8 วิธีช่วยเด็กๆ สร้างคุณค่าในตัวเอง
ตรงกันข้าม เด็กที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเองมักมีทัศนคติต่อตัวเองและสิ่งรอบตัวในทางลบ เลือกมองเฉพาะข้อจำกัดและจุดอ่อน คิดว่าตัวเองอ่อนด้อยกว่าคนอื่น จึงทำให้รู้สึกวิตกกังวล ขาดความเชื่อมั่นในตัวเองกลัวความล้มเหลวจนไม่คิดว่าจะสามารถทำอะไรให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันได้
อย่างไรก็ตาม การที่เด็กด้อยค่าตัวเองนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่มีผลมาจากการเลี้ยงดูและปัจจัยสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ
1.เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว - คุณพ่อคุณแม่พึงระลึกอยู่เสมอว่าเด็กเกิดมาโดยไม่มีสิ่งใดติดตัวมาด้วย การทำกิจกรรมในแต่ละวันคือช่วงเวลาที่เด็กกำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่จะทำผิดหรือเบี่ยงเบนไปจากความคาดหวังของผู้ใหญ่ในบางครั้ง หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือคอยดูแลให้คำแนะนำที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิดและมีความอดทนกับการเรียนรู้ของเด็กเสมอ
2.ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ - คุณพ่อคุณแม่มักแสดงความผิดหวังเมื่อพบว่าเด็กไม่สามารถทำอะไรให้สำเร็จได้อย่างที่ต้องการ จนไปบั่นทอนกำลังใจ ทำให้เด็กมีความเครียดและกดดัน โดยหลงลืมไปว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ วิธีการที่จะช่วยพัฒนาเด็กคือการช่วยตั้งเป้าหมายให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย เริ่มจากเรื่องง่ายๆหรือความคาดหวังที่เป็นจริงได้ แล้วค่อยขยับไปสู่เป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้น
4.ช่วยพัฒนาทักษะใหม่ๆ - คุณพ่อคุณแม่ควรพัฒนาทักษะของเด็กโดยการทำกิจกรรมใหม่ๆร่วมกันเสมอ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และตื่นเต้นไปกับความสำเร็จใหม่ๆ โดยขยับความก้าวหน้าในการเรียนรู้ไปทีละขั้นตอน บางครั้งการหาผู้ช่วย เช่น ครูสอนพิเศษ ครูสอนดนตรี หรือครูฝึกสอนกีฬา ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจและสามารถเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ถนัดได้
6.สนับสนุนความท้าทาย - ความรู้สึกเบื่อหรือจำเจจากกิจกรรมเดิมช่วยกระตุ้นให้เด็กได้สำรวจสิ่งใหม่ๆรอบตัว ค้นหาสิ่งที่อยากทำหรือสนใจด้วยตัวเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการแก้ปัญหา คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ผลักดันให้เด็กกล้าลองผิดลองถูกและไม่กลัวความล้มเหลว สนับสนุนให้ใช้โอกาสหรือความท้าทายใหม่ๆที่เข้ามาเพื่อเรียนรู้และสร้างความมั่นใจที่จะทำสิ่งแตกต่างมากขึ้น
8.เป็นแบบอย่างที่ดี - เด็กเรียนรู้จากคนใกล้ชิดรอบตัวเสมอ โดยสามารถเลียนแบบสิ่งที่มีคนพูดและทำได้ตลอดเวลา หากต้องการให้เด็กเห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในตนเอง คุณพ่อคุณแม่ก็จำเป็นต้องแสดงออกให้เด็กเห็นอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถให้เวลากับเด็กเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องที่ดีและไม่ดีในแต่ละวันของกันและกัน ให้เด็กได้รู้สึกถึงความใกล้ชิด มีคนอยู่เคียงข้างและคอยรับฟังเสมอ
เครดิตแหล่งข้อมูล : dmh.go.th