วิธีการตรวจดูความแข็งแรงของทารกในครรภ์

วิธีการตรวจดูความแข็งแรงของทารกในครรภ์

การดูแลสุขภาพในช่วงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่แม่ท้องทุกคนควรดูแล โดยเฉพาะการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ รวมไปถึงการออกกำลังกายและทำจิตใจให้แจ่มใสสดชื่น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ทำทุกอย่างเพื่อลูกแล้ว เจ้าหนูในท้องจะแข็งแรงตามไปด้วยหรือไม่ ติดตามอ่าน รู้ได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์สุขภาพแข็งแรง

คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกน้อยในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ สามารถตรวจได้ด้วยตัวคุณแม่เองและตรวจโดยคุณหมอ ดังนี้

การตรวจครรภ์เพื่อดูความแข็งแรงของทารก : วิธีนี้แม่จ๋าก็ทำได้!!!

การนับลูกดิ้น คือ วิธีการที่คุณแม่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง โดยทั่วไปแล้วทารกน้อยในครรภ์จะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 16 - 20 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง สามารถเห็นทารกเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทารกที่ต่อเนื่องนานมากกว่า 20 วินาที วิธีการนับลูกดิ้น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

1. Sodovsky ให้นับวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทุกวัน ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้ง / ชั่วโมงให้นับต่ออีก 6 - 12 ชั่วโมง / วัน รวมจำนวนครั้งที่ดิ้นทั้งหมดคิดต่อ 12 ชั่วโมง ถ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ครั้ง ถือว่าทารกดิ้นน้อยลง อย่างไรก็ตามหากทารกดิ้นน้อยลงจริงควรต้องรีบพบคุณหมอทันทีเพื่อตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์โดยวิธีการอื่นเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยผ่านคลื่นไฟฟ้า เป็นต้น 

2. The Cardiff "Count - to-ten charf" คือ การนับจำนวนการดิ้นตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนครบ 10 ครั้ง ซึ่งไม่ควรใช้เวลาเกิน 12 ชั่วโมง (ถึง 21.00 น.)

การนับการดิ้นของทารกเป็นวิธีการเบื้องต้นในการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ที่สามารถทำได้ง่ายและสะดวก ได้ผลดี ไม่มีค่าใช้จ่าย ปลอดภัยและไม่มีข้อห้าม ควรมีการจดบันทึกการดิ้นของทารกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตั้งแต่ 28 - 32 สัปดาห์ และรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นการ

ตรวจครรภ์เพื่อดูความแข็งแรงของทารก : คุณหมอ

1. การวัดความสูงยอดมดลูก

การตรวจวัดความสูงของยอดมดลูก เมื่อทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงเติบโตตามปกติ ส่งผลให้ยอดมดลูกมีขนาดสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ถือว่าทารกมีการเจริญเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดีและปกติค่ะ

2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์

ซึ่งคุณแม่จะรับรู้การดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่เด็กดิ้นน้อยลงมักพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง การที่ทารกดิ้นน้อยลงจึงเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบคุณหมอ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป

3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์

เป็นการตรวจโครงสร้างและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ว่าเจริญเติบโตปกติหรือไม่ และใช้ค้นหาความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรก และตำแหน่งที่รกเกาะและสายสะดือ

สามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจผ่านทางช่องคลอด และการตรวจผ่านหน้าท้องคุณแม่ เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งช่วยให้คุณหมอสามารถเห็นและตรวจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น

4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ

ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่าง ๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น วิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจ ได้แก่ การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง

5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

โดยอาศัยหลักการว่า ถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงไม่ขาดออกซิเจน เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อทารกดิ้นจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้น

 


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์