7 เหตุผล ทำไมคนไทยและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลูกน้อย

7 เหตุผล ทำไมคนไทยและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลูกน้อย


ในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ภาวะการมีลูกน้อยของคนไทยถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ยิ่งทำให้ปัญหาจากสังคมผู้สูงอายุรุนแรงขึ้น เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยอาจขาดแคลนแรงงาน และทำให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งในระดับประเทศและในระดับครอบครัวเป็นไปได้ยากขึ้น


รายงานเรื่อง "From cubs to ageing tigers: Why countries in Southeast Asia need to think about fertility rates before it's too late" ของ The Economist Intelligence Unit ได้ สรุปถึง 7 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทย รวมถึงอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเกิดน้อยลง ดังนี้

7 เหตุผล ทำไมคนไทยและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลูกน้อย


1. การส่งเสริมการคุมกำเนิดอย่างแพร่หลายในอดีต: ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2539 ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการคุมกำเนิดอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการคุมกำเนิดในครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งนโยบายในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้อัตราการเกิดในประเทศไทยลดลงอย่างมาก

และแม้ว่าหลังจากช่วงดังกล่าว อัตราเกิดในประเทศไทยก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2560 หญิงไทยหนึ่งคนเฉลี่ยมีลูกเพียง 1.58 คนเท่านั้น หรือพูดอีกอย่างก็คือ ครอบครัวสามีภรรยา 1 คู่ (2 คน) มีลูกเฉลี่ยเพียง 1.58 คน ซึ่งหมายความว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่ประชากรในประเทศไทยจะลดลง

2. ชาวต่างจังหวัดย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ค่าครองชีพสูง:เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้นเพื่อหารายได้ แทนที่จะเป็นแม่บ้านเช่นในอดีต บทบาทของการเป็นแม่และการเป็นแรงงานในตลาดแรงงานที่ไปด้วยกันด้วยยากนี้เอง ที่ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีลูกน้อยลง


7 เหตุผล ทำไมคนไทยและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลูกน้อย


3. ที่อยู่อาศัยในเมืองราคาแพงขึ้นจนแทบซื้อไม่ได้
: เมื่อเมืองอย่างกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัดทั้งหลายขยายตัว ราคาบ้านในจังหวัดเหล่านั้นก็แพงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในจังหวัดเหล่านี้หาที่อยู่อาศัยที่ใหญ่พอสำหรับการสร้างครอบครัวได้ลำบาก อาจต้องเช่าห้องหรือบ้านเช่าขนาดเล็กอยู่ ทั้งหมดนี้ทำให้การมีลูกเพิ่มหรือพาลูกมาอยู่ในเมืองด้วยเป็นเรื่องลำบากมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวนี้ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราเห็นครอบครัวในต่างจังหวัดจำนวนมากเป็นครอบครัวแหว่งกลาง นั่นคือมีเพียงปู่ย่าตายายอยู่กับหลาน ส่วนพ่อแม่ย้ายไปทำงานในพื้นที่อื่นที่เจริญกว่า


4. ผู้หญิงมีการศึกษาดีขึ้น จึงมุ่งทำงานหารายได้มากขึ้น และจำนวนมากก็ตัดสินใจเลื่อนการแต่งงานและมีลูกออกไป

7 เหตุผล ทำไมคนไทยและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลูกน้อย


5. พ่อแม่ยุคใหม่เน้นการมีลูกน้อยลง แต่เลี้ยงให้ดีขึ้นแทน: ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงบุตร 1 คนสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี แต่ที่นั่งในโรงเรียนรัฐคุณภาพก็มีจำกัด และการส่งลูกเรียนในโรงเรียนเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเหล่านี้ ทำให้หลายครอบครัวเลือกที่จะมีลูกน้อยคนลง เพื่อให้สามารถดูแลลูกที่มีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น


6. ความไม่เข้าใจว่ายิ่งอายุมาก ยิ่งมีลูกยาก: รายงานของ EIC ระบุว่า การตระหนักรู้เกี่ยวกับความสามารถในการมีลูกที่ลดลงพร้อมกับอายุที่มากขึ้นนั้นต่ำมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานดังกล่าวระบุว่าความสามารถในการมีลูกของผู้หญิงลดลงเรื่อยๆ พร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น โดยจะยิ่งลดลงเมื่ออายุถึง 32 ปี และเมื่อผู้หญิงอายุเกิน 37 ปี ความสามารถในการมีลูกจะยิ่งลดลงเร็วขึ้นไปอีก

7. ภาวะมีบุตรยากที่เพิ่มขึ้นทั้งชายและหญิง: มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ทั้งชายและหญิงในยุคนี้มีบุตรยากขึ้น โดยเกิดจากทั้งไลฟ์สไตล์ สิ่งแวดล้อม การกินอาหารที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ และอายุที่เพิ่มขึ้น

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์