ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

โฟลิก หรือโฟเลต คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ ทำไมคนท้องขาดโฟลิกทารกจึงสมองพิการ 


โฟลิก กับ คนท้อง

การขาดสารอาหาร โฟเลต เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความพิการแต่กำเนิดของระบบประสาท โดย นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์ สูตินรีเเพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และ ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช อธิบายว่า มนุษย์กบ หรือ Anencephaly ถือเป็นโรคที่เกิดจาก ท่อระบบประสาทผิดปกติ (Neural Tube Defect) ชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดและพบได้บ่อยที่สุด พบได้ประมาณ 1.2-1.7 ต่อ 1,000 ของการคลอด และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (อัตราส่วน 4:1)

 

คุณแม่สามารถป้องกันภาวะทารกพิการ ไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ รวมถึงความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ รศ.ธรา วิริยะพานิช สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า คนท้องควรได้รับมากกว่าคนปกติ คนปกติควรได้รับวันละ 4๐๐ ไมโครกรัม/วัน ส่วนหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ 6๐๐ ไมโครกรัม/วัน

สำหรับผู้ที่มีความพยายามที่จะตั้งครรภ์หรือผู้ที่อาจจะตั้งครรภ์ ควรเริ่มทานกรดโฟลิกเสริมก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิดได้มากกว่า 50% ไม่ควรรอให้ตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยเริ่มรับประทานโฟลิก เนื่องจากกว่าผู้หญิงจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ก็อาจผ่านระยะก่อรูปร่างของสมองและไขสันหลังไปเสียแล้ว

ราวๆ สัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากที่มีการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ ในระยะนี้ตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อซึ่งแบ่งออกเป็นสามชั้น เนื้อเยื่อชั้นนอกจะแบ่งตัวเพื่อสร้างระบบประสาทและสมอง โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อชั้นนอกนี้จะแบ่งเซลล์ยกตัวขึ้นเพื่อม้วนกลับสร้างให้เป็นท่อระบบประสาท (Neural Tube) ขึ้นมาก่อน ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นกระดูกสันหลังและไขสันหลังต่อไปบริเวณส่วนปลายของท่อนี้จะต้องปิดเข้าหากันเพื่อพัฒนาเป็นศีรษะและก็จะมีการสร้างสมองและกะโหลกศีรษะต่อไป แต่ในกรณีของมนุษย์กบ หรือ Anencephaly ส่วนปลายของท่อนี้ไม่ปิดเข้าหากัน จึงไม่สามารถพัฒนาการสร้างส่วนของกะโหลกศีรษะและสมองที่สมบูรณ์ได้

 



ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

กรดโฟลิคคืออะไร?

กรดโฟลิค (โฟเลต) เป็นสารอาหารกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำ หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็ม วิตามินบี9 วิตามินบีซี (โฟลาซิน) เป็นต้น

โฟลิคมีหน้าที่อย่างไร?

ร่างกายของคนเราต้องการโฟเลตเพื่อช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งเป็นยีนหรือสารพันธุกรรม และสังเคราะห์กรดอะมิโนอีกหลายตัว รวมทั้งมีความจำเป็นในการแบ่งตัวเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆ

แหล่งอาหารที่มีโฟลิค

กรดโฟลิคพบมากในผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี ผักโขม คะน้า กะหล่ำ ผัดกาด ดอกกุยช่าย รวมทั้ง มะเขือเทศ แครอท ข้าวโพด ส้ม ตับไก่ ตับหมู กุ้ง หอย ปู ปลา ธัญพืช ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น

รับประทานโฟลิคให้ถูกวิธี

รศ.ธรา แนะนำว่า โฟเลตถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้น ถ้าอาหารที่ต้องหั่นชิ้นเล็กๆ หุงต้มนานๆ โฟเลตก็จะสูญเสียไป ดังนั้น อาหารที่กินสดได้ก็ควรกินสด เช่น ผัก ผลไม้ เพราะจะได้โฟเลตมาก แต่ถ้าต้องทำให้สุกก็ไม่ควรใช้เวลานานในการหุงต้ม

อย่างไรก็ดี กรดโฟลิกถ้าได้รับปริมาณมากจะเป็นอันตรายกับร่างกาย ฉะนั้น ถ้ากินมากเกินไป ร่างกายก็จะขับโฟลิกออกทางอุจจาระ และปัสสาวะ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์