง และงดอาการเผ็ดๆ มันๆ และมีฤทธิ์เป็นกรด
>>>>>ไม่บริโภคคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ หรือช็อคโกแลต
>>>>>ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา Whattoexpect