บทที่ 6 เวลาคุณภาพกับลูก

บทที่ 6 เวลาคุณภาพกับลูก

“ฉันไม่รู้จะทำอะไรกับลูกอีกแล้วคุณทำให้เขาพอใจไม่ได้หรอก เขาต้องการความสนใจตลอดเวลาเลย เขาดูดพลังงานของฉันไปหมดเลย เหมือนกับว่าที่ฉันทำมันน้อยเกินไป ฉันแทบจะไม่มีเวลาหายใจเลย ฉันไม่รู้ว่าผู้ปกครองคนอื่นรับมือได้อย่างไร?

นิโคลผู้ดูแลเยี่ยมไข้ตามบ้านเพิ่งมาถึงและเจนดีใจที่จะได้คุยกับเธอเกี่ยวกับความเครียดที่เธอเผชิญอยู่ในระหว่างที่เธอเล่า นิโคลรู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาอยู่ที่ตัวเจน ไม่ใช่ที่ วิน ลูกชายวัย 3 ขวบของเธอภาพที่เจนบรรยายมานั้นประกอบไปด้วยการทำความสะอาด ซักล้าง ทำอาหาร ดูดฝุ่น รีดผ้า จัดเก็บของ เธอใช้เวลาทั้งชีวิตทำให้วิน แทนที่จะให้ความสนใจเขาตามที่เขาเรียกร้อง การจัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยของเธอนั้นมาจากความรู้สึกที่ว่าบ้านจำเป็นต้องเรียบร้อยตลอดเวลาและเธอให้ความสำคัญกับความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าใส่ใจคนที่ต้องรัก วินอยากเล่น อยากสนุก ต้องการความรัก และความรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษ แต่เจนมักจะยุ่งเกินไป และวุ่นวายกับการรับมือตามที่วินเรียกร้องด้วยรูปแบบเดิมๆ คือ การพยายามไล่เขาไป แล้วให้สิ่งที่เขาต้องการ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่เขายังคงเรียกร้องไม่หยุดหย่อน 

 

นิโคลรู้ดีว่ามันไม่มีประโยชน์เลยที่จะสอนเจน พ่อแม่จะต้องหาทางแก้ไขของเขาเองเพื่อที่จะเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่เธอทำได้คือการสนับสนุนด้วยการถามคำถามและให้คำแนะนำบ้าง หลังจากนั้นหลายสัปดาห์เจนเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างการเป็นผู้ปกครองในทางบวกกับการทำสิ่งต่างๆ ให้วิน การตระหนักรู้นั้นทำให้เธอเปลี่ยนไปเธอเริ่มให้ความสนใจวินมากขึ้น ซึ่งนั่นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปในทันทีทันใดเธอรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และรู้สึกสบายใจที่จะอยู่กับวิน และวินก็ดูเข้าใจแล้วว่าเขาสำคัญต่อเจน เขาไม่ได้เป็นกิจวัตรประจำวันหรือเป็นภาระ เขาจึงเรียกร้องน้อยลง13 นาทีต่อวัน

เรื่องของเจนไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย แล้วนี่เป็นเพียงพ่อแม่ส่วนใหญ่ยินดีที่จะทำงานมากขึ้นเพื่อสามารถซื้อของให้ลูกๆ พวกเขาใช้เวลาหลายชั่วโมงทำงานเพื่อลูกๆ ของเขาแต่ในทางกลับกันเขากลับให้ “เวลาที่มีคุณภาพ” กับลูกเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น จริงๆ เรื่องที่คาดไม่ถึงผู้ปกครองอาจคิดว่าได้ให้เวลากับลูกๆ อย่างมากมายแล้ว แต่ เด็กๆ จะรับรู้ว่าสำหรับพ่อแล้วแม่นั้นเรื่องอื่นๆ สำคัญกว่าตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นการฟังข่าวจากวิทยุ การล้างจาน รีดผ้า รายการโทรทัศน์ การต้อนรับเพื่อนบ้าน ทำอาหาร ทำความสะอาด คุยโทรศัพท์ ทำสวน สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ แต่หากขาดการจัดสมดุลก็จะส่งผลกระทบต่อเด็ก แทนที่พ่อแม่จะให้เวลาและความรักที่พวกเขาต้องการ พ่อแม่กลับให้ขนมหวาน พาไปดูหนัง หรือของเล่นราคาแพง


บทที่ 6 เวลาคุณภาพกับลูก

เมื่อเร็วๆ นี้การสำรวจพบว่าพ่อให้เวลาดูแลลูกน้อยกว่าวันละ 5 นาที และจากงานวิจัยครอบครัวจำนวน 600 ครอบครัวที่มีพื้นหลังแตกต่างกันพบว่าผู้ปกครองที่อยู่บ้าน ไม่ได้ออกไปทำงานนอกบ้านให้ “เวลาที่มีคุณภาพ” กับลูกเพียง 13 นาทีต่อวันเท่านั้นเอง

“เวลาที่มีคุณภาพ” คืออะไร มีลักษณะอย่างไรต่อไปนี้คือตัวอย่าง(นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น พึงระลึกไว้เสมอว่า “เวลาที่มีคุณภาพ” นั้น เป็นเรื่องของทัศนคติและจิตใจมากกว่าพฤติกรรม)

   แม่รักหนูเท่าฟ้า

เอมสังเกตเห็นว่า คริสต์ลูกชายวัย 3 ขวบมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีในช่วงเวลาก่อนนอน เหมือนว่าเขาสามารถรับรู้ถึงความสนใจที่เธอมีต่อเขาและต้องการอยู่กับเธอนานๆ ดังนั้นช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่มีคุณภาพของคริสต์ เอมจะร้องเพลง เล่าเรื่องต่างๆ ให้เขาฟัง เขาชอบที่แม่โอบกอดในระหว่างที่คุยกัน และเขาก็ได้สื่อให้เธอรู้สึกว่าเขาชอบช่วงเวลานี้ เรื่องราวที่เอมเล่านั้นมีคุณค่าในตัวเอง แต่หากเอมเล่าเรื่องราวที่มาจากความคิดของเธอเอง คริสต์จะชอบมากเป็นพิเศษ เอมเชื่อว่าการบอกให้คริสต์รับรู้ว่าเธอรักเขานั้นก็สำคัญเช่นกัน เธอจึงจัดให้ช่วงท้ายของเวลาเข้านอนเป็นช่วงเวลาบอกรักที่แสนพิเศษ เช่น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เธอถามว่า “ใครรักหนูมากสุด และแม่จะหยุดรักหนูเมื่อไหร่ หนูเดาได้ไหมว่าแม่รักหนูแค่ไหน หนูอยากให้แม่บอกไหม?” แล้วเธอก็พูดต่อว่า “แม่รักหนูเท่าฟ้า ที่รวบรวมก้อนเมฆและดวงดาวทั้งหมด แม่รักหนูเท่าช้างนับพันตัว กว้างใหญ่เท่ากับภูเขานับร้อย กว้างเท่ามหาสมุทรและแม่น้ำรวมตัวกัน” คุณจะเห็นได้ว่าตาของคริสต์เป็นประกาย

การให้ความสนใจและการสัมผัสพวกเราเห็นความสำคัญของการเล่าเรื่อง จังหวะและเพลงที่ช่วยพัฒนาจินตนาการและภาษาของลูก แต่คุณจะพบความแตกต่างหากเอมให้คริสต์อยู่กับแผ่นซีดี โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ แต่ไม่มีอะไรทดแทนการให้สนใจจากตัวบุคคลได้ คริสต์ต้องการการสัมผัสและความใกล้ชิดจากผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาภาวะทางอารมณ์และทางสังคมที่ดี

ผู้ปกครองหลายคนพบว่าลูกของตนตอบสนองเป็นอย่างดีเวลาก่อนเข้านอน (แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางท่านบอกว่าเราไม่ควรคุยเรื่องน่ากลัว สยดสยองในช่วงเวลาดังกล่าว) คุณจะรู้ได้เองว่าเวลาไหนเหมาะสมกับลูกของคุณในคู่มือเล่มนี้บอกเสมอว่าการโอบกอดของคุณให้ผลดีเพียงใดแก่ลูก การสัมผัส กอด สังเกตและให้ความสนใจในทางบวก ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเอง (เช่น การกอด การตบไหล่ หอมแก้ม จับมือลูกเป็นบางครั้งบางคราว เป็นต้น) การสวมกอดช่วยคลี่คลายความอิจฉาน้องที่เกิดใหม่ เพราะจะเป็นการทำให้ลูกที่โตกว่ารู้สึกมั่นใจว่าตัวเขาเองยังมีความสำคัญต่อผู้ปกครอง

เวอร์จิเนีย ซาร์เทีย ผู้อุทิศเวลาทั้งชีวิตศึกษาเรื่องครอบครัวชี้ให้เห็นว่า ลูกต้องการการกอด 4 ครั้งต่อวันเพื่อที่จะอยู่รอด และต้องการการกอดมากกว่า 16 ครั้งเพื่อการเติบโต พัฒนาความภาคภูมิใจในตนเอง การสัมผัสสำคัญในช่วงเวลาที่มีคุณภาพ

ติดตามเรื่อง การสร้างเวลาที่มีคุณภาพกับลูก ตอนต่อไปนะครับ

# หมอมินพระราม 6


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์