ความซับซ้อนของการร้องไห้ในเด็ก
นักวิทยาศาสต์ยังใช้ความพยายามศึกษาทำความเข้าใจการสื่อสารในเด็ก ซึ่งเชื่อว่าพวกเขาสามารถตอบโต้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ เพียงแต่ว่ายังไม่สามารถสื่อความหมายออกมาเป็นคำพูดให้เราได้เข้าใจ เมื่อพัฒนาการเด็กเริ่มโตมากขึ้นทักษะทางด้านต่างๆ จึงเปลี่ยนแปลงไป การร้องไห้ก็จะกลายเป็นคำพูดอ้อแอ้และตามมาด้วยคำที่ชัดเจนและสามารถสื่อความหมายได้
การร้องไห้ในเด็กอาจจะเป็นเพียงความรู้อย่างหนึ่งเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ เมื่อใดก็ตามที่พวกเขารู้สึกหวาดกลัว เจ็บปวด เบื่อหน่าย หรือต้องการให้ใครเข้ามาสนใจ การร้องให้จะเป็นเพียงทางออกเดียวในขณะนั้น การแก้ปัญหาสำหรับพ่อแม่อาจจะเพียงแค่อุ้มลูกน้อยขึ้นมาปลอบเพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย พวกเขาก็จะสามารถหยุดร้องไปได้เอง แต่สำหรับในเด็กบางรายแม้ว่าจะพยายามปลอบหรือทำทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่สามารถทำให้หยุดร้องไห้ได้ เราเรียกอาการเช่นนี้ว่า "โคลิค" หรือภาวะร้องไห้ร้อยวัน อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่าเด็กจะร้องไห้โดยไม่หยุดไปอีกร้อยวัน แต่มันพวกเขาจะร้องติดต่อกันนาน บางคนร้องไห้โวยวายหลายชั่วโมงโดยไม่ยอมหยุด และส่วนมากจะชอบตื่นขึ้นมาร้องไห้ช่วงกลางดึก ทำให้พ่อแม่ต้องตื่นขึ้นมาหาทางออก ทำให้การพักผ่อนน้อยลง และเมื่อเกิดขึ้นบ่อยเข้าก็ทำให้เกิดความเครียดและกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของครอบครัวตามมา
ลักษณะการร้องไห้ในเด็กที่พ่อแม่ควรสังเกต
นักวิทยาศาสตร์แบ่งสัญญาณการร้องไห้ของเด็กออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือการร้องไห้ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ เป็นการเอาตัวรอดของเด็กและเกิดขึ้นโดยอัติโนมัติ เป็นสิ่งที่ถูกกระตุ้นโดยที่เด็กทารกไม่ได้บ่งบอกสัญญาณหรือความต้องการใดๆ ให้กับพ่อแม่ได้รับรู้ ซึ่งภาวะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดไปสักระยะหนึ่งจึงจะเข้าสู่การร้องไห้ในแบบที่สอง คือการร้องให้เพื่อแสดงควาหมายต้องการให้ผู้คนหันมาสนใจ เป็นพัฒนาการเด็กที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และพยายามร้องให้ด้วยโทนเสียงที่รู้สึกได้ถึงคลื่นความรบกวนต่อคนรอบข้าง ทำให้พ่อแม่ต้องคอยเข้ามาปลอบโยน เสียงร้องของเด็กจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกอย่างจะเดินหนีไปให้ไกลๆ หากเด็กยังไม่ยอมหยุดร้องเสียที
ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นการร้องไห้เมื่อเด็กรู้สึกเจ็บปวดขึ้นมา การร้องจะร้องเสียงดังจนพ่อแม่ตกใจ โดยมากมักจะร้องขึ้นมาแบบกระทันหัน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากความตกใจหรือเกิดอาการป่วยขึ้นมาทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายตัวและพยายามบอกกล่าวด้วยร้องไห้ออกมา หากเป็นการเจ็บป่วยเสียงร้องมักจะเบาและมีการหยุดเป็นพักๆ เนื่องจากเด็กจะรู้สึกเหนื่อยหอบ แต่ถ้าหากเกิดขึ้นจากความเจ็บปวดเสียงร้องจะแหลมเมื่อเปรียบเทียบกับเสียงกรีดร้องของวัยผู้ใหญ่
บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับเสียงร้องไห้ของเด็กมากเกินไป
แม้เสียงร้องไห้ของลูกน้อยจะเป็นสัญญาณที่พ่อแม่ควรสังเกต แต่ในบางครั้งที่พวกเขาร้องไห้เพื่อต้องการให้ใครสักคนเข้ามาปลอบประโลมอยู่ข้างๆ การอุ้มลูกน้อยขึ้นมาทุกครั้งจะทำให้เด็กติดนิสัย พวกเขาจะเข้าใจว่าการร้องไห้คือการแสดงออกที่จะได้รับความพึงพอใจกลับมา พฤติกรรมเช่นนี้หากเกิดขึ้นเพียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ พ่อแม่จะต้องหยุดเข้าไปอุ้มหรือปลอบเด็ก เมื่อพวกเขารู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถใช้ได้ผลอีก เด็กจะเรียนรู้และหยุดพฤติกรรมไปได้เอง
อย่างไรก็ตามพ่อแม่ก็ไม่ควรละเลยการร้องไห้ของลูกน้อยเสมอไป เพราะในบางครั้งพวกเขาอาจจะต้องการความอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัย การเข้าไปอุ้มบ้างเป็นครั้งคราวจึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่อย่าพยายามเข้าไปอุ้มทุกครั้งจนเด็กติดนิสัย เมื่อโตขึ้นมาพวกเขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจ และพยายามใช้วิธีเดิมๆ ในการแก้ปัญหาที่คิดว่ามันดีที่สุดสำหรับตัวเอง
อย่ารู้สึกว่าตัวเองผิดเมื่อลูกน้อยร้องไห้
พ่อแม่บางส่วนเมื่อได้ยินเสียงของลูกน้อยร้องไห้ออกมา กลับรู้สึกว่าตัวเองต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ รู้สึกกังวล เครียดและโทษตัวเองว่าเป็นคนที่ทำให้ลูกต้องร้องไห้ ในความเป็นจริงการร้องไห้เป็นเพียงธรรมชาติของเด็กทารก และไม่ใช่ความผิดของใครเลย
เมื่อพวกเขาเติบโตมากขึ้นเด็กจะค่อยๆ เรียนรู้การสื่อสารด้วยคำพูด และบอกกล่าวพ่อแม่ด้วยคำที่มีความหมาย การร้องไห้จะเป็นแค่เพียงการแสดงออกเพียงช่วงสั้นๆ ที่พ่อแม่ควรให้ความเข้าใจและไม่ควรจะจริงจังกับมันมากจนเกินไป