ภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย


ภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย

ความสำคัญของปัญหา
ภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา ก่อให้เกิดความบกพร่องในการสื่อความหมาย พัฒนาการด้านภาษาและการพูดจะล่าช้ากว่าเด็กปกติเป็นอย่างมาก

อุบัติการณ์

ประเทศไทยมีรายงานพบอัตราการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยิน 1.7รายจากจำนวน 1000 รายของทารกที่เกิดใหม่ต่อปี และหากแยกเป็นกลุ่มทารกปกติพบ 1.3 ราย/1000 รายของทารกที่เกิดใหม่ต่อปี ส่วนทารกกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในหอบริบาลทารกพิเศษพบ 15.3 ราย/1000 ราย ของทารกที่เกิดใหม่ต่อปี

การตรวจเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (OAEs)

เป็นการตรวจเพื่อประเมินการทำงานของเซลล์ขนชั้นนอก ซึ่งอยู่ภายในอวัยวะรูปก้นหอย ด้วยการวัดพลังงานเสียงที่สะท้อนออกมา ซึ่งสามารถทำการบันทึกได้ในช่องหูชั้นนอก สามารถทำการตรวจในขณะที่ เด็กหลับ ผู้ตรวจจะใส่ probe ที่มีขนาดพอดีกับช่องหูชั้นนอกของเด็ก ปล่อยเสียงเข้าไปกระตุ้นแล้วบันทึกผลการตอบสนอง

การแปลผลการตรวจคัดกรอง

ควรทำความเข้าใจว่า การตรวจคัดกรองมิใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค แต่เป็นการคัดกลุ่มเด็กที่อาจมีโอกาสเกิดโรคอย่างกว้างๆเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยละเอียดต่อไป

หากผลการตรวจคัดกรอง ไม่ผ่าน มิได้หมายถึงทารกมีภาวะสูญเสียการได้ยิน จนกว่าจะได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด

ซึ่งผลการตรวจคัดกรองที่ไม่ผ่าน อาจเกิดจากมีไขหรือน้ำในช่องหู มีขี้หูอุดตันหรือมีน้ำในหูชั้นกลางซึ่งพบได้บ่อยในเด็กปกติ หากทำการรักษาหรือภาวะดังกล่าวหายไป ผลการตรวจคัดกรองมักให้ผล ผ่าน ในภายหลังได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลการตรวจคัดกรองการได้ยินในตอนแรกเกิดจะได้ผล ผ่าน ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะไม่มีการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง (Progressive hearing loss) ซึ่งอาจจะเกิดจากระบบประสาทการได้ยินผิดปกติ (Sensorineural hearing loss) หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่นๆ ดังนั้นผู้ปกครองควรมีความรู้ในด้านพัฒนาการทางภาษาและการพูดของทารก เพื่อที่จะเฝ้าดูพัฒนาการด้านนี้เป็นระยะ หากเกิดความผิดปกติขึ้นในระยะใด ควรกลับมาพบแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักแก้ไขการได้ยิน หรือนักแก้ไขการพูดต่อไป จนกว่าจะมีภาษาและการพูดได้เท่าเทียมเด็กปกติ

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai3hospital


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์