รู้ไหมว่า “การเขียน” สำคัญกับเด็กแค่ไหน?
เริ่มต้นแนวทางพัฒนาทักษะด้านการเขียนมีวิธีไหนบ้าง
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเล่น กิจกรรมการช่วยเหลือตนเอง โดยให้เด็กมีโอกาสในทำให้มากที่สุด เช่น บางบ้านไม่ยอมให้เด็กหยิบจับสิ่งของเล็กๆ ด้วยตนเอง เพราะกลัวว่าจะนำเข้าปาก หรือเป็นอันตราย หรือเวลารับประทานอาหารก็ไม่ยอมให้เด็กหยิบจับอาหาร เพราะกลัวเลอะเทอะ สกปรก แต่รู้หรือไม่ว่า กิจกรรมเล็กๆ ที่เป็นกิจวัตรประจำวัน เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกทักษะในด้านการใช้มือของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับของชิ้นเล็ก การใช้ช้อนตักอาหารใช้ส้อมจิ้มอาหาร การเทน้ำจากขวดลงแก้ว การแปรงฟัน หรือแม้แต่การเล่น เช่น ปั้นดินน้ำมัน การต่อเลโก้ ระบายสีด้วยมือ (finger paint) หรือการช่วยเหลือตนเอง เช่นเด็กต้องการทานขนมแต่ไม่สามารถแกะห่อขนม
-เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นประมาณ 4-5 ขวบ ก็จะเริ่มใช้อุปกรณ์การเขียนต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการใช้ ดินสอในการขีดเขียน การวาดภาพระบายสี พ่อแม่ควรช่วยกระตุ้นสร้างบรรยายกาศในการทำให้สนุก ไม่เคร่งเครียด ไม่เน้นผลลัพธ์ว่าต้องขีดให้ตรงเส้น หรือการวาดให้สวย จะทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
-พ่อแม่มีหน้าที่คอยช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการ เป็นตัวอย่างในการทำเมื่อลูกไม่เข้าใจหรือทำไม่ได้ ให้แรงเสริมทางบวกกับเด็กเมื่อสามารถทำกิจกรรมสำเร็จ เช่น ให้คำชม ปรบมือ จะช่วยกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจและอยากจะกิจกรรมนั้นอีกในครั้งต่อไป
การเขียนเพิ่มศักยภาพของเด็กได้ด้วยนะ
-การเขียนช่วยเพิ่มทักษะการทำงานของสมองสองข้างให้ทำงานร่วมกันมากขึ้น ส่งผลต่อเด็กทำให้มีสมาธิจดจ่อกับงานมากขึ้น ช่วยให้ร่างกายของเด็กทำงานประสานสัมพันธ์กันมากขึ้น ทักษะสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือได้ถูกใช้งานมากขึ่น ทำให้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้ทักษะเดียวกันดีขึ้นด้วย เช่นการโยนรับบอล เตะบอล ขี่จักรยาน รวมถึงกล้ามเนื้อมือมีความทนทานมากขึ้น เช่น การเขียน การระบายสีได้นานขึ้น ไม่เมื่อย
-ในเด็กโต การเขียนสามารถช่วยเพิ่มทักษะเรื่องความเข้าใจของคำศัพท์มากขึ้น เช่นการเขียนไดอารี่ เขียนเรื่องสั้น
จะทำให้เด็ก มีความคิดสร้างสรรค์ มีความริเริ่มใหม่ๆ อีกทั้งเพิ่มในเรื่องความกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นอีกทั้งยังเพิ่มทักษะการใช้ภาษาในรูปแบบการเขียนให้ดีขึ้นด้วย
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com