แม่ทำงาน vs แม่อยู่บ้าน แม่แบบไหนช่วยส่งเสริมทักษะของลูก

แม่ทำงาน vs แม่อยู่บ้าน แม่แบบไหนช่วยส่งเสริมทักษะของลูก


คุณพ่อคุณแม่คือกุญแจสู่ทักษะที่เป็นเลิศ

งานวิจัยของศาสตราจารย์ Paul Anand จากมหาวิทยาลัยเปิด LSE และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และดอกเตอร์ Laurence RoopeLaurence Roope จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Social Choice and Welfare ได้กล่าวไว้ว่าการศึกษาพฤติกรรมของเด็กๆ นั้นเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ทำกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง พบว่ากิจกรรมทั้งหลายนั้นช่วยในเรื่องของทักษะที่แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน

ทักษะที่ดี = สิ่งแวดล้อมที่ดี + คนที่เข้าใจเด็กๆ

โดยในงานวิจัยนั้นว่าด้วยเรื่องของ การที่คุณแม่มีอายุที่มาก จะส่งผลเสียในเรื่องทักษะทั้ง 4 ต่อเด็กๆ ในทางกลับกันการที่เด็กๆ มีคุณแม่ที่มีการศึกษาสูงจะส่งผลดีต่อเด็กๆ ค่ะ

เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ จะมีทักษะทางสังคมและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น ในขณะที่เด็กที่อยู่ในความดูแลของปู่ย่าตายาย จะมีทักษะด้านการพูดและทักษะทางสังคมที่ดีขึ้น ส่วนเด็กๆ ที่มีพ่อน้องหรือญาติอายุรุ่นราวคราวเดียวกันมากๆ จะมีทักษะทั้ง 4 ที่ดีขึ้น เนื่องจากอาจจะเป็นการเรียนรู้จากพี่ที่โตกว่า แม้จะมีปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ไม่มากก็ตาม


กิจกรรมที่ชอบ ทำให้มีทักษะที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังพบด้วยว่ากิจกรรมที่เด็กๆ ชอบที่สุด คือการไปเลือกซื้อของและการอ่านหนังสือ การเล่านิทาน การร้องเพลงสำหรับเด็ก และการอ่านหนังสือ ส่งผลดีต่อทักษะด้านการพูดมากกว่าการไปเยี่ยมบ้านเพื่อนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่การไปเยี่ยมบ้านเพื่อนของเด็กๆ ก็ยังส่งผลดีต่อความสามารถในการพูดของเด็กๆ อยู่ดีนั่นแหละค่ะ

การร้องเพลงสำหรับเด็ก การวาดรูประบายสี และการทำงานศิลปะต่างๆ ส่งผลดีต่อทักษะการเคลื่อนไหว โดยในงานวิจัยนั้นพบการเชื่อมโยงระหว่างเพลงกับทักษะการใช้มือ และการทำงานศิลปะต่างๆ ค่ะ

ค่อนข้างน่าแปลกใจที่การออกไปเดินนอกบ้านส่งผลเสียต่อทักษะการเคลื่อนไหว อาจจะเป็นเพราะเด็กๆ ง่วนอยู่กับการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย และทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการพัฒนาทักษะของตัวเองได้ค่อนข้างน้อย

สิ่งที่เด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่ทุกคนต้องการ คือ ...

สวัสดิการและความสุขทางเศรษฐกิจ (The welfare and happiness of economic) คือเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆ ของคุณภาพชีวิตต่อคนในสังคม งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าความมั่งคั่งทางวัตถุเป็นปัจจัยหนึ่ง ในเรื่องพัฒนาการของเด็กๆ กิจกรรมที่โต้ตอบหรือการมีปฏิสัมพันธ์ต่างหาก ที่จะช่วยให้เด็กๆ พัฒนาขีดความสามารถของทักษะทางปัญญาและทักษะทางพฤติกรรม (cognitive and non-cognitive capacities) และความสุขของเด็กๆ

การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียวค่ะ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์