“ภาวะแท้งคุกคาม” เรื่องใหญ่ที่เล็กลงได้ หากรักษาทันเวลา!


“ภาวะแท้งคุกคาม” เรื่องใหญ่ที่เล็กลงได้ หากรักษาทันเวลา!


   "ภาวะแท้งคุกคาม" หรือปัญหาการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อ "การแท้งบุตร" เราสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ หากรู้เท่าทันอาการและรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอจนถึงวันคลอด เพียงเท่านี้ ภาวะแท้งคุกคาม ก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับ "คุณแม่ตั้งครรภ์" อีกต่อไป

ภาวะแท้งคุกคาม...คืออะไร?

อาการภาวะแท้งคุกคาม คือการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ก็มีคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากที่สามารถดูแลครรภ์ได้ดีจนอายุครรภ์ครบตามกำหนดคลอด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์

หากมีอาการเหล่านี้..ควรรีบไปพบแพทย์

การมีเลือดออก ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากมีเลือดออกมากขึ้นเรื่อยๆ จนไหลลงมายังขาและมีสีแดงสด รวมไปถึงมีอาการปวดท้องน้อย ปวดบีบเป็นระยะๆ หรือมีอาการปวดหลังและเป็นตะคริวร่วมด้วย อาการเบื้องต้นเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

คุณแม่ตั้งครรภ์กลุ่มไหน...เสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคามจะยังไม่มีการระบุไว้แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ การบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง การที่คุณแม่มีอายุมากหรือเกิน 35 ปี มีการใช้ สัมผัสกับยา หรือสารเคมีบางชนิด คุณแม่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน

การดูแลครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง

เพราะการป้องกันภาวะแท้งคุกคามอาจจะทำได้ยาก แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้ ก็ช่วยให้ครรภ์มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงได้

ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ หรือใช้ยาเสพติด
ลดปริมาณการใช้คาเฟอีน งดชา กาแฟ
หลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้รู้สึกไม่สบาย และเป็นอันตรายต่อลูกน้อย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ หรือการทำความสะอาดบ้านที่ใช้แรงมาก
หากเกิดการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียให้รีบรักษาโดยเร็ว
เสริมวิตามินช่วงใกล้คลอด เช่น กรดโฟลิก
ออกกำลังกายเบาๆ หรือตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง และการให้กำเนิดลูกน้อยที่สมบูรณ์ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ! ทั้งนี้ การพูดคุยกับแพทย์ยังช่วยลดระดับความเครียด ลดความวิตกกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย

เครดิตแหล่งข้อมูล : paolohospital


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์