ทารกในท้องแม่ นอนตอนไหนบ้าง?

ทารกในท้องแม่ นอนตอนไหนบ้าง?

การนอนของทารกในท้องแม่

สภาวะแวดล้อมในครรภ์แม่เหมาะกับการนอนของทารกอย่างยิ่ง เพราะในท้องของแม่ทั้งมืด อบอุ่น เงียบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเวลาที่คุณแม่ท้องเดินไปมาก็เหมือนเป็นการไกวเปลให้ลูกหลับ

- ทารกในครรภ์แม่จะนอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน

- ลูกของคุณจะได้ยินเสียงหัวใจ เสียงท้องร้อง และเสียงพูดของคุณแม่ ที่จะทำให้รู้สึกอุ่นใจ นอกจากนั้นทารกน้อยในครรภ์ยังไม่รู้สึกหิวเลย เพราะมีสายสะดือเชื่อมต่ออาหาร ซึ่งเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ทารกน้อยนอนหลับได้อย่างสบายใจ

- การตื่นของทารกในครรภ์เกิดขึ้นไม่เป็นเวลา และลูกจะตื่นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

- ช่วงที่ลูกหลับในท้องแม่อาจมีการขยับตัว ถีบคุณแม่บ้าง เพราะลูกในท้องมักเป็นเด็กนอนดิ้น

- เมื่อตั้งครรภ์ถึง 7 เดือน เบบี๋ในท้องจะเริ่มมีความฝันแล้วนะ เพราะตัวอ่อนในครรภ์นี้มีการสร้างสมองเพียงพอให้เกิดการหลับแบบ REM (rapid eye movement) เด็กเริ่มมีกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการมองเห็นและการได้ยิน

- เมื่อตั้งครรภ์ครบ 8 เดือน ทารกก็จะเริ่มนอนหลับแบบ non-REM หรือแบบหลับสนิทได้แล้วด้วย

- เด็กยิ่งเล็กยิ่งฝันเยอะ ส่วนคำถามที่ว่าลูกน้อยฝันเรื่องอะไร เราคงไม่มีวันรู้

- ถ้าทำการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ บางทีคุณแม่อาจจะได้เห็นลูกนอนแล้วยิ้มด้วย นี่เป็นเพราะว่าช่วงที่ลูกหลับแบบ REM กล้ามเนื้อบริเวณหน้าเกิดการกระตุกหรือมีการดึงนั่นเอง

- เบบี๋ในท้องชอบนอนกลางวันและตื่นตอนกลางคืน เพราะช่วงกลางคืนที่คุณแม่นอนหลับจะมีพื้นที่ให้ลูกน้อยได้ขยับตัวเยอะกว่าเดิม แถมช่วงกลางวันที่คุณแม่เดินเยอะยิ่งทำให้เบบี๋รู้สึกกำลังนอนโยกเยก ทำให้น่าหลับ

 

 


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์