หนูเรียนหนักไป_ไหน

หนูเรียนหนักไป_ไหน

ปัจจุบันหมอพบว่า มีเด็กจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนหนัก จนต้องมาหาหมอ

เด็กกลุ่มนี้ มักจะมีอะไรคล้ายๆกัน ดังนี้

     - เป็นเด็กที่เรียนดีถึงดีมาก และคะแนนลดลงในช่วงหลัง ก่อนจะมาหาหมอ

     - เด็กมีจำนวนชั่วโมงเรียนต่อวัน (ทั้งที่โรงเรียน+เรียนพิเศษ) มากกว่า 8-9 ชั่วโมง ยังไม่นับเวลาที่ต้องทำการบ้าน ทำงานส่งครู กว่าจะได้เข้านอน ไม่ต่ำกว่า 4 ทุ่ม

     - เมื่อถามว่า เรียนเยอะไปไหม พ่อแม่หรือเด็ก มักตอบว่า ถ้าไม่เรียนพิเศษเพิ่ม จะทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนคนอื่นๆก็เรียนกันอาจสอบเข้าไม่ได้ เพราะข้อสอบออกเกินในบทเรียนที่เรียนพิเศษสอนดีกว่าที่โรงเรียน ฯลฯ

     - เด็กและพ่อแม่ มีความคาดหวังสูงกับคะแนน/เกรด เพราะเป็นตัวชี้วัดในการสอบเข้า การจัดกลุ่ม

     - เด็กมีความเครียด มีทั้งที่รู้ตัวว่าเครียด และไม่รู้ตัวว่าเครียด

     - กลุ่มที่ไม่รู้ตัวว่าเครียด มักมาหาหมอ โดยกุมารแพทย์ส่งตัวมาด้วยเรื่องอาการป่วยเรื้อรังบางอย่างเช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง รักษายังไงก็ไม่ดีขึ้นและสอบถามประวัติได้ว่ามีความเครียด กดดันเรื่องเรียน

 


หนูเรียนหนักไป_ไหน

     คำถามของหมอ คือ

     - เรียนเยอะๆ อย่างที่เรียกได้ว่า เอาเป็นเอาตายนี่ เอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างในการดำรงชีวิต นอกจากเพื่อให้ทำข้อสอบได้ หมอเคยดูเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ที่เด็กม.ต้น เรียน มันลึกเหมือนสมัยหมอเรียนแพทย์เลยทีเดียว

     - เวลาเรียนและทำการบ้านที่มาก มากจนไปเบียดบังเวลาอื่นๆที่เด็กจะได้พักผ่อนและฝึกทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นกับชีวิตมากกว่า เช่น เล่นกีฬา งานอดิเรก 

หมอเคยถามว่าแม่ของเด็กประถมคนหนึ่ง ว่าทำไมไม่ฝึกให้เด็กทำงานบ้านก็พบว่า กว่าจะกลับถึงบ้านและทำการบ้านให้เสร็จก็ไม่เหลือเวลาทำอย่างอื่นแล้ว...หรืองานบ้าน มันไม่จำเป็นต้องฝึกในเด็กยุคนี้แล้วหรือ ?!

     - พ่อแม่กังวลเรื่องผลการเรียนของลูกที่ตกลงในช่วงหลัง ทั้งที่เรียนพิเศษมากมาย

พ่อแม่อาจจะหลงทางเข้าใจผิดเพราะจริงๆแล้ว ประสิทธิภาพในการเรียน ไม่ได้แปรผันตรงกับจำนวนชั่วโมงเรียน แต่ที่สิ่งสำคัญ คือ กระบวนการเรียนของเด็กมากกว่า

     - ระบบการศึกษาไทยยังเป็นปัญหา เพราะเด็กนักเรียนถูกสร้างให้เป็นผู้รับ ท่องจำเนื้อหา เป็นมนุษย์ทำข้อสอบแต่ไม่สอนให้เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ ตั้งคำถาม ใช้ความเข้าใจมากกว่าท่องจำและเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สามารถนำไปต่อยอดในกระบวนการเรียนรูเรื่องอื่นๆเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่...นี่คือเป้าหมายที่เราให้เด็กเรียนหนังสือ ไม่ใช่หรือ?

     - หากเด็กเรียนไปมากๆ จนไม่มีเวลาพักผ่อน ต้องนอนดึก เซลล์สมองจะเจริญเติบโต ฟื้นตัว อย่างเต็มที่ได้อย่างไร บวกกับความเครียด 

จึงไม่แปลก ที่สมาธิในเวลาเรียนจะแย่ลง และผลการเรียนตกลงตามมา

 

หมอยอมรับว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเกี่ยวข้องกับระบบใหญ่ แต่จากคำถามของหมอ อยากกระตุ้นให้เกิดการคิดอะไรบางอย่างกับพ่อแม่หมอเชื่อว่า หากมีจุดไหนที่พอแก้ได้ ท่านคงทราบว่าต้องทำอย่างไรในการช่วยเหลือเด็กๆครับ

‪#‎หมอไปป์_แฮปปี้คิดส์‬

credit ภาพต้นแบบ: http://quotesgram.com/funny-quotes-about-studying-hard/


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์