เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!

เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!



สำหรับคุณแม่ๆที่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในกา รฝากท้อง และคลอดลูก เพราะรวมๆแล้วก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวที่คุณแม่ๆได้อ่านแล้วจะต้องเป็นประโยชน์มากๆแน่นอน นั้นก็คือเรื่องของการฝากครรภ์ฟรี และการคลอดบุตรฟรีมาบอกต่อค่ะ


รัฐบาลได้ออกโครงการฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ ภายใต้นโยบาย "แม่คลอด ลูกรอด ปลอดภัย เท่าเทียม ทั่วถึง" ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยคุณแม่ที่มีสิทธิในโครงการ 30 บาท (บัตรทอง) ประกันสังคม และข้าราชการ สามารถฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!



ตัวอย่างบัตรสุขภาพ

เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!


สิทธิบัตรทอง

เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!


เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!


เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!


เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อคุณแม่ๆ!!ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี!!!



สิทธิประกันสังคม

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

-ผู้ประกันตนจ่ายเงินไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตร
-คลอดที่ใดก็ได้ จ่ายค่าคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดหนึ่งครั้ง
-ผู้หญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อคลอดบุตรอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเวลา 90 วัน
-สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร
-สามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

ตรวจสอบสำเนาสูติบัตรบุตรคนที่จะใช้สิทธิ

-ให้ตรวจสอบชื่อมารดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้องตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันตนหรือไม่
-ให้ตรวจสอบชื่อบิดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้อง ตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันหรือไม่
-ถ้าไม่ถูกต้อง สูติบัตรพิมพ์ผิดให้ผู้ประกันตนนำสูติบัตรกลับไปให้หน่วยงานออกสูติบัตรแก้ไข


ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

-ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคม
-เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
-สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา


พิจารณาสั่งจ่าย

-เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
-ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน
-โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน


เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ใช้สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

3.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ใช้สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด สำเนาทะเบียนสมรส 

4.กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้


1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)


ขอบคุณที่มา >> Facebook >> สิทธิสุขภาพ กับ คชส., สำนักงานประกันสังคม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์