เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหล

เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหล

“เลือดกำเดาไหล” คือภาวะเลือดออกจากรูจมูก เกิดจากความเปราะบางของเส้นเลือดฝอยในจมูก โดยทั่วไป ภาวะเลือดกำเดาไหลไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่มักก่อให้เกิดความกังวลใจแก่เด็ก พ่อแม่ และครู หากพบคราบเลือดแห้งบนเสื้อผ้าเด็ก เครื่องนอน หรือพบคราบเลือดในจมูก สำหรับอาการเลือดกำเดาไหล เลือดมักหยุดได้เองภายใน 10-15 นาที ปริมาณเลือดที่สูญเสียจะไม่มากจนทำให้เกิดอาการช็อคหรือภาวะซีดได้ เมื่อโตขึ้นอาการจะห่างออกและหายได้เองในที่สุด 

 สาเหตุของเลือดกำเดาไหล

  • เด็กที่มีไข้ เป็นหวัด เป็นโรคแพ้อากาศ หรือเด็กที่ชอบแคะจมูก อาจจะมีอาการเลือดกำเดาไหลได้ เลือดกำเดาในเด็กโตหรือวัยรุ่น อาจมีสาเหตุจากเนื้องอกในจมูก หากมีเลือดออกที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น จุดเลือดออก หรือเกิดจ้ำเลือดบริเวณผิวหนัง อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกไม่ทำงาน
  •  วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเลือดกำเดาไหล
  • 1.จับให้เด็กที่เลือดกำเดาไหลค่อย ๆ นั่งแล้วโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยอย่างช้า ๆ
  •   2. พ่อแม่ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้บีบที่จมูกเจ้าตัวน้อยตรงบริเวณสูงขึ้นเลยปลายจมูกขึ้นมาเล็กน้อย 
  • 3. จับให้เด็กอ้าปาก เพื่อหายใจทางปากแทนจมูก ซึ่งน้องอาจจะหายใจได้ลำบากหน่อย แต่ถ้าหายใจทางจมูกเลือดกำเดาที่ยังไม่หยุดไหลก็จะไหลออกมาอีก 
  • 4. พ่อแม่ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้บีบจมูกเด็กให้แน่นไว้ตลอดเวลาประมาณ 6-10 นาที ซึ่งต้องบีบไว้ตลอดเวลา อย่าบีบ ๆ ปล่อย ๆ เพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลช้า 
  • 5. ในขณะที่คุณพ่อแม่บีบจมูกเด็กอยู่ ใช้ผ้าเย็น หรือถุงน้ำแข็งวางบริเวณดั้งจมูกของเด็ก เพื่อให้เลือดแข็งตัว และหยุดไหลได้เร็วขึ้น
  •  เมื่อใดต้องพบแพทย์
  • กรณีที่เลือดออกจำนวนมาก และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล มีอาการหน้ามืดเป็นลม มีจ้ำเลือดที่ผิวหนังหรือมีเลือดออกที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย หรือมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก เช่น ไข้สูง อาเจียน ปวดท้อง

     ระวัง ! เลือดกำเดาผิดปกติ
    ให้สังเกตจากปริมาณเลือดที่ไหล ต้องมีปริมาณมาก ๆ เลือดไหลเร็ว และเป็นติดต่อกันหลายวัน หากมีการห้ามเลือดแล้ว เลือดยังไม่หยุดไหลง่าย ๆ ประกอบกับมีจ้ำเลือดเขียวขึ้นตามตัวเมื่อลูกวิ่งชนหรือได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นลักษณะนี้ ต้องพาลูกมาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม เพราะถ้าลูกมีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ หรือเป็นเรื้อรัง อาจทำให้ลูกตัวซีด และส่งผลต่อปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ของลูกได้ด้วย



เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์