1. รู้ว่าลูกคุณชอบและสนใจอะไร
ให้ลูกของคุณซึมซับสาระที่มีประโยชน์จากสื่อที่ดีต่าง ๆ เช่น
รายการจากช่อง Discovery หรือช่องที่ให้สาระอื่น ๆ
เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้คุณทราบว่าลูกของคุณสนใจอะไร
ลูกคุณอาจจะชอบเล่นกีฬา ดนตรี ทำอาหาร วาดรูป หรืออะไรอย่างอื่น ดังนั้น
ความเป็นคนช่างสังเกตและใส่ใจในพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งแรกที่คุณต้องเริ่มเรียนรู้
2. สนับสนุนการเข้าสังคมเด็กของลูกคุณ
การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็กที่โรงเรียนจะช่วยได้มาก
ในการเริ่มปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนต่างๆ โดยที่มีคุณแม่คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ ๆ
3. การคบเพื่อน
สังเกตว่าลูกคุณชอบคุยและเล่นกับเพื่อนคนไหนบ้าง ชอบอะไรเหมือน ๆ กันไหม ชวนเพื่อนที่ลูกคุณสนิทสนมด้วยมาเล่นที่บ้านบ้าง ทําให้คุณมีเวลาสังเกตพฤติกรรมของลูกคุณได้ดีขึ้น
4. อย่าบังคับเด็ก
เด็กเกลียดและกลัวการถูกบังคับมาก ควรใช้วิธีโน้มน้าวจิตใจและให้เวลาเขารับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความรู้สึกของเขาเอง โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้กําลังใจอยู่ข้าง ๆ
5. การสื่อสารกับคนนอก
เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ ดังนั้นคุณควรเป็นตัวอย่างที่ดี ให้ลูกของคุณซึมซับวิธีที่คุณมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป วิธีนี้จะช่วยลดอาการขี้อายของเด็กลงทีละน้อย ความคุ้นเคยกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้สั่งสมมาจะช่วยลดความกังวลที่เขาจะต้องพูดคุยกับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกัน
6. ทําให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า
เด็กทุกคนต้องการให้สังคมยอมรับว่าตัวเองเป็นคนมีความสามารถ
โดยเฉพาะจากพ่อแม่ นั่นเป็นบันไดขั้นแรกที่ทําให้เด็กมีความมั่นใจและกล้าแสดงออก
ดังนั้น คุณแม่ทั้งหลายจงอย่าละเลยที่จะบอกลูกว่าสิ่งที่เขาทํานั้นมันทําให้คุณภูมิใจในตัวเขามาก แม้ว่ามันจะดูเล็กน้อยในสายตาผู้ใหญ่ แต่สําหรับเด็กแล้ว
มันเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่มาก เช่น การเก็บของเล่นเข้าที่หลังจากเลิกเล่นแล้ว
อย่าลืมบอกเขาว่าการที่เขาเก็บของเล่นเข้าที่โดยไม่มีใครบอกนั้น
ช่วยทําให้คุณหายเหนื่อย คุณมีความสุขและภูมิใจที่มีเขาเป็นลูก
7. กล้าทําสิ่งที่ท้าทาย
บางครั้งการที่คุณลองทําสิ่งที่แตกต่างไปจากที่เคยทําอยู่ทุกวันอาจเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกของคุณมีความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ บ้าง ดังนั้นลองทบทวนดูว่าคุณมีพฤติกรรมใดที่อาจปิดกั้นความกล้าของลูกคุณหรือไม่
8. สันทนาการนอกบ้าน
ให้โอกาสลูกคุณได้ออกไปพบปะผู้คนภายนอกหรือในงานรวมญาติที่มีลูกหลานในวัยเดียวกันมาด้วยอยู่บ่อย ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองและเรียนรู้การเข้าสังคม
9. ให้เด็กได้คุ้นเคยกับภาพยนตร์หรือหนังสือที่เหมาะกับวัย
การเลือกภาพยนตร์หรือหนังสือที่เหมาะกับการพัฒนาการตามวัยของลูกช่วยเสริมสร้างจินตนาการ เปิดโลกของเด็กให้กว้างขึ้น รู้จักเลือกรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตให้เหมาะกับวัย
10.อย่าตําหนิติเตียนหรือวิพากษ์วิจารณ์
เด็กกลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ การทําเช่นนั้นจะทําให้เด็กเข็ดขยาดและอาจถึงขั้นหมดความภาคภูมิใจและความมั่นใจในตัวเองได้ เด็กอาจกลายเป็นคนซึมเศร้าและเก็บตัวไม่กล้าแสดงออกอีกต่อไป เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เด็กโดยไม่ระมัดระวังเป็นการทําร้ายจิตใจเด็กอย่างรุนแรง
บุคคลแรกที่เด็กได้ใกล้ชิดและคุ้นเคยด้วยจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กอย่างมาก และคนคนนั้นก็มักจะเป็นคุณแม่และคุณพ่อทั้งหลายนั่นเอง นอกจากความรักความอบอุ่นและความต้องการที่จะปกป้องลูกให้ปลอดภัยแล้ว คุณยังต้องเข้าใจถึงขั้นตอนที่ถูกต้องของการพัฒนาทางอารมณ์ตามวัยของเด็กด้วย เพื่อให้เขาเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ มีความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง กล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายใหม่ ๆ
ที่จะเข้ามาในชีวิตและพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งนั้นอย่างมีสติและผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
เราขอแสดงความยินดีล่วงหน้าและขอปรบมือให้กับความสําเร็จของคุณแม่ทุกท่าน