วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า

วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า


วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บอย่างไรดีที่สุด

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ต้องเก็บแบบไหน ไม่ให้นมเน่า นมไม่เสีย สามารถเก็บให้ลูกกันได้นานๆ  มาดูกันค่ะ

  1. เตรียมภาชนะสำหรับปั๊มนมที่สะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาแล้ว และควรใช้ภาชนะที่ไว้สำหรับเก็บน้ำนมแม่โดยเฉพาะ หากคุณแม่เดินทางไปนอกบ้านอย่าลืมกระติกน้ำแข็งด้วยนะคะ
  2. ควรบีบน้ำนมแม่ทิ้งก่อน 3 ครั้ง ก่อนที่จะปั๊มใส่เครื่องปั๊มนม
  3. ในกรณีที่เก็บนมแม่ด้วยขวดนม ให้หาฝามาปิดขวดนมทันที แล้วนำแช่ในตู้เย็น ในกรณีที่ใช้ถุงเก็บน้ำนม ให้รีบนำนมที่ปั๊มได้เทใส่ถุงเก็บน้ำนมแม่ จากนั้นเอาไปแช่ทันที (ไม่ควรเทนมจนเต็มถุง แต่ควรเหลือพื้นที่ว่างไว้ด้วย เพื่อให้นมได้ขยายตัว)
  4. ก่อนที่จะนำเข้าแช่ในตู้เย็น ควรทำฉลากทีระบุวันปั๊มนมให้เห็นชัด เพื่อจะได้รู้ว่าควรนำนมแม่ถุงไหนออกมาให้ลูกกินก่อน
  5. หลังจากปั๊มนมเสร็จ อย่าลืมล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ และฆ่าเชื้อให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้หยิบใช้ได้ในทันที
นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน

อายุของน้ำนมแม่ที่บีบเก็บเอาไว้ จะมีอายุตั้งแต่ 1 ชั่วโมง ไปจนถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีเก็บน้ำนมของคุณแม่เอง โดยมีวิธีเก็บนมแม่ ดังนี้
  1. บีบหรือปั๊มนมทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องที่ 25 องศาเซลเซียส นมแม่จะอยู่ได้นาน 1-2 ชั่วโมง
  2. เก็บนมแม่ไว้ที่ช่องใต้ช่องแข็งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส นมแม่จะอยู่ได้นาน 1-2 วัน
  3. เก็บนมแม่ไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นประตูเดียว นมแม่จะอยู่ได้นาน 1 สัปดาห์
  4. เก็บนมแม่ไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 ประตู นมแม่จะอยู่ได้นาน 3 เดือน

วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า

วิธีนำนมในช่องแช่แข็งมาใช้
1.เลือกถุงนมแม่ที่แช่ไว้ในตู้เย็น โดยเลือกตามวันที่นำเอาไปเก็บในช่องแช่แข็งก่อน และต้องตรวจเช็คดูว่าถุงรั่วหรือไม่
2.นำนมแม่ไปใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดา ให้น้ำแข็งละลายเสียก่อน โดยต้องนำออกมาล่วงหน้า 1 คืน หรือประมาณ 12 ชัวโมง
3.นำนมแม่ที่ละลายแล้วไปอุ่นด้วยน้ำอุ่น ห้ามใส่ไมโครเวฟเด็ดขาด หรือแช่ด้วยน้ำร้อนจัดเพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารในนมแม่ไป
4.หยิบถุงเก็บน้ำนมที่แยกมาเป็นชั้นๆ มาเขย่าให้นมเข้ากันแล้วใส่ขวดนม หรือจะเขย่าน้ำนมในขวดเลยก็ได้ ถ้าใครมีเครื่องสวิงนำมาใช้จะง่ายกว่าค่ะ

ข้อควรรู้

>>อย่าปล่อยให้นมแม่ที่แช่แข็งละลายเองในอุณหภูมิปกติ
>>นมที่เก็บในถุงเก็บน้ำนมแม่ จะละลายได้เร็วกว่านมที่เก็บในภาชนะอื่น
>>นมแม่ที่เหลือ สามารถนำกลับไปแช่ตู้เย็นได้แค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น
>>ไม่ควรนำนมแม่ที่ละลายแล้ว กลับไปแช่ใหม่
>>สามารถนำน้ำแม่ที่เพิ่งปั๊มเสร็จมาผสมรวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ภายใน 24 ชั่วโมงได้ หลังจากเก็บครั้งแรก
>>หลังจากที่ปั๊มนมออกมา ยอ่งนำไปแช่ที่ช่องแข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
>>นมแม่ที่มีกลิ่นหืน ไม่ได้แปลว่าเสีย ซึ่งนมที่เสียต้องมีรสชาติเปรี้ยวจัด

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์