เลี้ยงลูกไม่ให้พูดโกหก

เลี้ยงลูกไม่ให้พูดโกหก

แม้พฤติกรรมโกหกของเด็ก จะเป็นพฤติกรรมที่พ่อแม่รับไม่ได้ แต่ถ้าเจอลูกโกหก ควรพิจารณาก่อนว่า พฤติกรรมนั้นเป็นไปตามพัฒนาการของเด็กหรือเปล่า ถ้าพฤติกรรมนั้นเกิดในเด็กเล็กๆ ที่เพิ่งพูดได้ไม่นาน หรือเด็กอายุ 2-3 ขวบ ซึ่งเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจหรือแยกแยะความจริงกับจินตนาการได้อย่างชัดเจน เด็กอาจจะพูดในสิ่งเด็กนึกขึ้นมาโดยไม่ได้ตรวจสอบกับโลกความเป็นจริง ก็ถือเป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการ และควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เด็กโกหก”   แต่ถ้าพฤติกรรมเหล่านั้น เกิดขึ้นในเด็กโต อายุประมาณ 7 ขวบขึ้นไป ซึ่งสามารถเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงได้ดีแล้ว ก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมโกหก แต่ก็เป็นแค่พฤติกรรมหนึ่งที่เด็กแสดงออกมา ความเข้าใจว่าเพราะอะไรเด็กจึงไม่สื่อสารให้ตรงกับความจริงเป็นเรื่องจำเป็นมากกว่าจะตัดสินว่าเป็นเด็กดีหรือเด็กไม่ดี

 

    สาเหตุที่เด็กพูดโกหก

      1.เด็กบางคนโกหกเพื่อเอาตัวรอด หรือเพื่อหลบเลี่ยงการถูกลงโทษเมื่อตนเองทำอะไรผิดพลาด เช่น ไม่ได้ทำการบ้าน หรือทำของเสียหาย

      2.เด็กบางคนต้องการได้รับความสนใจจากพ่อแม่ หรือคนอื่นๆ ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กสร้างเรื่องเล่าให้เหนือคนอื่น ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น

     3.เด็กบางคนโกหกเพื่อหวังผลประโยชน์อะไรบางอย่าง หรือเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงกว่ากรณีอื่นๆ พ่อแม่จะต้องประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมเกเรอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น การลักขโมย พฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น หรือละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคมในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าเด็กอาจมีโรคทางจิตเวชอย่างอื่นร่วมด้ว

 

    วิธีเลี้ยงลูกที่พูดโกหก

     1.หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเปิดโอกาสให้ลูกได้โกหก เช่น เมื่อเด็กเล่นน้ำในแก้ว และคุณเห็นว่า เด็กทำน้ำหกเลอะพื้น แทนการถามว่า “นั่นลูกทำอะไรน่ะ” (เพราะเด็กอาจตอบว่า เปล่าทำ ไม่ได้ทำ เพราะรู้สึกว่า ตัวเองกำลังจะโดนดุ หรือโดนทำโทษ) ก็บอกลูกไปเลยว่า “แม่เห็นลูกทำน้ำหก ไปหาผ้ามาเช็ดพื้นเลย” ดีกว่า

     2.หากลูกมีลักษณะนิสัยชอบโม้ เล่าเรื่องเกินจริง บางเรื่องก็เติมแต่งจนกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งไป ทั้งหมดนี้เพียงเพื่อว่า ให้ตนเองได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรหันมาให้ความสำคัญกับลูก และหมั่นชมลูกบ่อย ๆ เพื่อให้จิตใจของลูกได้รับการเติมเต็มในด้านความเชื่อมั่น นิสัยขี้โม้จะลดลงไปเอง

     3.หากลูกทำผิด และพูดความจริง ขอให้ชมลูกแทนการตำหนิ เช่น ชมลูกว่า “แม่ภูมิใจมากที่ลูกเล่าความจริง ลูกมีความกล้าหาญมากจ้ะ” นั่นทำให้เด็กเข้าใจได้ว่า การกระทำเช่นนี้น่ายกย่องมากกว่าการปกปิดความผิดมากนัก

     4.ยึดมั่น “กฎ” ของบ้าน หากการโกหกเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในครอบครัว และตั้งกฎกันเอาไว้ว่าห้ามโกหกก็ต้องรักษากฎนั้นให้มั่น (รวมทั้งพ่อแม่ และผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ในบ้านด้วย) เพื่อให้เด็กไม่สับสน ทำไมผู้ใหญ่โกหก แต่มาห้ามเด็ก

     5.สำหรับเด็กที่โตขึ้นอีกนิด และเริ่มพูดโกหกบ่อย ๆ หากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าสิ่งที่ลูกพูดออกมาไม่เป็นความจริง ขอให้อธิบายกับลูกให้ชัดเจนว่า ความจริงนั้นสำคัญกับพ่อแม่มากกว่า พร้อมทั้งถามถึงความจริงที่เกิดขึ้น เช่น อาจจะฟังเรื่องที่ลูกเล่าจนจบ

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์