มหาวิทยาลัยสโตนีบรูค ในสหรัฐอเมริกาฯ ตีพิมพ์บทความลงวารสารประสาทวิทยา ฉบับวันที่ 4 สิงหาคม บอกว่าการนอนตะแคงช่วยลดความเสี่ยงสมองเสื่อม พาร์กินสัน และโรคทางระบบประสาทอื่นๆ ได้ดีกว่าการนอนคว่ำหรือนอนหงาย เพราะว่าสมองของคนเรามีระบบกำจัดของเสียที่เรียกว่ากลิมพาติก (Glymphatic system) คอยควบคุมของเหลวในสมอง อาทิ น้ำหล่อเลี้ยงสมองและน้ำไขสันหลัง
เมื่อเรานอนหลับระบบกลิมพาติกจะช่วยให้น้ำในสมองชำระล้างอะมีลอยด์ (Amyloid) และโปรตีนเทา (Tau proteins) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และโรคระบบประสาทอื่นๆ ได้ดีกว่าช่วงเวลาที่เราลืมตามากนัก โดย ดร. Maiken Nedergaard ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมระบบประสาท จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา ทดลองผ่านการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ของหนูทดลองขณะนอนตะแคง นอนคว่ำ และนอนหงาย พบว่าระบบกลิมพาติกของหนูที่นอนตะแคงทำงานได้ดีกว่าหนูที่นอนหงายและนอนคว่ำ ทั้งนี้เพราะการนอนตะแคงช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและน้ำไขสันหลังนั่นเอง
ที่มา : mumhelper.com