แม่ตั้งท้องลูกชาย เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่า

แม่ตั้งท้องลูกชาย เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่า

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่จัดทำโดย University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย ยืนยันว่าแม่ ตั้งท้องลูกชาย มีแนวโน้มที่จะประสบภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์มากกว่า

ตั้งท้องลูกชาย เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่า

นักวิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากทารกแรกเกิดในตอนใต้ของออสเตรเลีย 574,000 คน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี (1981-2011) โดยเป็นการศึกษาแบบอิงประชากรครั้งแรกในออสเตรเลียที่ยืนยันถึงผลการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกันระหว่างเพศของทารก

ทีมนักวิจัยนี้ประกอบด้วย University of Adelaide's Robinson Research Institute, University of Groningen in The Netherlands และ Pregnancy Outcome Unit of SA Health ร่วมกันประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเพศของทารกและอาการไม่พึงประสงค์ขณะคลอด เช่น การคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ผลการวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์ journal PLOS ONE โดยศาสตราจารย์ แคลร์ โรเบิร์ตส หัวหน้าทีมวิจัยและนักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยโรบินสันกล่าวว่า "ข้อสรุปที่สำคัญของการศึกษาของเราคือ หลักฐานที่ชัดเจนมากว่า เพศของทารกที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลการตั้งครรภ์"

ผลการวิจัยพบว่า:

ทารกเพศชายมีแนวโน้มคลอดก่อนกำหนด โดยมีความเสี่ยงที่จะคลอดในช่วงอายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์ สูงกว่าทารกเพศหญิงถึง 27%
เสี่ยงที่จะคลอดในช่วงอายุครรภ์ 30-33 สัปดาห์ สูงกว่าทารกเพศหญิง 24%
และเสี่ยงที่จะคลอดในช่วงอายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ สูงกว่าทารกเพศหญิง 17%
4% ของคุณแม่ที่ตั้งท้องลูกชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
5% ของคุณแม่ที่ตั้งท้องลูกชายมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะครรภ์เป็นพิษ

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ตั้งท้องลูกสาวมีความเสี่ยงที่จะประสบภาวะครรภ์เป็นพิษทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าคุณแม่ที่ตั้งท้องลูกชายถึง 22%
Dr Petra Verburg จาก University of Groningen กล่าวว่า "ผลการศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าอาจจะมีความจำเป็นในการแทรกแซงบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ทั้งต่อคุณแม่และทารก ซึ่งเรากำลังตรวจสอบปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ และเพศของทารกก็เป็นปัจจัยหนึ่ง"

ศาสตราจารย์โรเบิร์ตและทีมงานของเธอได้รับการตีพิมพ์งานวิจัยก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศที่แสดงออกผ่านยีน 142 ยีนในรกจากการตั้งครรภ์ปกติ

"รกเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์" ศาสตราจารย์โรเบิร์ตกล่าวว่า "เราเชื่อว่าความแตกต่างทางเพศในรกอาจอธิบายความแตกต่างที่ทำให้ผลการตั้งครรภ์ต่างกันในทารกแรกเกิดเพศชาย และเพศหญิง รวมถึงตัวคุณแม่ด้วย"

บทความแนะนำ หน้าที่ของรก อวัยวะหล่อเลี้ยงชีวิตทารก

ขั้นตอนต่อไปของทีมวิจัยคือ การทำความเข้าใจผลของความแตกต่างเหล่านี้ว่าสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างไร

แม้งานวิจัยยังไม่สิ้นสุด แต่ผลที่ได้ในเบื้องต้นนี้ อาจทำให้คุณแม่ท้องระมัดระวังต่อความเสี่ยงต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์มากขึ้นไม่ว่าจะตั้งท้องลูกชาย หรือตั้งท้องลูกสาวก็ตาม


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์