1. คุณไม่กล้าปล่อยให้ลูกทำอะไรเองเพราะกลัวว่า มันไม่เรียบร้อยเลอะเทอะ ไม่เนี้ยบอย่างใจคุณ คุณเลยเลือกที่จะทำให้เสียเอง เป็นการตัดปัญหา
2. บางครั้งคุณก็ลองให้ลูกทำเองแล้ว แต่คุณก็ยังอดใจไม่ไหวอยู่ดีที่จะทำให้ลูกเอง แม้เวลาจะไม่ได้เร่งรัดมากก็ตาม
3. คุณมักจะบ่นซ้ำๆ ในเรื่องพฤติกรรมของลูก และเรื่องอื่นทั่วไป ทั้งเรื่องที่ผ่านมาแล้วและที่ยังมาไม่ถึงโดยการบ่นเป็นการระบายความกังวลของคุณแบบหนึ่ง
4. หากลูกต้องการทำอะไรที่นอกเหนือจากวิถีชีวิตปกติคุณมักไม่อนุญาต เพราะกลัวว่ามันไม่ปลอดภัย
5. คำพูดติดปากของคุณ คือ “อย่านะลูก...,ระวังนะลูก....,พอๆเดี๋ยวแม่ทำเอง....,ทำไมชักช้าแบบนี้นะ....,โตแล้วนะ เมื่อไหร่ลูกจะทำได้ซะที”(ก็คุณไม่ปล่อยให้ทำซะทีนี่นา)
พ่อแม่ที่ขี้กังวล จะเหนี่ยวนำให้ลูกเกิดความกังวลเช่นเดียวกัน โดยถ่ายทอดผ่านวิถีชีวิต แนวคิด ทัศนคติที่บ่มเพาะให้ลูกมองโลกเป็นไปในแบบที่คุณมอง หากคุณกังวล กลัวนั่น กลัวนี่ ระวังนั่น ระวังนี่ไปเสียหมด ลูกก็จะมองโลกนี้ว่า มันดูไม่ปลอดภัย จนเกิดความกังวลเช่นเดียวกัน และมีผลต่อมุมมองต่อตนเองว่า
“ฉันคงทำอะไรไม่ได้หรอก เพราะแม่คงคิดว่าฉันทำไม่ได้ แม่เลยทำให้ตลอด”
ทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มั่นใจที่จะทำอะไรเอง ขี้กลัว และปรับตัวยากจนโตเป็นผู้ใหญ่เด็กบางรายสะสมความวิตกกังวล จนเกิดอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ ใจสั่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง
ความกังวล เป็นสัญชาตญาณปกติของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดความปลอดภัย
แต่ถ้ามากเกินไป จะทำให้มนุษย์มีความเปราะบาง และไม่พัฒนาการที่พ่อแม่ เกิดความตระหนักว่า ตนเองขี้กังวลเกินไปหรือไม่ จะได้เป็นแบบอย่างให้ลูก โดยไม่แสดงความกังวลต่อหน้าลูกมากเกินไปและปรับวิธีการเลี้ยงลูก เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มั่นใจและมีวุฒิภาวะสมวัยครับ
Credit ภาพ : http://www.charlotteobserver.com/…/health-family/moms/artic…