5.สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูก
การที่พ่อแม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด” ในช่วง 3 ปีแรก” นั้น ไม่เพียงแค่ลูกสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีในวัยเด็กเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ลูกเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และประสบความสำเร็จในการศึกษาในช่วง 30 ปีให้หลังอีกด้วย ซึ่งผลจากการที่พ่อแม่คอยเอาใจใส่และตอบสนองต่อสัญญาณต่าง ๆ ของลูกได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมนั้น จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้ลูกสำหรับการไปผจญภัยในโลกกว้างบนพื้นฐานของความปลอดภัยในอนาคตได้
6.ไม่เลี้ยงลูกด้วยความเครียด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เป็นแม่มีความเครียด เพราะว่าต้องหัวหมุนกับการทำงานต่าง ๆ และความพยายามที่จะหาเวลาให้กับลูก ๆ ซึ่งอาการความเครียด หรืออารมณ์โมโห ท้อแท้สิ้นหวัง ที่พ่อแม่แสดงออก สภาวะอารมณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีกับลูกได้
7.เป็น ”ที่ปรึกษา” มากกว่าที่จะเป็น “จอมเผด็จการ” หรือ “ตามใจ”
ไดอาน่า บูมไรด์ (Diana Baumride) นักจิตวิทยาด้านพัฒนาการได้กล่าวถึงรูปแบบพื้นฐานของการเลี้ยงดูลูกแบ่งเป็น 3 ประเภท
พ่อแม่ที่ตามใจลูก คือ พ่อแม่พยายามที่จะไม่ใช้การลงโทษ และยอมรับในตัวลูก
พ่อแม่จอมเผด็จการ คือ พ่อแม่พยายามที่จะจัดระเบียบและควบคุมลูกด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ให้ทำตาม
พ่อแม่เป็นที่ปรึกษา คือ พ่อแม่พยายามที่จะแนะนำลูก ด้วยเหตุผล
โดยกล่าวว่ารูปแบบที่เหมาะสม คือการที่พ่อแม่ควรเป็นที่ปรึกษาให้กับลูก เมื่อเด็กโตขึ้นมาจะรู้จักที่จะเคารพในคำแนะนำได้โดยที่พวกเขาจะไม่รู้สึกอึดอัด และยอมรับเพื่อที่จะนำคำสอนเรานั้นไปพัฒนาและปรับปรุงตัวเอง
8.สอนให้ลูกรู้จักความพยายาม
“ความเพียร” หรือความพยายามนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับการประสบความสำเร็จ เป็นการสอนให้ลูกรู้จักที่จะจินตนาการและลงมือทำ เพื่อมุ่งสู่อนาคตตามที่พวกเขาได้คาดหวัง และได้เห็นถึงคุณค่าของความพยายามมากกว่าการหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่ทำให้เกิดความล้มเหลว