“ซึมเศร้าหลังคลอด” อันตราย แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ!!

“ซึมเศร้าหลังคลอด” อันตราย  แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ!!


สวัสดีค่ะ ขอเกริ่นนำนิดนึงนะคะ

สืบเนื่องมาจาก จขกท. ได้รับทราบข่าว ว่าคนรู้จักของ จขกท. เสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตาย หลังคลอดได้เพียงสัปดาห์เดียว
เธอคนนี้เคยเป็นที่รักของทุกคน และเป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใสมาก
จึงเกิดคำถามในใจ และไปค้นคว้าดู ก็ไปเจอกับโรคนี้เข้า อันตรายมากเลยทีเดียว แต่เป็นโรคที่เราไม่ค่อยคิดถึงกันว่ามันจะเกิด
จึงอยากเอามาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะคะ

ความผิดปกติทางจิตใจที่พบได้บ่อยหลังคลอด (ภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นในระยะเวลาตั้งแต่แรกคลอด จนถึง 12 เดือนหลังคลอด) คือ

1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) ไม่ใช่โรค แต่เป็น ภาวะทางอารมณ์ อาการมักเป็นไม่มาก อยู่ไม่นาน และสามารถหายไปได้เอง

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) เป็นการเจ็บป่วย เป็น "โรค" ซึ่งจำเป็นต้องรักษาและพบแพทย์

3. โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis) เป็นการเจ็บป่วยเช่นเดียวกัน และมักจะมีอาการทางระบบประสาทที่แปลกไป เช่น ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดแปลก อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง หรือมีการทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งลูกน้อย
ถือเป็นภาวะอันตราย และเป็นภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด


“ซึมเศร้าหลังคลอด” อันตราย  แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ!!

เรามาดูกัน ว่าทั้ง 3 อย่าง วินิจฉัยกันได้อย่างไร


1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)


- เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก โดยพบได้ถึงสูงถึง 40- 80%ของสตรีหลังคลอด
- ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการปรับตัวหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ ที่อาจจะยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลังคลอดอย่างไร
- อาการจะไม่รุนแรง ไม่กระทบต่อการดูแลเด็ก
- อาการมักพบในสัปดาห์แรก โดยพบมากช่วงวันที่ 5 หลังคลอด และจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์

อาการที่พบคือ
- เซื่องซึมง่าย รู้สึกเศร้าง่าย ร้องไห้ง่าย
- อารมณ์จะขึ้น-ลง เปลี่ยนแปลงง่าย
- หงุดหงิดง่าย
- วิตกกังวลไปหมด
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ

หากอาการเป็นอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะอาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้


“ซึมเศร้าหลังคลอด” อันตราย  แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ!!

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)


มีเกณฑ์ในการวินิจฉัยคือ (ซึ่งเป็นเกณฑ์วินิจฉัยเดียวกับโรคซึมเศร้า)

- ต้องมีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กัน หรือระยะเวลาใกล้เคียงกัน และต้องมีอาการข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ร่วมด้วยเสมอ
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ รู้สึกภายในจิตใจว่างเปล่า อาจบอกจากปากตนเอง หรือจากการสังเกตของคนรอบข้าง
2. ความสนใจ ความรู้สึกสนุก พึงพอใจในการทำกิจวัตรต่างๆ ที่เคยชอบทำ ลดลงอย่างมาก
3. น้ำหนักลดลง หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยยะสำคัญ (มากกว่า 5% จากน้ำหนักตัวเดิมใน 1 เดือน) หรือ ความอยากอาหารลดลง หรือ อยากกินตลอดเวลา ตลอดทั้งวันไม่ใช่เฉพาะบางมื้อ และเป็นทุกวัน
4. นอนไม่หลับหรือนอนมากตลอดวัน
5. เชื่องช้า เคลื่อนไหวช้าลง หรืออยู่ไม่สุข
6. เหนื่อยง่าย ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร
7. รู้สึกไร้ค่า ไม่ชอบใจตัวตนของตัวเอง
8. ความคิดความอ่าน สมาธิ ความสามารถในการจดจ่อสนใจสิ่งที่ทำลดลง
9. มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ไม่รู้สึกกลัวความตาย, อาจมีประวัติเคยพยายามฆ่าตัวตายแต่ยังไม่สำเร็จ หรือเริ่มตระเตรียมแผนการหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ฆ่าตัวตายมาเก็บไว้

- อาการทั้งหมดเป็นเกือบทั้งวัน และเกือบทุกวัน อาการจะไม่หายไปเอง หรือไม่เป็นๆ หายๆ
- อาการทั้งหมด ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันที่เคยทำตามปกติ เช่น ไม่สามารถไปทำงานได้
- อาการทั้งหมด ต้องเป็นขึ้นมาเอง โดยไม่มีประวัติการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการแสดงดังกล่าว


“ซึมเศร้าหลังคลอด” อันตราย  แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ!!

3. โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)


- เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยคือประมาณ 0.1-0.2% แต่อาการมักรุนแรง
- อาการมักเริ่มใน 2-3 วันแรกหลังคลอด น้อยรายมากที่มีอาการหลัง 2 สัปดาห์แรกไปแล้ว
- อาการเริ่มแรกคือผุดลุกผุดนั่ง หงุดหงิด นอนไม่หลับ
- หลังจากนั้น ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีแบบไม่สมเหตุสมผลก็ได้ อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงเร็ว
- มีพฤติกรรมวุ่นวายแปลกประหลาด
- มีความคิดหลงผิด (delusion) เช่น คิดว่าลูกไม่ใช่ลูกของตนเอง มีความคิดหลงผิดเกี่ยวกับไสยศาสตร์
- หวาดระแวง
- ประสาทหลอน (hallucination) เช่น มีหูแว่ว หรือเห็นคนมาสั่งให้ทำร้ายลูกตนเอง เป็นต้น


“ซึมเศร้าหลังคลอด” อันตราย  แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ!!

หลักการดูแลผู้มีภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังคลอด


- ต้องได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ สามี คอยให้กำลังใจว่านี่ไม่ใช่โรค ไม่ใช่ความอ่อนแอ

- หาความรู้เกี่ยวกับเด็กทารกเพื่อให้มีความมั่นใจในการเลี้ยงดู

- คุณพ่อผลัดเปลี่ยนกันดูแลเด็ก โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะได้ให้คุณแม่ได้พักผ่อน ลดปัญหาการนอนไม่หลับ

- อย่าไปตำหนิ หรือโมโห เวลาคุณแม่แสดงอารมณ์แปลกๆ หรือขึ้นๆ ลงๆ เหวียงๆ

- อย่าปล่อยให้คุณแม่เลี้ยงลูกคนเดียว ต้องช่วยกัน สนับสนุนกัน เป็นกำลังใจให้กัน เพื่อผ่านเหตุการณ์นี้ไปให้ได้- ต้องอาศัยความอดทน และเข้าใจกันของคนในครอบครัว ว่าภาวะนี้สามารถพบได้ และจะหายไป อย่ากลัว อย่าโกรธ

- คอยสังเกตอาการของคุณแม่ ถ้ามีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ โดยอาการเป็นมากขึ้น หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมแปลกๆ ผิดจากคนทั่วไป เท่ากับว่า ได้พัฒนาไปเป็นโรคแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์

- กระตุ้นให้คุณแม่ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะเลี้ยงลูกอย่างเดียว และอาจจะให้รางวัล หรือคำชม เช่น พาไปเที่ยวพักผ่อน ปิกนิกนอกบ้าน พาเดินออกกำลังกายเบาๆ พาไปร้านอาหารหรือซื้อของขวัญมาให้

- การเข้ากลุ่ม Group therapy ให้ได้ไปเจอกับครอบครัวอื่นที่เผชิญปัญหานี้ และผ่านมันไปได้ ได้แชร์วิธีที่ใช้ให้ผ่านภาวะเจ็บป่วยนี้ไปได้ แชร์วิธีผ่อนคลายความเครียด แชร์วิธีขจัดปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงลูก (ควรไปกันเป็นครอบครัวนะคะ)

 


ครรภ์ต่อไปล่ะ? จะเป็นอีกมั้ย


- มีแนวโน้มว่าจะเป็นได้อีกค่ะ ถ้าเคยเป็นในครรภ์ก่อน
- เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ต่อไป อาจปรึกษาแพทย์ และให้ประวัติแพทย์ไว้เลยว่าเราเคยเป็น เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาให้ยาป้องกันหลังคลอดได้ ก่อนที่จะมีอาการ


ขอบคุณที่มา > > pantip

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์