แม่ท้องเป็นเหน็บชา เพราะเด็กในท้องทับเส้นจริงหรือ

แม่ท้องเป็นเหน็บชา เพราะเด็กในท้องทับเส้นจริงหรือ


แม่ท้องเป็นเหน็บชา เพราะเด็กในท้องดิ้นทับเส้นจริงหรือ
ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องท้องส่วนใหญ่มักเกิดอาการเหน็บชาอยู่บ่อย ๆ หลายท่านมักจะเป็นเหน็บชาเวลานอน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อแม่และลูกในท้องไหม อีกทั้งยังได้ยินคนพูดว่า การที่คนท้องเป็นเหน็บชานั้นเป็นเพราะลูกในท้องดิ้นไปทับเส้น ก็เลยเกิดการเป็นเหน็บชาขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้ แม่ท้องเป็นเหน็บชา ไม่ได้มีสาเหตุมาจากลูกดิ้นแต่อย่างใด

สาเหตุที่ทำให้คนท้องเป็นเหน็บชา

การที่แม่ท้องชอบเป็นเหน็บชาอยู่บ่อย ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการกดทับ เหมือนกับการนั่งพับเพียบนาน ๆ โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวมากก็มักจะเกิดอาการได้เร็วกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อย อีกทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 กิโลกรัม ภายในเวลาพียง 8 - 9 เดือน ของคุณแม่ท้อง ก็เปรียบเหมือนคนที่อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว

และจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณกลางลำตัว จะเป็นการไปดึงรั้งกระดูกสะบัก และกระดูกสันหลังลงมา ทำให้แม่ท้องหลังแอ่นโดยไม่รู้ตัว และทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณกระดูกสะบัก ทำให้เกิดอาการนิ้วชา มือชา เวลานั่งหรือยืนนาน ๆ

อีกทั้งการกดประสาทบริเวณหลังและสะโพก ทำให้หลังและขาเกิดอาการชาได้ โดยเฉพาะหากแม่ท้องนั่งพับเพียบ กว่าจะรู้ตัวก็อาจลุกลำบาก หรือเซล้มในขณะลุกยืนขึ้นเพราะอาการเหน็บชาได้ ซึ่วคุณแม่ท้องต้องคอยระวังเป็นพิเศษ

แม่ท้องเป็นเหน็บชา เพราะเด็กในท้องทับเส้นจริงหรือ

คนท้องเป็นเหน็บชา อันตรายต่อสุขภาพไหม
อาการเหน็บชาที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม เพียงแต่อาจทำให้แม่ท้องเกิดความกังวลและมีอาการเจ็บแปลบ ๆ ได้

อันตรายอื่น ๆ จากอาการเหน็บชาตอนท้อง

อาการเหน็บชาตอนท้อง อาจทำให้เกิดอันตรายด้านอื่น ๆ ได้หากไม่ระวัง เช่น หากแม่ท้องถือกาน้ำร้อนอยู่ หรือถือชามน้ำแกงอยู่ หากเป็นเหน็บชาแล้วเคลื่อนไหวร่างกาย ก็อาจจะทำให้สิ่งของที่ถืออยู่ตกหล่น เพราะการเซจากอาการเหน็บชาได้

เป็นเหน็บชา ทำอย่างไรดี

อาการเหน็บชาที่เกิดขึ้นตอนนอน มักจะเกิดในขณะที่หลับสนิทและไม่ได้ขยับตัว ตอนเข้านอนแม่ท้องจึงควรจัดท่านอนที่ไม่เป็นการไปทับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และควรนอนตะแคงซ้าย เพื่อไม่ให้น้ำหนักครรภ์ไปกดทับกระดูกสันหลัง

นอกเหนือจากนั้น แม่ท้องควรใช้หมอนหนุนรองไว้ใต้ครรภ์อีกใบ เพื่อช่วยรับน้ำหนัก ไม่ให้ดึงรั้งกระดูกสันหลังลงมา หรือใช้หมอนข้างสอดไว้หว่างขา และกอดไว้เพื่อช่วยแบ่งเบาน้ำหนักตัวไม่ให้โถมลงมาบนครรภ์ ซึ่งเป็นการช่วยลดอาการเหน็บชาได้

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์