Q&A เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้! เกี่ยวกับ COVID-19

Q&A เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้! เกี่ยวกับ COVID-19


คำแนะนำ เนื่องจากโรค COVID-19 เป็นโรคติดเชื้อที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่และมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคยังมีจำกัด รวมถึงแนวทางการดูแลรักษาสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพบข้อมูลใหม่ ดังนั้นทุกคนจึงควรติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยมากที่สุด

ไวรัสโคโรน่า (Coronavirus) คืออะไร?
Coronavirus เป็นชื่อตระกูลไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในคนและสัตว์ เช่น อูฐ, สัตว์ในปศุสัตว์, แมว และค้างคาว เป็นต้น โดยการติดเชื้อในคนส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง มีอาการคล้ายเป็นโรคหวัดทั่วไป (common cold) คือ มีไข้ ไอ จาม เป็นต้น

แล้ว COVID-19 คืออะไรกันแน่?
COVID-19 ก็เป็นหนึ่งในเชื้อไวรัสตระกูล Corona ซึ่งพบการติดเชื้อได้บ่อยในคนและสัตว์ แต่เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่สายพันธุ์ที่สามารถติดต่อจากสัตว์มาทำให้เกิดโรคในคนได้ โดย COVID-19 จะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งในอดีตเราก็เคยพบการติดต่อของเชื้อไวรัส Corona จากสัตว์มาสู่คนจนเกิดการระบาดที่รุนแรงมาแล้ว อย่างเช่น การระบาดของเชื้อ MERS-CoV และ SARS-CoV ซึ่งการระบาดในปัจจุบันก็คล้ายเคียงกันกับในอดีต เพียงแต่เกิดจากเชื้อไวรัส COVID-19 หรือชื่อเต็มคือ SARS-CoV-2 นั่นเอง

COVID-19 จะส่งผลกับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร?

ปัจจุบันมีรายงานการติดเชื้อ COVID-19 ในสตรีตั้งครรภ์ไม่มากนัก โดยพบหลักฐานที่มีรายงานทางการแพทย์ ดังนี้

-ไม่พบหลักฐานว่าสตรีตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าคนทั่วไป

-ไม่พบหลักฐานว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการแตกต่างจากคนทั่วไป หรือมีความเสี่ยงสูงที่โรคจะรุนแรงกว่า แต่แนะนำว่าสตรีตั้งครรภ์ยังควรระวัง
-การติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งสตรีตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่เมื่อเป็นโรคจะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป

-ไม่พบหลักฐานว่าการติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือสุขภาพของทารกในครรภ์และทารกหลังคลอด

-ไม่พบหลักฐานว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 สามารถแพร่เชื้อ COVID-19 ไปยังทารกในครรภ์หรือทารกหลังคลอด โดยไม่สามารถตรวจพบเชื้อ COVID-19 จากน้ำคร่ำ, เลือดจากสายสะดือทารก, สารคัดหลั่งในช่องคลอด, สารคัดหลั่งที่ป้ายจากลำคอทารกแรกเกิด หรือน้ำนม

-สตรีหลังคลอดที่ติดเชื้อ COVID-19 สามารถให้นมบุตรได้ แต่ต้องระวังการแพร่เชื้อไปยังทารก โดยการล้างมือก่อนสัมผัสทารก, ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ให้-นมบุตร, ในกรณีที่ใช้เครื่องปั๊มนม ให้ล้างมือก่อนสัมผัสขวดนมหรืออุปกรณ์ต่างๆ และทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกอย่างหลังการใช้งาน หรืออาจพิจารณาให้คนอื่นใน-ครอบครัวหรือพี่เลี้ยงที่มีสุขภาพแข็งแรงนำนมแม่ที่ปั๊มมาป้อนให้ทารกแทน

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรป้องกันตัวเองจากเชื้อ COVID-19 อย่างไร?

-ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันโรค COVID-19

-การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะสัมผัสเชื้อ COVID-19 โดยการ

-หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่น (social distancing) ควรอยู่ห่างกันประมาณ 6 ฟุต (180 ซม) ขึ้นไป

-สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสถานที่สาธารณะ
ล้างมือทำความสะอาดบ่อยๆ โดยการใช้สบู่ล้างมือเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังการเดินทางไปยังสถานที่สาธารณะ หรือหลังการไอ จาม

-หากใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ควรมีความเข้มข้นอย่างน้อย 70% และเช็ดถูให้ทั่วทั้งมือจนกว่าจะรู้สึกแห้ง

-หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้า, ตา, จมูก และปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ายังไม่ได้ล้างทำความสะอาดมือ

-หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือสัมผัสบุคคลที่กำลังป่วย หรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ COVID-19

-ทำความสะอาดสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อยๆทุกวัน เช่น โต๊ะ, ลูกบิดประตู, สวิตช์ไฟ, โทรศัพท์, คอมพิวเตอร์, ห้องน้ำ เป็นต้น

เชื้อ COVID-19 แพร่กระจายจากคนสู่คน (person-to-person) เป็นส่วนใหญ่
-เชื้อ COVID-19 จะอยู่ในละอองน้ำมูกและน้ำลาย ซึ่งออกมาเวลาไอ จาม
-ละอองน้ำมูกและน้ำลายเหล่านี้ สามารถเข้าไปในปากหรือจมูกของคนอื่นที่อยู่ใกล้ หรืออาจถูกสูดหายใจเข้าลงในปอดได้

คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ COVID-19 หรือไม่?

-กรณีที่มีอาการเจ็บป่วย ไข้ ไอ หายใจติดขัด เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษา ในรายที่ต้องสงสัยการติดเชื้อ COVID-19 แพทย์จะส่งตรวจหาเชื้อไวรัสทันที

-กรณีที่ไม่มีอาการเจ็บป่วย แพทย์จะประเมินว่าเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงหรือไม่ ถ้าใช่จะได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัส

-ผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้สัมผัสที่มีโอกาสสูงในการรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วย ประกอบด้วย

   -ผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามรดจากผู้ป่วยโดยไม่มีการป้องกัน เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย

   -ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ในรถปรับอากาศ ห้องปรับอากาศ ร่วมกับผู้ป่วยและอยู่ห่างจากผู้ป่วยไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 15 นาที โดยไม่มีการป้องกัน

-กรณีที่เป็นผู้มีความเสี่ยง โดยการมีประวัติในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
  -มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจาก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรค COVID-19

   -มีผู้ที่อยู่อาศัยร่วมบ้านเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรค COVID-19
   
   -เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

    -มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเข่าข่ายหรือยืนยันโรค COVID-19

-สามารถตรวจหาเชื้อ COVID-19 ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ทั่วประเทศไทย

-การตรวจจะเป็นการใช้ไม้สอดเข้าไปภายในโพรงจมูกและลำคอ ป้ายเอาสารคัดหลั่งมาตรวจหาเชื้อ

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อ หมอจะทำอย่างไร?

สูติแพทย์จะให้การดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ทุกคนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดตามมาตรฐานเหมือนปกติ

การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะไม่แตกต่างจากสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ

แต่ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ทุกคน สูติแพทย์จะมีการเพิ่มความระมัดระวังการสัมผัสหรือแพร่เชื้อ COVID-19 ระหว่างการตรวจครรภ์และการทำคลอด ตามนโยบายการดูแลรักษาในปัจจุบัน

วิธีการคลอดให้เป็นไปตามข้องบ่งชี้ทางการแพทย์ ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าท้องคลอด

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์