1. Vernix caseosa เป็นไขมันที่ปกคลุมร่างกาย ทารกแรกเกิด สร้างจากต่อมไขมันและมีส่วนประกอบ คือ สารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ขี้ผึ้ง ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล
2. มีหน้าที่ปกป้องผิวหนังแรกเกิดของทารกทั้งที่คลอดจากคุณแม่ทั้งทางช่องคลอดและการผ่าท้องคลอด
3. ทารกที่คลอดครบกำหนดตามปกติ ร่างกายจะผลิตไขในปริมาณที่พอดีที่จะปกป้องผิวหนัง เวอร์นิกซ์ยังทำหน้าที่คล้าย ๆ กับฉนวนปกป้อง เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิที่อบอุ่นในมดลูก สู่โลกภายนอกที่เย็นกว่าในมดลูกของแม่ ส่วนในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปริมาณที่น้อยกว่า
4. การมี Vernix cereosa หรือไขทารกแรกเกิดปกคลุมผิวหนัง จะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ป้องกันการระเหยของน้ำออกทางผิวหนัง และยังมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
5. บริเวณผิวของทารกนอกจากมีไขทารกแรกเกิดแล้ว ยังมีเลือด ขี้เทา และเซลล์ต่าง ๆ ที่ตายแล้ว โดยปกติเราจะเช็ดไขและทำความสะอาดทารกบริเวณตัวทารกออกหลังคลอด แต่มีการวิจัยบางชนิดที่สนับสนุนว่า ไขมันช่วยปกป้องผิวหนังในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และไม่จำเป็นต้องเช็ดออกทันที
6. ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบเช็ดล้างไขทารกแรกเกิดที่ติดตัวลูกออกไป เพราะมันจะหลุดลอกออกไปเองภายใน 2-3 วัน จากนั้นลูกน้อยจะค่อย ๆ สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแทนที่ในเวลาไม่นาน การไปถูไขแรง ๆ เพื่อให้ไขทารกแรกเกิดนี้หลุดอาจจะทำให้ผิวบอบบางของลูกเป็นแผลได้
7. กรณีไขติดที่ศีรษะของทารก หลังจากที่ไขทารกแรกเกิดหลุดออกหมดแล้ว แต่ไขยังมีติดที่ศีรษะ มีวิธีทำความสะอาดมาแนะนำค่ะ คุณแม่ลองใช้น้ำมันมะกอกหรือเบบี้ออยล์นวดศีรษะของทารก โดยเฉพาะตรงที่เป็นคราบ ทิ้งเอาไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ให้น้ำมันซึมเข้าไปในสะเก็ดแห้งๆ แข็งๆ ให้นุ่ม แล้วจึงเอาลูกไปสระผม ค่อยๆ บรรจงถูเบาๆ นะคะ เพื่อให้คราบหลุดออก ที่สำคัญคือ คุณแม่อย่าเอามือไปแกะเกาเด็ดขาดเพราะจะทำให้ทารกน้อยเป็นแผลได้