รู้จัก “ภาวะครรภ์เสี่ยง”…เพิ่มความใส่ใจคุณแม่ตั้งครรภ์

รู้จัก “ภาวะครรภ์เสี่ยง”…เพิ่มความใส่ใจคุณแม่ตั้งครรภ์


ช่วงตั้งครรภ์ นอกจากสภาพด้านอารมณ์ของมารดาที่ต้องใส่ใจแล้ว "ภาวะครรภ์เสี่ยง" คืออีกภัยอันตรายที่อาจส่งผลร้ายต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้

 บทความนี้จึงเป็นสิ่งที่ทั้งคุณแม่และผู้ใกล้ชิดควรรู้ไว้ เพื่อการใส่ใจและคอยสังเกตข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติ...ก่อนสายเกิน

ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

-เคยมีประวัติการตั้งครรภ์
-ทารกเสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด
-เคยแท้งบุตร
-เคยคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์)
-เคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน (น้อยกว่า 2500 กรัม) หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน (มากกว่า 4000 กรัม)
-เคยตั้งครรภ์ มีภาวะครรภ์เป็นพิษ

***ปัจจัยเกี่ยวกับมารดา***

-มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ โลหิตจาง โรคลมชัก วัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี หัดเยอรมัน

-ลักษณะรูปร่างของมารดา เช่น ตัวเล็ก เชิงกรานแคบ ตัวเตี้ยส่วนสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตร

-อายุน้อยกว่า 15 ปี อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

***ความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์แฝด ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ มีเนื้องอกมดลูก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โลหิตจาง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ***

วิธีการประเมินภาวะครรภ์เสี่ยง
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์ทันทีที่ทราบ เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้รับการดูแล ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ทั้งได้รับคำแนะนำจากแพทย์พยาบาลในเรื่องการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์รวมทั้งได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ เพื่อการวางแผนการรักษาดูแลภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดเพื่อจะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับคุณแม่และลูกน้อย เมื่อฝากครรภ์แพทย์จะประเมินภาวะครรภ์เสี่ยง ดังนี้

-การซักประวัติ สอบถามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อคำนวณอายุครรภ์และกำหนดวันคลอด การสอบถามประวัติ โรคประจำตัว ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อน การแพ้ยา แพ้อาหาร

-ตรวจร่างกายทั่วไป ดูภาวะซีดเหลือง อาการบวม

-การตรวจเลือด เพื่อดูหมู่เลือด โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี ภาวะซีด

-การตรวจปัสสาวะ ดูน้ำตาลและโปรตีน

-วัดความดันโลหิต

-ตรวจยอดมดลูก เพื่อประเมินขนาดทารกในครรภ์

-การตรวจอัลตร้าซาวนด์ เพื่อดูความผิดปกติของทารก น้ำคร่ำ และรก

-ชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

-วัดส่วนสูง เพื่อประเมินความเสี่ยงของการคลอดโดยเฉพาะคุณแม่ตัวเล็ก ตัวเตี้ย อุ้งเชิงกรานแคบ คลอดยาก

อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ มีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เราจึงควรให้ความสนใจเพื่อการเฝ้าระวังวางแผนการป้องกัน และแก้ไขได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป้าหมายเพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารก ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่

ครรภ์เป็นพิษ

เป็นภาวะ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ มีความดันโลหิตสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) ร่วมกับมีโปรตีนไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ ทำให้ มีอาการบวมที่หน้า มือ ขา เท้า บางคนปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจชัก เส้นเลือดในสมองแตก อาจทำให้เสียชีวิต เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย

สาเหตุ :
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบในคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์แฝด คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

การรักษา :
แพทย์มีการให้ยาควบคุมความดัน ยาป้องกันการชัก ยุติการตั้งครรภ์ในเวลาที่เหมาะสม เฝ้าระวังด้วยการ การตรวจวัดความดัน และตรวจปัสสาวะสม่ำเสมอ

ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy)

เป็นความผิดปกติ ระหว่างปฏิสนธิ ไม่ได้เป็นตัวอ่อนแต่กลายเป็นถุงน้ำเล็กๆ มีลักษณะเหมือนไข่ปลาจำนวนมาก อยู่ในถุงน้ำ เนื่องมาจากไข่ของฝ่ายหญิงไม่มีโครโมโซมเพศ ทำให้มีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ตกเลือด และอาจช็อกหมดสติ

สาเหตุ :
ยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงจาก สตรีตั้งครรภ์อายุมาก สูบบุหรี่ ตั้งครรภ์แรก เป็นต้น

รักษา :
ด้วยการให้ยุติการตั้งครรภ์ ด้วยการใช้เครื่องดูดออกหรือขูดมดลูก

ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa)

เป็นภาวะที่รกเกาะอยู่ในตำแหน่งผิดปกติ มีบางส่วนของรกปิดบริเวณปากมดลูก ซึ่งโดยปกติรกจะเกาะที่ส่วนบนของมดลูก ทำให้ มีเสียเลือด มีเลือดออกทางช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยง :
จากมารดาอายุมากกว่า 35 ปี เคยขูดมดลูก เคยผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ตั้งครรภ์แฝด ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ

การรักษา :
ถ้าเลือดออกไม่มาก ให้พักผ่อน งดทำงานหนัก ให้ธาตุเหล็ก อาจต้องผ่าตัดทำคลอดในขณะที่อายุครรภ์ยังไม่ครบ

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

เป็นภาวะที่ มารดาตั้งครรภ์มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยที่ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อน เนื่องจากฮอร์โมนจากรกมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ มีผลทำให้ ทารกมีรูปร่างอ้วนใหญ่ คลอดยาก เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด บางรายทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง ทารกตัวเล็กกว่าปกติ อาจเสียชีวิตในครรภ์

ปัจจัยเสี่ยง : มารดามีน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์ เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ เคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม มีความดันโลหิตสูง มีญาติเป็นโรคเบาหวาน

การรักษา :
การควบคุมอาหาร การให้อินซูลิน ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion)

เป็นภาวะที่การตั้งครรภ์มีเลือดออกจากโพรงมดลูก ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น ทารกพิการแต่กำเนิด มีความผิดปกติของโครโมโซม ความผิดปกติของฮอร์โมน การสูบบุหรี่ มารดามีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง มีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอย ทางช่องคลอด ปวดท้องน้อย

การรักษา : แพทย์ตรวจด้วยอัลตร้าซาวนด์ ตรวจฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (HCG) ถ้าตัวอ่อนเสียชีวิต ฮอร์โมนจะต่ำลง จะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ด้วยการแท้ง แต่ถ้าตัวอ่อนยังมีชีวิต จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แพทย์อาจให้ฮอร์โมนป้องกันแท้ง ให้นอนพักมากๆ งดเพศสัมพันธ์ ห้ามทำกิจกรรมหนักๆ และงดกิจกรรมที่ต้องมีการเกร็งหน้าท้อง

อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ที่ควรพบแพทย์

-จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้อง

-มีเลือดออกทางช่องคลอด

-ปวดศีรษะบ่อย ตาพร่ามัว

-มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ขา เท้า

-มารดาน้ำหนักเพิ่มมากเกินไป น้ำหนักน้อยเกินไป

ช่วงตั้งครรภ์ นอกจากสภาพด้านอารมณ์ของมารดาที่ต้องใส่ใจแล้ว "ภาวะครรภ์เสี่ยง" คืออีกภัยอันตรายที่อาจส่งผลร้ายต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้ บทความนี้จึงเป็นสิ่งที่ทั้งคุณแม่และผู้ใกล้ชิดควรรู้ไว้ เพื่อการใส่ใจและคอยสังเกตข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติ...ก่อนสายเกิน

การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เสี่ยง

-ควรฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ แจ้งประวัติโรคประจำตัว ของตนเองและประวัติเจ็บป่วยของครอบครัว ให้แพทย์ทราบเพื่อประเมินภาวะครรภ์เสี่ยง และรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมตลอดอายุครรภ์ จากแพทย์และพยาบาล

-งดสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติด

-หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระทบต่อการตั้งครรภ์

-กรณีมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

-การออกกำลังกายสม่ำเสมอ สำหรับหญิงมีครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เป็นรายๆ ไป

-พักผ่อนให้เพียงพอ คลายเครียด

-รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด หากเป็นยาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

-พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และหากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้อง ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว ทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง ควรไปพบแพทย์ไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดนัดหมาย
ภาวะครรภ์เสี่ยง เป็นสัญญาณที่เตือนให้คุณพ่อคุณแม่ได้ตระหนักเพิ่มความใส่ใจ และเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ เพื่อให้มีความปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรง ของคุณแม่และลูกน้อย

ลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลงเมื่ออายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์