ทารกหัดกินอาหารทะเลก่อน 1 ขวบได้ไหม แล้วทำยังไงถ้าลูกแพ้

ทารกหัดกินอาหารทะเลก่อน 1 ขวบได้ไหม แล้วทำยังไงถ้าลูกแพ้

ทารกหัดกินอาหารทะเลก่อน 1 ขวบได้ไหม แล้วทำยังไงถ้าลูกแพ้

เพราะเหตุใดจึงเกิดอาการแพ้อาหารทะเล?

การแพ้อาหารทะเล ไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่ เกิดจากการที่ร่างกายของคนที่มีอาการแพ้ได้รับการกระตุ้นจากโปรตีนที่อยู่ในอาหารทะเล แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองผ่านทางกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกายมากกว่าปกติ จึงเกิดอาการขึ้นในระบบต่างๆ ของร่างกาย

 

ทราบได้อย่างไรว่าลูกแพ้อาหารทะเล?

คุณพ่อ คุณแม่จะสามารถสังเกตความผิดปกติของการแพ้อาหารทะเลได้ หลังจากลูกทานอาหารทะเลไป มักจะเกิดหลังทานประมาณ 1-2 ชั่วโมง ได้แก่ ผื่นลมพิษหรือผื่นแดงทั่วตัว ริมฝีปากบวม, แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย, คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง, ความดันโลหิตต่ำ ช็อค หมดสติ ทั้งนี้อาการอาจเกิดได้หลายระบบของร่างกาย ร่วมกัน และอาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการต่างๆเหล่านี้อาจแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ขึ้นอยู่กับระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย ลักษณะ และปริมาณอาหารอาหารทะเลที่ทาน

หากลูกมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะถ้ามีอาการเกือบทุกครั้งที่ทานอาหารทะเล คุณพ่อคุณแม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าลูกอาจจะแพ้อาหารทะเล จึงควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย ทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือการตรวจเลือด เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยให้แน่นอน และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการได้อย่างถูกต้อง

 

ในเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ทานอาหารทะเลตอนอายุเท่าไร?

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ลูกทานอาหารทะเล โดยเฉพาะ กุ้ง ปู ปลาหมึก หอย ภายหลังอายุ 1 ขวบ ค่ะ เพราะอาหารทะเลกลุ่มนี้ แพ้ได้บ่อย อีกทั้งหากเกิดอาการแพ้อาหารทะเลรุนแรงในเด็กเล็ก จะสามารถสังเกตอาการได้ยากกว่าเด็กโต

สำหรับอาหารทะเลจำพวกปลา อาจเริ่มต้นก่อน 1 ขวบได้เล็กน้อย โดยสังเกตอาการแพ้อาหารทะเลอย่างใกล้ชิด เพราะพบเด็กที่แพ้ปลาแซลมอน และปลาทูน่าได้พอสมควร ควรเริ่มทานปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลานิล ก่อนปลาทะเลเพราะมีโอกาสแพ้น้อยกว่า

 

หากลูกแพ้อาหารทะเล คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?

หากทราบแน่ชัดแล้ว ว่าลูกแพ้อาหารทะเล คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกต้องหลีกเลี่ยงเท่านั้นค่ะ ไม่มียาที่สามารถป้องกันอาการได้ หากสังเกตว่าลูกมีอาการแพ้อาหารทะเล ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา หากมีอาการแพ้อาหารทะเลรุนแรงอาจต้องฉีดยาและรักษาตัวในโรงพยาบาลและได้รับยาฉีดรักษาอาการแพ้อาหารทะเลรุนแรงพกติดตัวเผื่อกรณีฉุกเฉิน หากลูกมีอาการผื่นลมพิษคุณหมอจะให้การรักษาด้วยยาแก้แพ้เพื่อลดอาการ และถ้ามีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอกคุณหมอจะให้ยาพ่นขยายหลอดลม ซึ่งถ้าอาการเป็นแค่ผื่นคัน ไม่รุนแรง คุณหมออาจจะให้ยาแก้แพ้ ติดตัวไว้ เผื่อมีอาการเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจในครั้งต่อไป เช่น มีการปนเปื้อนของอาหารทะเลโดยไม่รู้ตัว

 

หากลูกแพ้กุ้ง จะสามารถทานปู, ปลาหมึก, หอย และปลาทะเล ได้หรือไม่?

ส่วนมากเมื่อทราบแน่นอนว่าแพ้อาหารทะเลประเภทกุ้ง คุณหมอจะแนะนำให้งดอาหารทะเลกลุ่ม ปู ปลาหมึก หอยทั้งหมด เพราะมีการศึกษาว่าหากแพ้อาหารทะเลประเภทกุ้งจะมีโอกาสแพ้ปูร่วมด้วยสูงถึงประมาณ 70% และมีโอกาสแพ้ปลาหมึก และหอยร่วมด้วย 50% ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยคุณหมอจึงแนะนำให้งดอาหารทะเลกลุ่มนี้ทั้งหมด

หากลูกแพ้ปลาทะเล โดยที่ยังไม่ได้ทำการทดสอบภูมิแพ้กับคุณหมอว่าแพ้ปลาอะไรอย่างชัดเจนก็ควรงดปลาทะเลทั้งหมด เพราะมีการแพ้ร่วมกันในกลุ่มได้ แต่หากได้รับการทดสอบการแพ้ หรือได้ลองทานปลาทะเลพันธุ์อื่นแล้วไม่มีอาการแพ้ ก็อาจสามารถทานปลาทะเลชนิดอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่แพ้ปลาแซลมอน อาจจะไม่แพ้ปลาทูเป็นต้นค่ะ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์