แผลผ่าคลอดแนวตั้ง
ข้อดี
เป็นแนวแผลมาตรฐาน สามารถผ่าตัดอวัยวะอื่นในช่องท้องได้ด้วย
ใช้เวลาในการผ่าตัดเพื่อเข้าสู่ช่องท้องได้เร็วกว่า เหมาะสมในรายที่ต้องการความเร่งด่วนในการคลอด
ข้อเสีย
เจ็บแผลผ่าตัดมากกว่า เนื่องจากมีบาดแผลในแนวตั้ง ทำให้เวลาลุกขยับตัวยาก
ฟื้นตัวช้ากว่า
มีแผลเป็นมากกว่า
เห็นรอยแผลได้ชัดเจน ไม่สามารถใส่เสื้อเปิดพุงได้
แผลผ่าคลอดแนวนอน
ข้อดี
เจ็บแผลผ่าตัดน้อยกว่า เนื่องจากมีบาดแผลแนวนอนตามรอยพับของหน้าท้อง ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่าเวลาขยับลุก
มีแผลเป็นน้อยกว่า เพราะลงมีดตามแนวของรอยพับผิวหนัง
สามารถปิดบังแผลได้ดีในกรณีที่ใส่เสื้อเปิดพุง
ข้อเสีย
ใช้เวลาในการผ่าตัดเข้าสู่ช่องท้องนานกว่า เหมาะสมกับการผ่าตัดคลอดที่ไม่เร่งด่วนมาก
ผ่าตัดได้ยากกว่า โดยเฉพาะกรณีที่มีพังผืดในช่องท้องร่วมด้วย
ช่วยคลอดทารกได้ยากกว่า เนื่องจากรอยแผลอยู่ต่ำ เพิ่มการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดศีรษะทารก
หากมีการผ่าตัดอื่นในช่องท้องร่วมด้วยจะทำได้ยากกว่า
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลมากกว่า เช่น ก้อนเลือดค้างในผนังหน้าท้อง
ส่วนใหญ่สูติแพทย์จะเป็นผู้กำหนดแนวการลงแผลผ่าตัดคลอด ในทางปฏิบัตินิยมลงแผลแนวนอนมากกว่าด้วยเหตุผลของความสวยงามเป็นหลัก แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นอาจจะเลือกลงแผลแนวตั้งตรงได้โดยควรแจ้งให้คุณแม่ทราบก่อนล่วงหน้า ในกรณีที่มีแผลเดิม มักจะเลือกลงแผลตามแนวเดิม โดยตัดเนื้อเยื่อแผลเป็นเก่าออกก่อน แล้วจึงทำการผ่าตัดคลอดตามปกติ การผ่าตัดคลอดเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวอีกต่อไป เมื่อคุณแม่ทราบข้อดี ข้อเสียดังกล่าว คุณแม่อาจมีส่วนร่วมกับแพทย์ในการพิจารณาเลือกแนวแผลผ่าคลอดที่เหมาะสมต่อไป
ผ่าคลอดแนวตั้ง คือการลงแผลในแนวดิ่งที่ผนังหน้าท้องช่วงล่างตรงแนวกลางลำตัว ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าสะดือยาวลงมาจนถึงระดับเหนือกระดูกหัวหน่าวเล็กน้อย ความยาวแผลประมาณ 10 เซนติเมตร การลงแผลแนวนี้จะผ่านเนื้อเยื่อหลายชั้น จนสามารถเข้าช่องท้องได้ง่าย
ผ่าคลอดแนวนอน เป็นที่นิยมกว่า สวยงามกว่า กระทำโดยการลงแผลแนวขวางที่ผนังหน้าท้องด้านล่าง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ตรงตำแหน่งรอยพับของหน้าท้องหรือระดับประมาณ 2 เซนติเมตรสูงจากขอบบนของกระดูกหัวหน่าว ขั้นตอนการผ่าจะซับซ้อนกว่าเล็กน้อย