วิตามินเสริมจำเป็นแค่ไหนขณะตั้งครรภ์

วิตามินเสริมจำเป็นแค่ไหนขณะตั้งครรภ์

สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภืกังวล มากที่สุดคือ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ 

โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์ของร่างกายและมันสมองของลูก คุณแม่ส่วนใหญ่บำรุงครรภ์มุ่งเน้นไปที่ น้ำหนักทารกในครรภ์ และ ความฉลาดของทารกในครรภ์  ซึ่งแท้จริงแล้ว อาหารก็มีส่วนสำคัญในเรื่องดังกล่าว แต่ กรรมพันธุ์ ก็มีอิทธิพลในเรื่องดังกล่าวมาก ถึง 50 เปอร์เช็นต์เช่นกัน แม่ๆ อย่าลืมเรื่องนี้กันนะคะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะรับประทานวิตามินบำรุงหรือไม่ อย่างไร 

คำตอบ คือ คุณแม่ควรรับประทานวิตามินค่ะ แต่ควรเป็นไปตามแผนการรักษาของสูติแพทย์เท่านั้น ระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะจ่ายยาบำรุงครรภ์ตามความเหมาะสมของช่วงอายุครรภ์นั้นๆให้กับแม่ตั้งครรภ์ทุกคน เพราะนั้น หากนอกเหนือจากที่แพทย์กำหนด ไม่ควรรับประทาน เพราะวตามินเสริมต่างๆ มีในอาหาร 5 หมู่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานในแต่ละมื้ออยู่แล้ว
วิตามินที่สำคัญในระหว่างตั้งครรภ์ได้แก่ …

1. กรดโฟลิก หรือโฟเลท (folic acid/folate) เรียกอีกอย่างคือ วิตามิน บี9 มีความำคัญอย่างไรกับแม่ตั้งครรภ์

  • กรดโฟลิกสามารถป้องกัน ความพิการของทารกในครรภ์ได้ แต่ การป้องกันความพิการจะได้ผลสูงสุดก็ต่อเมื่อได้รับการเสริมโฟลิกตั้งแต่ 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ไปจนถึง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เท่านั้นค่ะ
  • ผู้หญิงที่กำลังวางแผนจะมีบุตร ควรหามาติดบ้านไว้เลย หากพบว่าตั้งครรภ์สามารถรับประทานก่อนไปฝากครรภ์ได้เลยค่ะ
  • ขนาดรับประทาน คือ 0.4 มิลลิกรัม ต่อ วัน ซึ่งจะพบได้ในวิตามินรวมหลายๆชนิด
    หรือ อาจเลือกรับประทานเฉพาะโฟลิกตัวเดี่ยวก็ได้
  • โฟลิคมีขายทั่วไป แต่ควรหาซื้อกับเภสัชกรประจำร้านขายยา มีขนาดเดียวคือ 5 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด
  • โฟลิคในอาหารมีเช่นกัน เช่น กุยช่าย ตำลึง ผักกาดหอม กะหล่ำมะเขือเทศ บรอคโคลี่ คึ่นช่าย ถัวงอก ถั่วเหลือง ถั่วเขียวตับไก่ ตับวัว ตับหมู ส้ม องุ่น สตรอเบอรี่ ค่ะ

2.ธาตุเหล็ก (Iron supplement) ประโยชน์ของธาตุเหล็กต่อแม่ตั้งครรภ์ คือ

  • ธาตุเหล็กจะเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ในการลำเลียงขนส่งออกซิเจน (Oxygen) ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายให้สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • หากแม่ตั้งครรภ์มีระดับค่าฮีโมโกลบินี่ต่ำ อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อย ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ระหว่างการตั้งครรภ์แนะนำให้รับประมานธาตุเหล็กประมาณ 27 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการรับประทานจากอาหารจะไม่เพียงพอ จึงจำเป็นจะต้องได้รับธาตุเหล็กเสริม
  • คุณแม่ที่ไปฝากครรภ์ทุกคน แพทย์จะให้ธาตุเหล็กมารับประทาน แต่ธาตุเหล็กอาจจะกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ในรายที่มีอาการแพ้ท้อง อาจได้รับธาตุเหล็ก หลังจากที่หายแพ้ท้องดีแล้ว
  • เคล็ดลับ ในการรับประทานธาตุเหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ ธาตุเหล็กจะดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซี เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว
  • ข้อควรรู้ ธาตุเหล็กถูกดูดซึมน้อยลง ถ้ารับประทานร่วมกับกาแฟ ชาและนม ควรรับประทานห่างจากอาหารเหล่านี้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงจะดีที่สุดค่ะ

3.แคลเซียม (Calcium) ประโยชน์ของแคลเซี่ยมต่อแม่ตั้งครรภ์ คือ

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการแคลเซี่ยมมากกว่าคนปกติ เพราะทารกในครรภ์จะดึงเเคลเซี่ยมจากร่างกายของแม่ไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆภายในร่างกาย
  • ร่างกายเเม่ตั้งครรภ์ต้องการแคลเซี่ยมวันละ 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มนม เพื่อให้ได้รับแคลเซี่ยม วันละ 1- 2แก้ว ไม่ควรดื่มมากเกินความจำเป้นเพราะทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการแพ้นมวัวได้
  • หากคุณแม่ดื่มนมถั่วเหลืองจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น เพราะ นมถั่วเหลืองให้แคลลเซี่ยใน้อยกว่านมวัว ครึ่งหนึ่ง แนะนำให้รับประทานรสจืด

แม่ตั้งครรภ์สามารถรับประทานแคลเซี่ยมจากธรรมชาติชดเชยได้หากไม่ชอบดื่มนม และต้องการเลี่ยงการดื่มนมวัว เนื่องจากกลัวลูกแพ้นมวัว อาหารเเคลเซี่ยมสูงเช่น  ผักคะน้า  บล็อโคลี่ เมล็ดงาทุกสี ข้าวโอ๊ด ถั่วขา ปลาซาร์ดีนสด(งดอาหารกระป๋อง) เต้าหู้ ใบยอ ใบชะพลู เห็ด มะขามสด ยอดแค ผักกะเฉด สะเดา ค่ะ

4.วิตามินรวม (Multivitamin supplement)  ประโยชน์ของวิตามินรวมต่อแม่ตั้งครรภ์ คือ

  • วิตามินรวมอาจไม่จำเป้นในคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกราย แพทย์จะพิจารณาเฉพาะบุคคลค่ะ บางคนอาจไม่ไดก้รับ บางคนอาจได้รับในอายุครรภ์ที่แตกต่างกันออกไป
  •  หากรับประทานอาหารครบ5 หมู่ และหลากหลาย  การรับประทานวิตามินรวมเสริมก็อาจจะไม่จำเป็นค่ะ

อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณแม่หลายๆคนก็ยังมีข้อสังสัยอยู่ดีว่า ทำไมไม่ได้ยาครบทุกตัวตามที่กล่าวถึงข้างต้น และ ชื่อยา เม็ดยา ไม่เหมือนกันกับเเม่ตั้งครรภ์คนอื่นๆ 

อธิบายข้อสงสัยได้ดังนี้ค่ะ ลักษณธของเม็ด สี ชื่อของยาอาจไม่เหมือนกัน เนื่องจาก แต่ละโรงพยาบาล โดยเฉพาะคลินิค จะซื้อยาจากคนละบริษัทกัน สีและชื่อทางการค้าจึงแตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละบริษัทจะตั้งชื่อยาแตกต่างกัน แต่จะชื่อสามัญของยากำกับไว้ที่ข้างขวด / กล่อง /ภาชนะที่บรรจุค่ะ แม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องกังวลว่า ยาปลอดภัยหรือไม่ เพราะสูติแพทย์ย่อมตรวจเช็คยาเหล่านั้นดีแล้วก่อนจ่ายให้กลับไปรับประทานที่บ้าน และที่ได้ยาไม่ครบทุกตัว เนื่องจากสูติแพทย์พิจารณาตามสุขภาพแม่ตั้งครรภ์เป้นหลัก หากไม่จำเป็นอาจไม่ต้องใช้ยานั้นๆค่ะ นั่นหมายถึงคุณเป็นแม่ตั้งครรภ์ที่สุขภาพดีมากๆเลยนะคะ


ขอบคุณที่มาจาก mamaexpert

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์