ลูกสำลักอาหาร เสี่ยงต่อโรคสมองตายจริงหรือ?
อาการสำลักอาหารมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มี 6 เดือน – 3 ปี เพราะเป็นวัยที่กำลังซน และยังเป็นวัยที่ฟันกรามยังงอกไม่เต็มที่ ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ละเอียด และทางเดินหายใจก็มีขนาดเล็ก ดังนั้นเสี่ยงมากที่จะมีสิ่งแปลกปลอมหรือแม้แต่อาหารชิ้นเล็กๆ เข้าไปอุดกั้นในช่องทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
อันตรายจากการสำลักจากสิ่งแปลกปลอม
- การสำลักทำให้เกิดการอุดกั้นของหลอดลมส่วนปลาย ปัญหาตามมาคือเกิดภาวะปอดแฟบ ปอดพอง หรือหอบหืดได้
- การสำลักทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ยิ่งวัยเด็กยิ่งอันตราย เพราะช่องทางเดินหายใจยังมีขนาดเล็ก
- การสำลักเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดโรคสมองตายได้ เพราะไม่มีช่องว่างให้ลมได้ผ่านเข้าไปหรือหายใจไม่สะดวก
- การสำลักทำให้เกิดการอุดกั้นการระบายของเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาการอักเสบติดเชื้อตามมา
วิธีป้องกันอาการสำลัก
1.คุณพ่อคุณแม่ห้ามนำอาหารที่มีเมล็ด ก้าง หรือเปลือกเหล่านี้มาให้ลูกทานเด็ดขาด เพราะเด็กในวัยนี้ยังเล็กเกินไปที่จะหยิบ หรือคายสิ่งแปลกปลอมออกมาได้เอง
2.การจัดข้าวของภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะเด็กจะชอบหยิบข้าวเข้าปาก และถ้ายิ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ยิ่งเสี่ยงต่อการกลืนและทำให้ไปอุดทางเดินหายใจได้
3.ลูกสำลักน้ำนม อาการนี้มักเกิดขึ้นบ่อยกับทารกที่ดูดนมแม่ อาจเป็นเพราะหิวหรือไม่เอาน้ำนมไว้ไม่ยอมกลืน จึงทำให้สำลักออกมาทางปากและจมูก ดังนั้นคุณแม่ต้องรีบให้ลูกนอนตะแคงแล้วตบหรือลูบหลังลูกเบาๆ เพื่อให้ลูกสำลักได้สะดวก
ที่มา : mumhelper.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!