อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใด ป้องกันได้อย่างไร

อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใด ป้องกันได้อย่างไร


  อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใด ป้องกันได้อย่างไร

     เมื่อมีการตั้งครรภ์เป็นภาวะที่ร่างกายของแม่และลูกจำเป็นต้องได้รับการดูแล และเอาใจใส่เป็นอย่างดี ร่างกายของแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอาการแพ้ท้อง และการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายอย่างระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่ให้เหมาะสมตลอดช่วงเวลาแห่งการตั้งครรภ์ แต่คุณแม่ก็ยังมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับภาวะที่ร่างกายผิดปกติ โดยเฉพาะ อาการครรภ์เป็นพิษ ที่สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใด ป้องกันได้อย่างไร

อาการครรภ์เป็นพิษคืออะไร

ภาวะครรภ์เป็นพิษคือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในขณะตั้งครรภ์ ต่างจาก อาการแพ้ท้อง หากมีภาวะครรภ์เป็นพิษ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและ พัฒนาการทารกในครรภ์ หากภาวะรุนแรงมากก็อาจมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยการให้แพทย์ติดตาม พัฒนาการ ในระหว่างการตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์สามารถพยากรณ์อาการของโรคและสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ อันจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังลดโอกาสของภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดในแม่และทารกได้อีกด้วย

อาการครรภ์เป็นพิษ มีลักษณะของอาการอย่างไร

อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใด ป้องกันได้อย่างไร

อาการของโรคนี้ในคุณแม่คืออาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ มีอาการบวมตามมือและเท้า และบริเวณใบหน้า และหากมีอาการที่รุนแรงมาก อาจมีภาวะความดันที่ขึ้นสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท สามารถตรวจพบปริมาณโปรตีนสูงในปัสสาวะ อาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีความรุนแรง รวมถึงอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นหน้าอกอย่างรุนแรงด้วย มีบางกรณีที่คุณแม่เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด หรือพบเลือดออกในสมอง จึงอาจกล่าวได้ว่าภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่ส่งผลร้ายต่อ พัฒนาการทารกในครรภ์ และสุขภาพร่างกายของแม่และลูกเป็นอย่างมาก

สาเหตุของ อาการครรภ์เป็นพิษ

อาการผิดปกตินี้มักพบเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 5-6 เดือน หรืออายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป และคุณแม่บางคนยังมีโอกาสที่จะเกิดอาการผิดปกตินี้แม้จะคลอดทารก และ ตั้งชื่อลูก ไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์นับจากวันคลอด แต่ระยะที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดคือช่วงอายุครรภ์ 34-35 สัปดาห์ขึ้นไป อาการของโรคสามารถเกิดขึ้นได้กับสตรีทุกคนแม้ว่าจะมีสุขภาพที่ดี แต่หากคุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วยก็อาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคได้ง่ายมากขึ้น อาทิเช่นตั้งครรภ์ในขณะที่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือคุณแม่ที่มีอายุสูงกว่า 35 ปี และเป็นการตั้งครรภ์แรก หรือเกิดภาวะที่น้ำหนักตัวมากเกินไป หรือ

เป็นภาวะของครรภ์แฝด เคยมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจกับสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ รวมถึงในภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ช่วย หรือคุณแม่มีภาวะที่เลือดแข็งตัวได้ง่าย รวมถึงการที่คุณแม่มีโรคประจำตัวต่าง อาทิโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการต่าง ๆ เหล่านี้นับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างไรก็ตามแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่มาของโรคนี้ได้อย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการ พัฒนาการ ของรกที่ผิดปกติ ส่งผลให้กลไกภูมิคุ้มกันของตัวคุณแม่ตอบสนองอย่างผิดปกติและเป็นอันตรายต่อแม่และลูกได้

การตรวจวินิจฉัยอาการของโรค


อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใด ป้องกันได้อย่างไร

      สามารถทำได้จากการตรวจสุขภาพทั่วไป แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อพิจารณาอาการผิดปกติเบื้องต้น อาทิปัญหาทางสายตา อาการปวดศีรษะ การทำงานของไตปกติหรือไม่ นับเป็นความจำเป็นที่คุณแม่ต้องไปพบแพทย์ตามนัดฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญนอกจากการ ตั้งชื่อลูก การตรวจระดับความดันโลหิต เป็นปัจจัยแสดงภาวะครรภ์เป็นพิษที่แพทย์อาจต้องตรวจยืนยันหลายครั้ง แต่ละครั้งควรห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ภาวะครรภ์เป็นพิษมักมีระดับความดันโลหิตได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดเพื่อทดสอบการทำงานของตับ ไต และความปกติของเกล็ดเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อพิจารณาความปกติของสารต่าง ๆ ในปัสสาวะ อาทิปริมาณโปรตีนและสารครีเอตินินในปัสสาวะ การตรวจ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของทารก ความสมบูรณ์ของร่างกาย ร่วมกับปริมาณน้ำคร่ำ

แนวทางการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ

ในกรณีที่อาการของโรคยังไม่รุนแรงคุณหมออาจให้คุณแม่ได้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาอาการเบื้องต้นด้วยการควบคุมอาหาร จัดท่านอนด้วยท่าตะแคงซ้าย ตรวจสอบ พัฒนาการทารกในครรภ์ ทั้งการเคลื่อนไหว และการตรวจประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หากคุณแม่มีอาการที่ดีขึ้น และไม่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม คุณแม่ก็จะสามารถกลับบ้านได้แต่คุณแม่ก็ต้องดูแลตัวเองต่อด้วยการนอนหลับพักให้เพียงพอด้วยท่านอนตะแคง ไม่ควรเดินมาก และการนอนพักอย่างเพียงพอยังช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ส่งผลให้อาการบวมจะลดลง ควบคุมการรับประทานอาหารรสจัดให้พอดี รับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอหรือประมาณ 80-100 กรัมต่อวัน ห้ามมีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ติดตามน้ำหนักตัว หากน้ำหนักขึ้น 1.4 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1.8 กิโลกรัมภายในระยะเวลา 3 วัน ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที พยายามตรวจวัดความดันว่าผิดปกติหรือไม่ทุกวัน ตรวจ พัฒนาการ การเคลื่อนไหวของทารก โดยนับอัตราการดิ้นควรมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน สังเกตอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ อาการปวดศีรษะบ่อยและรุนแรงหรือไม่ การมองภาพชัดเจนหรือไม่หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที อย่าคิดว่าเป็นเพียง อาการแพ้ท้องเพราะมีความแตกต่างกัน หากอาการของโรคมีความรุนแรงแพทย์อาจพิจารณาทำคลอดก่อนกำหนด คุณพ่อคุณแม่จะได้รีบ ตั้งชื่อลูก ให้เร็วขึ้น แต่ก็ต้องติดตามอาการของโรคตามที่แพทย์แนะนำไปอีกสักระยะ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์