คุณรู้หรือไม่?เคร่งครัดการบ้านกับลูกมากไป เสมือนทำร้ายลูกรักทางอ้อม!!

คุณรู้หรือไม่?เคร่งครัดการบ้านกับลูกมากไป เสมือนทำร้ายลูกรักทางอ้อม!!


คุณพ่อคุณแม่แต่ละบ้านมักจะมีวิธีการอบรมสั่งสอนลูกๆต่างกัน หากบางอย่างหนักเกินไปใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดี เบาไปก็ไม่ดี ควรทำทุกอย่างให้อยู่ในความพอดี เพราะเด็กก็คือเด็กยังอดทนกับสิ่งที่เข้ามาไม่ดีพอ หากตอนนี้ท่านกำลังเจอปัญหาเกี่ยวกับการบ้านลูก เรามีข้อคิดดีดีจากเพจ พญ.เสาวภา พรจินดารักษ์ มาฝาก เอาไว้อ่านเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง

คุณรู้หรือไม่?เคร่งครัดการบ้านกับลูกมากไป เสมือนทำร้ายลูกรักทางอ้อม!!


ตอนที่ 473 "อย่าสอนการบ้านจนลูกขมขื่น"

การบ้านเป็นเรื่องที่เด็กควรรับผิดชอบก็จริงอยู่ แต่วิธีที่จะทำให้เสร็จได้นั้น ไม่ควรมีน้ำตาของความเจ็บช้ำและขมขื่น....

วัยอนุบาล หากจะมีการบ้าน ก็ไม่ควรมากจนเด็กเสียโอกาสพัฒนาทักษะอย่างอื่น เพราะเด็กวัยนี้ชอบเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวมากกว่านั่งลงจับดินสอ ขีดเขียนตัวหนังสือ

แต่ใช่ว่างานขีดเขียนจะไร้คุณค่า การบ้านเล็กๆน้อยๆ ขีดเขียนเส้นยุ่งๆ จับคู่ เขียนตามรอยประ หรือแม้กระทั่งเขียนเป็นตัวอักษร สามารถพัฒนาสมาธิ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความจำ การแก้ปัญหาและความอดทนได้...แต่ที่สำคัญ ปริมาณงานต้องไม่มากเกินวัย และไม่ควรบังคับให้ทำเด็ดขาด

วัยประถมฯ แม้การบ้านจะเป็นสิ่งที่เด็กควรรับผิดชอบ แต่วิธีการของผู้ใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตัวตนเด็กได้

หากเรามุ่งแต่ให้งานเสร็จ เราอาจเผลอใช้วิธีการรุนแรง คำพูดที่มีอารมณ์ การตวาด ตะคอกหรือแม้แต่การลงไม้ลงมือ และนั่นอาจทำให้เกิดข้อเสียติดตามมา



คุณรู้หรือไม่?เคร่งครัดการบ้านกับลูกมากไป เสมือนทำร้ายลูกรักทางอ้อม!!


จะเกิดอะไรขึ้นในใจเด็กๆบ้าง หากการทำการบ้านต้องถูกตี ถูกดุ ถูกตะคอกใส่ทุกครั้ง

1. เด็กบางคน ยอมทำ แต่ไม่เคยรู้สึกดีต่อการบ้าน แม้งานเสร็จ แต่ไม่สร้างแรงจูงใจอยากทำ ทุกครั้งจึงต้องโดนดุก่อน

2. เด็กบางคน ยอมทำ แต่รู้สึกแย่ต่อการบ้านและผู้ใหญ่ เกิดการต่อต้าน แม้ยอมมานั่ง แต่ก็ไม่มีใจทำ อาจทอดเวลาไปอีกนานสองนาน มีข้ออ้าง หาทางได้ลุกออกไปเป็นช่วงๆ

3. เด็กบางคน ยอมทำ แต่เกลียดการบ้านฝังใจ ขอแค่ทำมีส่ง จะผิด จะถูก ฉันไม่สน หากลอกได้ ฉันก็จะลอก ก็ฉันทำเพราะกลัว ไม่ใช่เพราะอยากทำ

4. เด็กบางคนมาทำด้วยความรู้สึกกลัว กลัวจนรนราน ที่น่าจะรู้ กลายเป็นไม่รู้ เดี๋ยวเข้าใจ เดี๋ยวไม่เข้าใจ เด็กไม่ได้เช็คงานตรงหน้าว่าทำถูกหรือไม่ เด็กกลับคอยเช็คหน้าผู้ใหญ่ว่าจะโกรธเขาหรือเปล่า?

5. เด็กบางคน ไม่ยอมมาทำเลย ยอมโดนตี ดีกว่ามาทำ
หมอเคยเจอเด็กวัยอนุบาลหลายๆเคสที่ใช้วิธีมุดใต้โต๊ะ ระหว่างที่มีติว เพราะเด็กรู้สึกว่า มันเกินรับไหวแล้ว



คุณรู้หรือไม่?เคร่งครัดการบ้านกับลูกมากไป เสมือนทำร้ายลูกรักทางอ้อม!!


เราลองมานั่งคิดกันลึกๆสักหน่อย เพราะอะไรจึงมี "การบ้าน" เกิดขึ้นในโลกใบนี้..... 

จุดเริ่มต้นน่าจะมาจาก ความต้องการให้เด็กๆได้ทบทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้ว เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น จดจำได้แม่นยำขึ้น หากการบ้านมีเป้าหมายเพื่อช่วยเด็ก แล้วเด็กทั้ง 5 กลุ่มข้างต้นนั้น เขาคิดว่า การบ้านช่วยเขาจริงๆหรือ?

เราคงเคยได้ยินว่า ช่วงเวลาของการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ ช่วงเวลาที่จิตใจผ่อนคลายและสงบจดจ่อ....

การเรียนรู้ภายใต้ความเครียดที่มากเกินไป ทำให้การเรียนรู้สะดุด คิดไม่ออก จำไม่ค่อยได้....
ในขณะที่สอนการบ้าน เมื่อถึงจุดที่ลูกไม่ไหว เราก็ถอยเถอะ....

ถอยเพื่อไปสงบสติอารมณ์กันทั้งคู่ ดีกว่าทู่ซี้ไปให้บอบชำ เสียความรู้สึก เสียสัมพันธภาพ
ถอยเพื่อเปิดโอกาสให้เราได้สงบ ตั้งสติ และหาวิธีจูงใจลูกด้วยวิธีการอื่น
ถอยเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกคลายกังวล แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่...
การถอย ไม่ใช่การเลิก...
การถอย ไม่ใช่การตามใจ...
ถอย...เพื่อตั้งหลักใหม่....


คุณรู้หรือไม่?เคร่งครัดการบ้านกับลูกมากไป เสมือนทำร้ายลูกรักทางอ้อม!!


"รัน พ่อคิดว่า เราหยุดทำการบ้านแป๊บนึง ไปขี่จักรยานกันก่อน เดี๋ยวค่อยกลับมาทำกันใหม่นะ"
ในนิทาน "รันขี้เบื่อ ไม่อดทน"


คุณพ่อรู้ว่า รันไม่มีสมาธิและใจไม่จดจ่อกับการบ้านแล้ว รันต้องการตามพี่สาวไปขี่จักรยาน จึงตัดสินใจหยุดการบ้านนั้นชั่วขณะ และค่อยกลับมาทำเมื่อลูกผ่อนคลายแล้ว เพราะพ่อรู้ดีว่า การฝืนทำทั้งน้ำตา อาจจะได้งาน แต่ไม่ได้ใจ....

ฝึกเด็กให้รับผิดชอบ พ่อแม่ต้องกำหนดกติกา ตกลงเวลาร่วมกัน หากลูกต้องร้องไห้เพราะหมดเวลาเล่นเกมตามตกลงแล้ว พ่อแม่ก็ต้องเข้มแข็ง ไม่ใจอ่อน ลูกก็ต้องยอมรับให้ได้ แต่เมื่อถึงเวลาทำการบ้าน พ่อแม่ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆช่วย ค่อยๆสอน และคอยชื่นชมเป็นระยะๆ

ปล. หากลูกมีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบหลายๆอย่างนอกจากเรื่องการบ้าน หรือดื้อมากๆ พิจารณาการทำระบบสะสมคะแนน และเพิ่มปฏิสัมพันธ์เชิงบวก การสื่อสารให้มากขึ้น (รายละเอียด การทำปฏิสัมพันธ์เชิงบวกและระบบคะแนน รบกวนอ่านในหนังสือ "ปราบลูกดื้อ รับมือลูกกินยาก")
‪#‎หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวกทุกคนทำได้‬

ภาพจากนิทาน "รันขี้เบื่อ ไม่อดทน"

Cr.พญ.เสาวภา พรจินดารักษ์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์