10 ปัจจัยที่ทำให้ตั้งครรภ์แฝด

10 ปัจจัยที่ทำให้ตั้งครรภ์แฝด

ครรภ์แฝด หลายๆคนปรารถนาอยากมีลูกแฝด เพราะจะได้เจ็บครั้งเดียว หรืออายุมากแล้ว ไม่อยากท้องบ่อย หรือด้วยหลายๆอย่างที่คู่สมรสหลายๆคู่อยากได้ลูกแฝด ถึงแม้ว่ากรรมพันธุ์จะไม่ใช่แฝด แต่ … หลายคู่ก็แอบลุ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวล้ำไปมาก การมีลุกแฝดจึงไม่ใช่เรื่องยาก หากมีงบพอเพราะการทำเด็กหลอดแก้วให้ได้ครรภ์แฝดนั้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายแสนบาททีเดียว สำหรับครรภ์แฝดธรรมชาติเกิดขึ้นได้ด้วย 10 ปัจจัยดังนี้

1. กรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติการตั้งครรภ์แฝด คุณแม่จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น

2.สีผิว ถ้าคุณแม่เป็นชนชาติแอฟริกันจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากกว่าคุณแม่ที่เป็นคนผิวขาวหรือคนผิวเหลือง

3.จำนวนครรภ์หรือการตั้งครรภ์หลัง ๆ คุณแม่ที่เคยคลอดบุตรมาแล้วหลายคนจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะการตั้งครรภ์หลายครั้งจะทำให้ไข่มีโอกาสตกเยอะขึ้น

4.อายุของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากกว่าการตั้งครรภ์ตอนอายุน้อย ๆ ถึง 4 เท่า (อุบัติการณ์สูงสุดจะอยู่ที่อายุ 35-39 ปี เนื่องมาจากการที่ไข่เหลือเก็บ ต้องถูกกระตุ้นมาก ร่างกายจึงหลั่งฮอร์โมน FSH ออกมาเยอะ ไข่จึงมีโอกาสตกครั้งละมากกว่า 1 ฟอง)แต่ในขณะเดียวกันการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงมากมาย 

5.น้ำหนักและส่วนสูง บางข้อมูลระบุว่าคุณแม่ที่เป็นโรคอ้วน และมีรูปร่างสูง จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น

6.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ผลงานวิจัยของดร.แกรี่ สไตน์แมน ประจำศูนย์การแพทย์ที่เมืองลองไอแลนด์ มลรัฐนิวยอร์ก บอกว่าผู้หญิงที่ดื่มนมมากกว่าปกติ 5 เท่าจะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าผู้หญิงที่เป็นมังสวิรัติที่ไม่บริโภคอาหารประเภทเนื้อเลยถึง 5 เท่า !! นอกจากนี้ผลการวิจัยยังสันนิษฐานด้วยว่าโปรตีนที่พบในตับของสัตว์เป็นปัจจัยของการมีลูกแฝด เพราะโปรตีนชนิดนี้มีองค์ประกอบการเติบโตคล้ายอินซูลิน เรียกว่า IGF ที่พบได้ในนมวัวและผลิตภัณฑ์ของสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเป็นโปตีนที่จะช่วยให้รังไข่มีปฏิกิริยาไวขึ้นและช่วยเพิ่มจำนวนไข่ให้มากขึ้น

7.การให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง มีอีกหนึ่งงานวิจัยที่ระบุว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ให้นมลูกคนแรกอย่างต่อเนื่องจนถึงเวลาจะมีลูกในครรภ์ที่สอง จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้นมลูก

8.กินยาคุมเกิน 3 ปีขึ้นไป เพราะเมื่อหยุดกินยาแล้วะทำให้ไข่ตกมากขึ้น เพราะฤทธิ์ของยาจะไปกดฮอร์โมนใต้สมองทำให้ไข่ไม่ตก พอหยุดกินฮอร์โมนที่ถูกกดไว้จะถูกปลดปล่อยออกมา จึงทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากขึ้น

9.ทานให้มากกว่าปกติ ผู้หญิงที่กินเยอะ ๆ จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากกว่า เนื่องจากร่างกายมีความสมบูรณ์มากกว่า แต่ไม่คุ้มกันเพราะมีผลเสียต่อสุขภาพ

10.รับประทานกรดโฟลิก มีงานวิจัยจากประเทศออสเตรเลียที่พบว่า กรดโฟลิกมีส่วนช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น แต่งานวิจัยนี้ยังมีนักวิจัยอื่น ๆ แย้งว่าเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก อย่างไรก็ตามการกินกรดโฟลิกก็เป็นเรื่องจำเป็นอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์

คุณมีกี่ข้อ ใน 10 ข้อข้างต้น ไม่แน่นะคะ คู่ของคุณอาจตั้งครรภ์แฝดโดยไม่มีกรรมพันธุ์แฝดก็ได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก MamaExpert.com

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์