3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

ความผิดปกติเกี่ยวกับการกินที่พบในคุณแม่ตั้งครรภ์ และสัญญาณเตือนที่ต้องระวังมีอะไรบ้าง


3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

1. โรคกลัวอ้วนในคุณแม่ตั้งครรภ์

Pregorexia เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียก โรคกลัวอ้วน (Anorexia) ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่กลัวน้ำหนักตัวจะเพิ่มมากเกินไปและเป็นกังวลเรื่องรูปร่าง จึงพยายามลดความอ้วนและออกกำลังกายอย่างหนัก

จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่เป็นโรค Pregorexia มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Claire Mysko ผู้เชี่ยวชาญจาก National Eating Disorders Association เชื่อว่า ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคู่ครอง ครอบครัว และเพื่อน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรค Pregorexia

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต: ชอบพูดว่าจริงๆ แล้วคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ หมกมุ่นอยู่กับการนับแคลอรี่ ชอบที่จะกินคนเดียวหรืองดอาหารบางมื้อ การออกกำลังกายมากเกินไป มีอาการเวียนศีรษะหรือเป็นลม


3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

2. โรคกินมากเกินไป

คุณแม่ท้องที่เป็นโรคกินมากเกินไป Binge eating disorder (BED) มักจะงดมื้ออาหาร หรือทิ้งช่วงเวลาระหว่างมื้ออาหารเป็นเวลานาน ทำให้พอถึงเวลารับประทานก็จะจะกินอย่างหนักหน่วง ปริมาณมาก และควบคุมตัวเองไม่ได้ จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป

โรคกินมากเกินไป ยังทำให้ลูกน้อยที่กำลังเติบโตในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเนื่องจากช่วงเวลากว่าจะถึงมื้อต่อไปนั้นยาวนานกว่าปกติ แต่เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่รับประทานอาหารทารกน้อยก็จะได้รับน้ำตาลปริมาณมากอย่างฉับพลันเนื่องจากคุณแม่กระหน่ำกินอย่างดุเดือด

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต: ชอบงดมื้ออาหาร โดยเฉพาะมื้อเช้า รับประทานอาหารปริมาณมากเกินกว่าคนทั่วไปจะกินในช่วงเวลาหรือสถานการณ์คล้ายกัน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เมื่อเริ่มรับประทาน มักจะแอบกินคนเดียว เพราะรู้สึกอายและรังเกียจตัวเอง


3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

3. โรคบูลิเมียในคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคบูลิเมีย คือ การล้วงคอเพื่อให้อาเจียนเอาอาหารที่เพิ่งกินเข้าไปออกมา หรือใช้ยาระบาย รวมถึงการออกกำลังกายอย่างหนัก หากอาการนี้เกิดระหว่างตั้งครรภ์ จะเรียกว่าโรคบูลิเมียในคุณแม่ตั้งครรภ์ "maternal bulimia"

สมาคมสุขภาพจิตของสิงคโปร์ กล่าวว่า ความผิดปกติเกี่ยวกับการกินดังกล่าว มักจะเกิดกับผู้ที่ไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตนเองและไม่มีความสุข หรือคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบและต้องการควบคุมทุกอย่างในชีวิต

การใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาลดความอ้วนระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ขาดสารอาหารสำคัญที่จะส่งไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต: กินอย่างหนัก และตามด้วยการล้วงคอ หรือใช้ยาระบาย หรือออกกำลังกายอย่างหนัก หรือใช้ยาลดความอ้วน เนื่องจากไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง


3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน

คุณแม่ท้องไม่ควรลดน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากจะส่งผลในทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ

คุณแม่ท้องที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน อาจเป็นสาเหตุให้ลูกน้อยเป็นอันตราย หรือมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น

ภาวะทารกเครียด
ทารกโตช้าในครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูง
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษ
ปัญหาทางเดินหายใจ
น้ำหนักแรกเกิดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด
คลอดก่อนกำหนด
คลอดยาก
พิการแต่กำเนิด
คะแนนการประเมินทารกแรกคลอดต่ำ
การแท้งบุตร
ตายคลอด


3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

วิธีป้องกันความผิดปกติเกี่ยวกับการกินระหว่างตั้งครรภ์

แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายในการเอาชนะโรคเกี่ยวกับการกิน แต่เราก็มีเคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดเมื่อคุณรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์มาฝากค่ะ

1. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังอย่างพอดี

คุณแม่ท้องสามารถป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป ได้โดยเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่ปรุงโดยการนึ่ง ต้ม อบ และย่าง รวมถึงลดการบริโภคน้ำตาลด้วย

ออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ด้วยท่าง่ายๆอย่างพอดี จะช่วยคืนหุ่นสวยหลังคลอดให้คุณได้ไม่ยาก

2. ให้รางวัลตัวเอง

การตั้งครรภ์เป็นข้อแก้ตัวที่ดีที่จะไปช้อปปิ้งและซื้อเสื้อผ้า ซึ่งอาจจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นแทนที่จะยึดติดอยู่กับเสื้อผ้าสไตล์เดิมๆ ของคุณ การทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของทารกตัวน้อยๆ ในครรภ์ ดังนั้น หาเวลาปรนเปรอตัวเองบ้าง ไปสปา ทำให้สิ่งที่คุณชอบและเพลิดเพลินไปกับมัน

3. มองหาตัวช่วย

ควรปรึกษาคุณหมอด้านโภชนาการเพื่อวางแผนการรับประทานอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการที่ดีต่อสุขภาพครรภ์ นอกจากนี้คุณควรไว้วางใจในตัวสามี ครอบครัว และเพื่อนสนิท และรับความช่วยเหลือที่คุณต้องการจากพวกเขา

4. รักตัวเอง

แม้เจ้าตัวน้อยจะยังไม่คลอดออกมา แต่ตอนนี้ถือว่าคุณเป็นแม่คนแล้ว คุณควรระลึกไว้เสมอว่า ลูกน้อยของคุณจะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่ตัวคุณนั้นได้รับสารอาหารมากพอที่จะส่งผ่านไปยังลูกน้อยและทำให้เขาเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดีหรือเปล่า

เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก น้ำหนักส่วนเกินทั้งหมดของคุณแม่จะค่อยๆ ลดลงไปเอง ดังนั้น คุณแม่พยายามอย่าเครียดกับน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์มากจนเกินไป สามีและทุกคนรอบตัวคุณไม่มีใครคิดว่าคุณไม่สวย คุณจึงต้องเรียนรู้ที่จะรักตัวเองเช่นกันค่ะ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์