เมื่อตอนหลานสาวหมออายุ 9 ขวบ
ตอนนั้นหลานหมอยังขี่จักรยานสองล้อไม่เป็น
“ทำไมหนูไม่ลองหัดดูล่ะคะ”
“ก็..กลัวล้มนี่คะ”
ตอนนั้นหมอคิดว่าจะสร้างแรงจูงใจอย่างไรให้หลานลองฝึกขี่จักรยาน
…ถ้าหนูลองฝึกดูน้าจะพาไปกินไอติม…..??
วิธีนี้เป็นเหมือนการบังคับทางอ้อม
ถ้าหลานทำตามก็คงเป็นผลจากแรงผลักจากภายนอก
ไม่ได้มาจากแรงผลักภายในที่จะเอาชนะความกลัว
หมอคิดว่าหลานโตพอที่จะเข้าใจความหมายเชิงนามธรรมแล้ว
หมอเลยบอกหลานว่า
“น้ารู้ว่าหนูคงกลัว”……(สะท้อนอารมณ์ว่าเราว่าเขารู้สึกอะไร)
“ถ้าหนูไม่ลองจะรู้ได้ยังไงว่าหนูจะขี่ได้หรือไม่ได้”
“จะรู้ได้ยังไงว่าปั่นจักรยานมันสนุกแค่ไหน”
…….(สร้างความรู้สึกท้าทายหรือ challenge และไม่เปรียบเทียบกับใคร)
“ตอนน้าฝึกขี่จักรยานตอนเด็กๆก็ล้มหลายทีเหมือนกัน
ใครที่ฝึกปั่นจักรยานก็ต้องเคยล้มกันทั้งนั้น”
…..(แชร์เรื่องตัวเองและทำให้เป็นเรื่องปกติที่ใครๆก็เป็นกัน
ช่วยให้เขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติและมีความเป็นไปได้)
“ถึงจะเจ็บนิดหน่อย แต่แลกกับความสนุกก็คุ้มนะ”
……(บอกข้อเท็จจริงโดยไม่หลอกหรือขู่ เช่น ล้มแล้วไม่เจ็บเลย)
“แล้วถ้าหนูไม่เคยล้ม..หนูจะรู้วิธีที่จะลุกขึ้นมาได้อย่างไร”
หลานมองหมอด้วยแววตาเป็นประกายเหมือนมีความหวัง หรืองงก็ไม่รู้ 555
หลังจากนั้นไม่นานหลานหมอก็ปั่นจักรยานเป็นครับ
=======================
===========================
..…หนูเอ๋ย…ชีวิตต่อไปในอนาคตข้างหน้า หนูยังต้องเจออะไรอีกมากมาย
บทเรียนจากการเอาชนะความกลัวครั้งนี้
คงทำให้หนูมองโลกตามความเป็นจริงได้ว่า
อุปสรรคที่ยากที่สุดก็คือ ความกลัวของตัวเราเอง
การก้าวผ่านปัญหา อุปสรรคในแต่ละเรื่อง
เราอาจจะผิดหวัง ล้มบ้าง แพ้บ้าง เป็นเรื่องปกติ
แต่อย่าเสียกำลังใจให้ตัวเอง แล้วหนูจะผ่านมันไปได้อย่างภาคภูมิใจ…..